คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชื่อทางการค้า: ต้องพิสูจน์ความเสียหายหรือความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้าเดียวกัน
บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้าซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามหรือ ชื่อทางการค้าเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ จะต้องขอต่อศาล ให้สั่งห้ามมิให้ใช้นามหรือชื่อทางการค้านั้นได้ต่อเมื่อ การใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วยและผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายดังกล่าว โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมและโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ากิจการบริการของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไม่ได้มาตรฐานและทำให้สาธารณชนเสื่อมศรัทธาในกิจการของโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีรายได้ลดลงหรือไม่อย่างไร แม้การใช้ชื่อการค้าคำว่า REGENTในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า กิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ ต้องเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อทางการค้า คำว่า REGENT ในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชื่อทางการค้า: ความเสียหายต้องพิสูจน์ได้เพื่อขอห้ามการใช้ชื่อ
โจทก์ใช้ชื่อทางการค้าอักษรภาษาอังกฤษคำว่า THE REGENTอ่านว่า เดอะรีเจ้นท์ ในกิจการโรงแรมในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยมาก่อนจำเลยจนมีชื่อเสียงที่เรียกกันว่า กู๊ดวิลล์ (Goodwill) ปัญหานี้ป.พ.พ.มาตรา 18 บัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้นถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้าซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามหรือชื่อทางการค้าเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามมิให้ใช้นามหรือชื่อทางการค้านั้นได้ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายดังกล่าว เกี่ยวกับความเสียหายจากการที่จำเลยใช้คำว่า REGENT ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถานบริการของจำเลย จากพยานหลักฐานดังกล่าวโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ากิจการบริการของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไม่ได้มาตรฐานและทำให้สาธารณชนเสื่อมศรัทธาในกิจการของโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีรายได้ลดลงหรือไม่อย่างไร แม้จะฟังว่าการใช้ชื่อทางการค้าคำว่า REGENTของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ต้องเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า REGENT ในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้คิดค้น/ผลิตก่อนย่อมมีสิทธิเหนือตัวแทนจำหน่าย
บิดาจำเลยที่ 1 ป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้ารูปไก่และคำว่าCOCK ที่พิพาทในลักษณะประดิษฐ์ แล้วนำไปจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 8รายการสินค้าถ่านไฟฉาย ตามทะเบียนเลขที่ 20333 คำขอเลขที่ 31034 แต่ได้ขาดการจดทะเบียนต่ออายุ จึงถูกเพิกถอนจากทะเบียนแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2นำมาขอจดทะเบียนใหม่ตามคำขอเลขที่ 199611 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533โดยบริษัทจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อปี 2482 มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อตั้งและผลิตถ่านไฟฉายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนโจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านไฟฉายที่มีเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท ตามนัยบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และโจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยทั้งสองใช้ ยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7936/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้คิดค้นและจดทะเบียนเดิมมีสิทธิเหนือผู้เป็นตัวแทนจำหน่าย
บิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้า รูปไก่และคำว่า COCK ที่พิพาทในลักษณะประดิษฐ์ แล้วนำไปจดทะเบียน ไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 8 รายการสินค้าถ่านไฟฉายตามทะเบียนเลขที่ 20333 คำขอเลขที่ 31034 แต่ได้ ขาดการจดทะเบียนต่ออายุ จึงถูกเพิกถอนจากทะเบียนแล้วต่อมาจำเลยที่ 2 นำมาขอจดทะเบียนใหม่ตามคำขอเลขที่ 199611 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533โดยบริษัทจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อปี 2482 มีจำเลยที่ 1เป็นผู้ก่อตั้งและผลิตถ่านไฟฉายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนโจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านไฟฉายที่มีเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยที่ 2เท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามนัยบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และโจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยทั้งสองใช้ ยื่นคำขอ จดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7935/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนมีน้ำหนักกว่า แม้จำเลยจดทะเบียนก่อน
เครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า LINZ มาจากชื่อบริษัทโจทก์และโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LINZELECTRICกับสินค้าเครื่องสูบน้ำและสินค้าอื่น ๆ ของโจทก์มาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 6 เครื่องจักรทุกชนิดประมาณ 6 ปี นอกจากนั้นโจทก์ได้ทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์ในรูปแบบต่าง ๆ หลายแบบ สินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่าLINZELECTRIC มีจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย ดังนี้เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LINZELECTRIC" กับสินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลยแม้จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยไว้ก่อนโจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนก็ตาม เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งเป็นบทกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ และโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลยเช่นนี้ ก็ชอบที่ศาลจะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7935/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้จดทะเบียนภายหลัง
เครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า LINZ มาจากชื่อบริษัทโจทก์และโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ELECTRIC กับสินค้าเครื่องสูบน้ำและสินค้าอื่น ๆ ของโจทก์มาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 6 เครื่องจักรทุกชนิด ประมาณ 6 ปี นอกจากนั้นโจทก์ได้ทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์ในรูปแบบต่าง ๆ หลายแบบ สินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ELECTRIC มีจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย ดังนี้เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LINZ ELECTRIC" กับสินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยไว้ก่อนโจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนก็ตาม
เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ และโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลยเช่นนี้ ก็ชอบที่ศาลจะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าต่างจากชื่อจดทะเบียน และคำฟ้องไม่เคลือบคลุม
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าโจทก์ชื่อบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด หรือบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แล้ว ชื่อของโจทก์จึงหาขัดแย้งกันไม่ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ประเภทซื้อสินค้า เงินเชื่อ จำเลยและลูกค้าในความรับผิดชอบของจำเลยได้นำบัตรซื้อสินค้าเงินเชื่อมาซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2533 ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2534 จำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแล้ว คงค้างชำระ 116,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนที่คำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยหรือตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์วันไหน สินค้าอะไรบ้าง และซื้อครั้งละเท่าไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้มา ตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แม้สัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อจะระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แต่ก็หมายถึงบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด โจทก์ในคดีนี้นั่งเองเพราะบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อที่โจทก์ใช้ในทางการค้าจึงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อโจทก์ในคำฟ้อง และอำนาจฟ้องซื้อขายสินค้าเงินเชื่อ แม้ชื่อบริษัทไม่ตรงกัน
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าโจทก์ชื่อบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด หรือบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แล้ว ชื่อของโจทก์จึงหาขัดแย้งกันไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ประเภทซื้อสินค้าเงินเชื่อ จำเลยและลูกค้าในความรับผิดชอบของจำเลยได้นำบัตรซื้อสินค้าเงินเชื่อมาซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2533 ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2534จำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแล้ว คงค้างชำระ 116,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนที่คำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยหรือตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์วันไหน สินค้าอะไรบ้าง และซื้อครั้งละเท่าไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้มาตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
แม้สัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อจะระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แต่ก็หมายถึงบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด โจทก์ในคดีนี้นั่นเองเพราะบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อที่โจทก์ใช้ในทางการค้า จึงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความคุ้มครอง, การลอกเลียนแบบ, และอำนาจในการดำเนินคดี
จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า SEIKOในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2503 สำหรับสินค้าจำพวก 10 สินค้าเครื่องบอกเวลาและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเมื่อปี 2505 ได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แพร่หลายในประเทศไทยมาก่อนที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2534 โดยในปี 2508 บริษัทม. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้านาฬิกาของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า SEIKO รวม 2 คำขอ โดยคำขอแรกใช้กับสินค้าจำพวก50 สินค้าเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ยาขัดทาเครื่องแต่งเรือน ส่วนคำขอที่สองใช้กับสินค้าจำพวก 37 ได้แก่ หนังของสัตว์ และต่อมาได้มีการโอนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า SEIKO และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลานานหลายปี ประกอบกับได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายทั่วไป และโจทก์ได้เลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้วก็ตาม ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งนับว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดีกว่าโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะเห็นว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าซึ่งผู้อื่นได้จดทะเบียนไว้ เป็นการปฏิบัติตามอำนาจของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 และตามมาตรา 16 วรรคสองบัญญัติว่า ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่รับจดทะเบียนผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19ทวิ โดยยื่นต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้แต่เพียงวิธีเดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทได้
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ไว้แล้วว่า จำเลยที่ 1ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่มอบให้ ว.เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1มิได้ลงนาม การรับรองลายมือชื่อกรรมการฝ่ายบริหารอาวุโสของจำเลยที่ 1ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้ ร.เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทน แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้สืบพยานเพราะขาดนัดพิจารณาและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ว่า ร.เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1มีอำนาจเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนการค้าของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนั้น ร.ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งแทนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แต่แม้จะถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพราะคำให้การที่ ร.ยื่นไว้แทนจำเลยที่ 1 ไม่มีผลใช้บังคับได้ก็ตาม แต่ข้อวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น คงมีผลเฉพาะปัญหาที่ ร.ฟ้องแย้งโจทก์แทนจำเลยที่ 1 จึงต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: จำเลยที่ 1 จดทะเบียนก่อน โจทก์เลียนแบบ การฟ้องแย้งโดยตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ
จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า SEIKOในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2503 สำหรับสินค้าจำพวก 10 สินค้าเครื่องบอกเวลาและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเมื่อปี 2505ได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1แพร่หลายในประเทศไทยมาก่อนที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2534โดยในปี 2508 บริษัท ม. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้านาฬิกาของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า SEIKO รวม 2 คำขอ โดยคำขอแรกใช้กับสินค้าจำพวก 50สินค้าเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ยาขัดทาเครื่องแต่งเรือน ส่วนคำขอที่สองใช้กับสินค้าจำพวก 37 ได้แก่ หนังของสัตว์ และต่อมาได้มีการโอนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง เครื่องหมายการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า SEIKO และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลานานหลายปีประกอบกับได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายทั่วไป และโจทก์ได้เลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้วก็ตาม ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งนับว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดีกว่าโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะเห็นว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าซึ่งผู้อื่นได้จดทะเบียนไว้ เป็นการปฏิบัติตามอำนาจของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 16 และตามมาตรา 16 วรรคสอง บัญญัติว่าภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่รับจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิ โดยยื่นต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้แต่เพียงวิธีเดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทได้ โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่มอบให้ ว. เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 มิได้ลงนามการรับรองลายมือชื่อกรรมการฝ่ายบริหารอาวุโสของจำเลยที่ 1ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้ ร. เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทนแต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้สืบพยานเพราะขาดนัดพิจารณา และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ว่า ร. เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนการค้าของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนั้น ร. ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งแทนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แต่แม้จะถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพราะคำให้การที่ร. ยื่นไว้แทนจำเลยที่ 1 ไม่มีผลใช้บังคับได้ก็ตามแต่ข้อวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นคงมีผลเฉพาะปัญหาที่ ร. ฟ้องแย้งโจทก์แทนจำเลยที่ 1จึงต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1
of 11