คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของนามทางการค้า: การคุ้มครองชื่อ 'โตราย่า' จากการใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและการแสวงหาผลประโยชน์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามอันชอบที่จะใช้ได้ที่ต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่บุคคลอื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอนุญาตให้ใช้ในอันที่จะเรียกให้บุคคลอื่นนั้นระงับความเสียหายได้ถ้าและพึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปจะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้โจทก์ใช้ชื่อ"โตราย่า"มาตั้งแต่ปี2496แม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4ปีแล้วแต่โจทก์ก็ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์ฉะนั้นการที่จำเลยทั้งสี่ใช้ชื่อ"โตราย่า"ของโจทก์โดยโจทก์ไม่อนุญาตจึงเป็นเจตนาแสวงหาผลประโยชน์จากชื่อของโจทก์ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยที่1หรือจำเลยที่1เป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทยโจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยที่1ระงับการใช้ชื่อ"โตราย่า"ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาลงทุนร่วมผลิตน้ำผลไม้ การคืนทรัพย์สิน และการคุ้มครองชื่อทางการค้า
เครื่องจักรผลิตน้ำผลไม้พร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องเป็นของโจทก์และโจทก์ส่งมาให้จำเลยทั้งสี่เพื่อร่วมลงทุนเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ให้โจทก์เข้าร่วมลงทุนในกิจการของจำเลยที่1ตามที่ตกลงกันจำเลยทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทนและเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยส่งคืนจำเลยปฏิเสธโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้ทรัพย์ได้จนถึงวันที่จำเลยส่งมอบเครื่องจักรหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี2496ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่างๆเมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับว. โจทก์อนุญาตให้ว. จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้วส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศโดยโจทก์ยอมให้ว. ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า"โตราย่า"ของโจทก์แล้วแม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทยโจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่1ระงับการใช้ชื่อ"โตราย่า" ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน: สิทธิในการใช้ชื่อบริษัทและการจดทะเบียนโดยสุจริต
คำว่า โตเกียวออพติคอล ที่จำเลยนำมาใช้จดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้าและโจทก์ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อนี้ตามที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนไว้ และให้เพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 นี้ เป็นชื่อของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัด ที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทนี้จดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนบริษัทประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ พ.ศ.2497 มีกิจการค้าอยู่ในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น ที่ประเทศสิงคโปร์ เมืองฮ่องกง และไต้หวัน สถานการค้าในต่างประเทศล้วนใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น บางแห่งมีชื่อเมืองที่ตั้งอยู่นั้นต่อท้ายด้วย เช่น บริษัทโตเกียวออพติคอล (ฮ่องกง) จำกัด ต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดสถานการค้าในประเทศไทยโดยใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นและมีคำว่า (ประเทศไทย) ต่อท้ายแล้วนำไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำเลยที่ 1 ตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด ทั้งได้ขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษอ่านว่า โตเกียวอ๊อพติคอล (ไทยแลนด์) คัมปะนี ลิมิเต็ด โดยมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวญี่ปุ่น 3 คน คือจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชาวไทย 4 คน คือจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 หลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแล้ว จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาและโฆษณาชื่อบริษัทนี้ในทางการค้าตลอดมา การค้าของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจำเลยที่ 1เป็นบริษัทในเครือได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่ พ.ศ.2497 ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่า บริษัทโตเกียวออพติคอล จำกัด เมื่อวันที่ 7พฤศจิกายน 2526 หลายปี การที่จำเลยที่ 1 นำเอาชื่อบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยก็เพราะจำเลยที่ 1 เป็นเครือเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งการจดทะเบียนที่ประเทศไทยมีคำว่า (ประเทศไทย)ต่อท้าย จึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 จงใจลอกเลียนชื่อบริษัทของโจทก์แล้วนำมาจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนคำว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล (ประเทศไทย) จำกัด โดยสุจริต จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิในการที่จะใช้ชื่อบริษัทนี้โดยชอบ โจทก์จะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวและเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยเอาชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้จำเลยที่ 1 จึงมี 2 ฐานะ หากจำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่ 1 ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นผู้เป็นตัวการ แต่เมื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้
โจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปี ต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2526ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2535ประมาณ 9 ปี การที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้ว โจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดิมตลอดมา ทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นที่รู้จักในทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ 10 ปีการใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบริษัทใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน: สิทธิการใช้ชื่อบริษัทและการพิสูจน์ความสุจริต
คำว่าโตเกียวออฟติคอล ที่จำเลยนำมาใช้จดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้าและโจทก์ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อนี้ตามที่จำเลยที่1จดทะเบียนไว้และให้เพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1นี้เป็นชื่อของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอลจำกัดที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทนี้จดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนบริษัทประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่พ.ศ.2497มีกิจการค้าอยู่ในต่างประเทศหลายแห่งเช่นที่ประเทศสิงคโปร์ เมืองฮ่องกงและไต้หวัน สถานการค้าในต่างประเทศล้วนใช้ชื่อบริษัทที่่ประเทศญี่ปุ่น บางแห่งมีชื่อเมืองที่ตั้งอยู่นั้นต่อท้ายด้วยเช่นบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ฮ่องกง) จำกัดต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดสถานการค้าในประเทศไทยโดยใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นและมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายแล้วนำไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำเลยที่1ตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดทั้งได้ขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษอ่านว่าโตเกียวอ๊อพติคอล(ไทยแลนด์)คัมปะนีลิมิเต็ด โดยมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวญี่ปุ่น 3คนคือจำเลยที่2ถึงที่4ชาวไทย4คนคือจำเลยที่5ถึงที่8หลังจากจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแล้วจำเลยที่1ประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาและโฆษณาชื่อบริษัทนี้ในทางการค้าตลอดมาการค้าของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจำเลยที่1เป็นบริษัทในเครือได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่พ.ศ.2497ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัดเมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526หลายปีการที่จำเลยที่1นำเอาชื่อบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยก็เพราะจำเลยที่1เป็นเครือเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งการจดทะเบียนที่ประเทศไทยมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายจึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่1จงใจลอกเลียนชื่อบริษัทของโจทก์แล้วนำมาจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1จำเลยที่1ได้จดทะเบียนคำว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ประเทศไทย จำกัดโดยสุจริตจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิในการที่จะใช้ชื่อบริษัทนี้โดยชอบโจทก์จะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวและเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1ไม่ได้การกระทำของจำเลยที่1จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยเอาชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1 จำเลยที่1ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้จำเลยที่1จึงมี2ฐานะหากจำเลยที่1จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่่1ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นผู้เป็นตัวการแต่เมื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จำเลยที่1จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้ โจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออฟติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปีต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526ก่อนที่จำเลยที่1จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่18มีนาคม2535ประมาณ9ปีการที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นหลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้วโจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดิมตลอดมาทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นที่รู้จักในทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ10ปีการใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่1โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบจำเลยที่1จึงไม่่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทคล้ายกันจนน่าจะลวงประชาชน ละเมิดสิทธิในนาม, ผู้เริ่มก่อการรับผิดค่าเสียหายเฉพาะช่วงก่อนจดทะเบียนนิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้วแม้โจทก์ที่2จะมิได้ฟ้องจำเลยที่1และที่2ทันทีหลังจากที่จำเลยที่1จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามก็หาทำให้โจทก์ที่2เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่1และที่2ไปไม่การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยที่1และที่2จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ที่2จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียลเต็ลแล็ปปิดารี่จำกัดและมีชื่อภาษาอังกฤษว่าORIENTALCAPIDARYCOMPANYLIMITEDส่วนจำเลยที่1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2530โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่จำกัดมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าORIENTALGEMESLAPIDARYCOMPANYLIMITEDแม้ชื่อของโจทก์ที่2มีสองคำส่วนชื่อของจำเลยที่1มีสามคำก็ตามแต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เป็นคำเดียวกันคือคำว่า"โอเรียนเต็ล"และ"ORIENTAL"ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่2กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่1นั้นแม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่2สะกดว่า"แล็ปปิดารี่"ส่วนของจำเลยที่1สะกดคำว่า"แล็ปปิดารี่"ก็ตามแต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ"LAPIDARY"ชื่อของโจทก์ที่2และจำเลยที่1คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่1มีคำว่า"เจมส์"อยู่ตรงกลางโดยชื่อของโจทก์ที่2ไม่มีคำกล่าวเท่านั้นบุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่2และชื่อของจำเลยที่1ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกันโจทก์ที่2และจำเลยที่1ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกันทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกันโดยจำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่2เป็นเวลาถึง10ปีการกระทำของจำเลยที่1โดยจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่2ซึ่งจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420และจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ที่2นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่2จากการที่จำเลยที่1ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่2เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่2ได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มก่อกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้วอันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้นเมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้วบริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบริษัทที่มีชื่อคล้ายคลึงกัน การละเมิดสิทธิในนาม และความรับผิดของผู้ก่อการ
ป.พ.พ. มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้ว แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทันทีหลังจากที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปไม่ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ล แล็ปปิดารี่ จำกัด และมีชื่อภาษีอังกฤษว่า ORIENTAL CAPIDARY COMPANY LIMITED ส่วนจำเลยที่ 1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อ พ.ศ.2530 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่ จำกัด มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ORIENTAL GEMESLAPIDARY COMPANY LIMITED แม้ชื่อของโจทก์ที่ 2 มีสองคำ ส่วนชื่อของจำเลยที่ 1 มีสามคำก็ตาม แต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เป็นคำคำเดียวกันคือ คำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่ 2 กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่ 1 นั้น แม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่ 2 สะกดว่า " แล็ปปิดารี่" ส่วนของจำเลยที่ 1 สะกดคำว่า"แลปิดารี่" ก็ตาม แต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ "LAPIDARY" ชื่อของโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่ 1 มีคำว่า "เจมส์"อยู่ตรงกลาง โดยชื่อของโจทก์ที่ 2 ไม่มีคำดังกล่าวเท่านั้น บุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่ 2 และชื่อของจำเลยที่ 1 ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกัน โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้าเช่นเดียวกัน ทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่ 2 เป็นเวลาถึง 10 ปี การกระทำของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่ 2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 และจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ที่ 2 นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่ 2จากการที่จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 ได้ตามที่เห็นสมควร
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย หมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว หรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้ว อันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้น เมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว บริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามป.พ.พ.มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8513/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน และเจตนาไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปอูฐประดิษฐ์ตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่า CAMELPAINT และเป็นรูปอูฐตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMEL BRAND ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปอูฐ 2 ตัว กับมีอักษรโรมันคำว่า OASIS สิ่งที่มองเห็นได้เด่นชัดคือรูปอูฐ รูปลักษณะของอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ในท่ายืนและหันหน้าไปทางซ้ายเช่นเดียวกันกับรูปอูฐของโจทก์ อักษรโรมันคำว่า CAMELPAINT และ CAMEL BRAND ของโจทก์กับคำว่า OASIS ของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงส่วนปลีกย่อย สาธารณชนซึ่งส่วนมากไม่สันทัดในภาษาอังกฤษหรืออักษรโรมันย่อมยากที่จะจำแนกถึงความแตกต่างของตัวอักษรคำว่า CAMELPAINTและ CAMEL BRAND กับคำว่า OASIS นอกจากจะยึดถือเอาเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐเป็นสำคัญ ส่วนรูปชาวอาหรับจูงอูฐ และภาพภูเขากับต้นไม้ 2 ต้น หลังตัวอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของตัวอูฐสาธารณชนเรียกสินค้าของโจทก์และจำเลยว่า สินค้าตราอูฐ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนกันหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนในความเป็นเจ้าของของสินค้า การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐของโจทก์ไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในการจำหน่ายสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ทั้ง ๆ ที่จำเลยก็เคยเป็นบริษัทในเครือของบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าตราอูฐมาก่อน ย่อมชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตโดยมุ่งหมายที่จะลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนตราอูฐของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐ 2 ตัว กับคำว่า OASIS ของจำเลยดีกว่าจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียน และห้ามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
ปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้า ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 18 ว่า จำเลยนำเอาชื่อของโจทก์ไปใช้เป็นชื่อของจำเลยหรือไม่
ก่อนจำเลยจะเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทสีตราอูฐ (แอล.ที.ซี.)จำกัด จำเลยทราบดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐและคำว่า CAMELPAINT ซึ่งแปลว่า สีตราอูฐ ใช้กับสินค้าจำพวกสีและผลิตสีชนิดต่าง ๆ ออกจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวมาหลายปีจนสาธารณชนเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าสีตราอูฐ การที่จำเลยนำคำว่า CAMELPAINT ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ และคำว่า สีตราอูฐ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า CAMELPAINTมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลย กับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปอูฐ 2 ตัว เพื่อใช้กับสินค้าสีซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยประสงค์จะลวงสาธารณชนผู้บริโภคให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าสีตราอูฐของจำเลยเป็นสินค้าตราอูฐที่โจทก์ผลิตการใช้ชื่อดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการใช้โดยไม่สุจริต เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขัดขวางจำเลยมิให้นำส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8513/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าตราอูฐโดยไม่สุจริต ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าเดิม ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปอูฐประดิษฐ์ตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMELPAINTและเป็นรูปอูฐตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMELBRANDส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปอูฐ2ตัวกับมีอักษรโรมันคำว่าOASISสิ่งที่มองเห็นได้เด่นชัดคือรูปอูฐรูปลักษณะของอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ในท่ายืนและหันหน้าไปทางซ้ายเช่นเดียวกันกับรูปอูฐของโจทก์อักษรโรมันคำว่าCAMELPAINTและCAMELBRANDของโจทก์กับคำว่าOASISของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยสาธารณชนซึ่งส่วนมากไม่สันทัดในภาษาอังกฤษหรืออักษรโรมันย่อมยากที่จะจำแนกถึงความแตกต่างของตัวอักษรคำว่าCAMELPAINTและCAMELBRANDกับคำว่าOASISนอกจากจะยึดถือเอาเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐเป็นสำคัญส่วนรูปชาวอาหรับจูงอูฐและภาพภูเขากับต้นไม้2ต้นหลังตัวอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของตัวอูฐสาธารณชนเรียกสินค้าของโจทก์และจำเลยว่าสินค้าตราอูฐเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนกันหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการ ลวงสาธารณชนให้สับสนในความเป็นเจ้าของของสินค้าการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐของโจทก์ไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในการจำหน่ายสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ทั้งๆที่จำเลยก็เคยเป็นบริษัทในเครือของบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าตราอูฐมาก่อนย่อมชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตโดยมุ่งหมายที่จะลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนตราอูฐของโจทก์มาก่อนจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐ2ตัวกับคำว่าOASISของจำเลยดีกว่าจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่ง เพิกถอนทะเบียน และห้ามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ว่าจำเลยนำเอาชื่อของโจทก์ไปใช้เป็นชื่อของจำเลยหรือไม่ ก่อนจำเลยจะเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สีตราอูฐ(แอล.ที.ซี.) จำกัดจำเลยทราบดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐและคำว่าCAMELPAINTซึ่งแปลว่า สีตราอูฐ ใช้กับสินค้าจำพวกสีและผลิตสีชนิดต่างๆออกจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวมาหลายปีจนสาธารณชนเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่า สีตราอูฐ การที่จำเลยนำคำว่าCAMELPAINTซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และคำว่าสีตราอูฐ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่าCAMELPAINTมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยกับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปอูฐ2ตัวเพื่อใช้กับสินค้าสีซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะลวงสาธารณชนผู้บริโภคให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าสีตราอูฐของจำเลยเป็นสินค้าตราอูฐที่โจทก์ผลิตการใช้ชื่อดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการใช้โดยไม่สุจริตเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา30แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมมีสิทธิขัดขวางจำเลยมิให้นำส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน โดยไม่ได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"ซีแพค" เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าCAPAC มิได้ใช้ชื่อซีแพคเป็นนามบุคคลหรือนิติบุคคลส่วนจำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดชื่อบริษัทซีแพค จำกัดหรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าบริษัทSEAPACกรณีจึงไม่ใช่จำเลยใช้นามเดียวกันกับโจทก์โดยมิได้รับอำนาจเพราะคำว่าซีแพคไม่ใช่นามของโจทก์ทั้งชื่อของจำเลยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็แตกต่างจากชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และไม่ปรากฎว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบกับจำเลยไม่ได้นำชื่อเครื่องหมายการค้าคำว่าซีแพคไปใช้เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยการที่จำเลยนำเอาชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาเป็นชื่อของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทคล้ายเครื่องหมายการค้า: ไม่เป็นการละเมิดหากไม่ทำให้เสียประโยชน์และไม่ใช่การใช้เป็นเครื่องหมายการค้า
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "ซีแพค" เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า CPAC มิได้ใช้ชื่อซีแพคเป็นนามบุคคลหรือนิติบุคคล ส่วนจำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดชื่อบริษัทซีแพค จำกัด หรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า บริษัท SEAPAC กรณีจึงไม่ใช่จำเลยใช้นามเดียวกันกับโจทก์โดยมิได้รับอำนาจ เพราะคำว่าซีแพคไม่ใช่นามของโจทก์ ทั้งชื่อของจำเลยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็แตกต่างจากชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และไม่ปรากฏว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ ประกอบกับจำเลยไม่ได้นำชื่อเครื่องหมายการค้าคำว่าซีแพคไปใช้เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลย การที่จำเลยนำเอาชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาเป็นชื่อของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ไม่มีเหตุที่จะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
of 11