คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 43

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก กรณีผู้ขอเดิมถึงแก่กรรมระหว่างดำเนินการ ศาลต้องรับคำร้องใหม่
การที่ ป. ยื่นคำคัดค้านการที่ผู้ร้องขอเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายไว้แต่ต่อมาถึงแก่ความตายในระหว่างไต่สวน อ. บุตรของ ป. จึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวโดยอ้างว่ามี ส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดย รับมรดกแทนที่ต่อจาก ป. นั้นกรณีเป็นเรื่องที่ อ. คัดค้านคำร้องของผู้ร้องและขอให้ตั้งตนเองเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาใหม่มิใช่เป็นการขอเข้าเป็นคู่ความแทน ป. ต้องรับคำร้องของ อ.ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาให้ระหว่างสมรสและผลกระทบต่อทายาท
การที่จำเลยอ้างอิงพินัยกรรมแนบท้ายคำร้องเพื่อสืบเป็นพยานในชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา88 จึงรับฟังไม่ได้ และกรณีไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือที่จำเลยไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนไป ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่สั่งคำร้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยทำสัญญายกที่ดินตามฟ้องให้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาให้ของโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการที่โจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยได้โอนหุ้นบริษัท บ.รถยนต์ พันธบัตรรัฐบาลและให้เงินสดแก่โจทก์ แล้วโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยเป็นการอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น เป็นเพียงการรับว่าจำเลยเคยให้ทรัพย์สินแก่โจทก์ เป็นการตอบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ฎีกาจำเลยที่ว่า สัญญาให้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางโดยนิติกรรมที่แท้จริงคือสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา จึงมิใช่เรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นภริยาระหว่างสมรส โจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสในเวลาใดก็ได้ระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ โจทก์มีหนังสือบอกล้างไปถึงจำเลยเป็นการบอกล้างโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว
แม้สิทธิบอกล้างจะเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่เมื่อมีการบอกล้างโดยชอบก่อนที่โจทก์จะถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไปและย่อมตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ด้วย ทายาทของโจทก์จึงเข้าเป็นคู่ความแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาให้ระหว่างสมรส, การบอกล้างโดยชอบ, และการตกทอดของสิทธิสู่ทายาท
การที่จำเลยอ้างอิงพินัยกรรมแนบท้ายคำร้องเพื่อสืบเป็นพยานในชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 จึงรับฟังไม่ได้และกรณีไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือที่จำเลยไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนไป ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่สั่งคำร้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยทำสัญญายกที่ดินตามฟ้องให้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาให้ของโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการที่โจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยได้โอนหุ้นบริษัทบ. รถยนต์ พันธบัตรรัฐบาลและให้เงินสดแก่โจทก์ แล้วโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยเป็นการอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น เป็นเพียงการรับว่าจำเลยเคยให้ทรัพย์สินแก่โจทก์ เป็นการตอบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ฎีกาจำเลยที่ว่า สัญญาให้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางโดยนิติกรรมที่แท้จริงคือสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา จึงมิใช่เรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นภริยาระหว่างสมรสโจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสในเวลาใดก็ได้ระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ โจทก์มีหนังสือบอกล้างไปถึงจำเลยเป็นการบอกล้างโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว แม้สิทธิบอกล้างจะเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่เมื่อมีการบอกล้างโดยชอบก่อนที่โจทก์จะถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไปและย่อมตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ด้วย ทายาทของโจทก์จึงเข้าเป็นคู่ความแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนที่หลังจำเลยเสียชีวิต: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่ง และศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
จำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปก่อน และทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 4 จริงหรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่เสียชีวิต: อำนาจศาลอุทธรณ์และกระบวนการที่ถูกต้อง
จำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปก่อน และทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 4จริงหรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่าตามหลักกฎหมายอิสลาม: ข้อตกลงการแบ่งและสถานะสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นหย่าและสินสมรสบางรายการยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คงมีประเด็นชั้นฎีกาเพียงว่ามีข้อตกลงแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยอย่างไร บ้านและรถยนต์กระบะเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคดีที่พิพาทกันเรื่องสิทธิในครอบครัว แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,500 บาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลชั้นต้นหลังรับฎีกา, การเข้าร่วมดำเนินคดีของผู้รับประโยชน์, และดุลพินิจการทำแผนที่พิพาท
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องแล้ว คดีย่อมอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ ส. เข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้านได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นแต่เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ส.เป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้านและผู้คัดค้านถึงแก่กรรมจริง ทั้ง ส. ก็ยินยอมเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้าน ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ส.เข้าเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้านผู้มรณะ การจะจัดทำแผนที่พิพาทประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีใดหรือไม่นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ทำตามที่คู่ความร้องขอ ดังนั้นศาลจะสั่งให้ทำหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งเป็นเรื่อง ๆ ไปหากศาลเห็นว่าคดีเรื่องใดการจัดทำแผนที่พิพาทจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษา ศาลก็จะสั่งให้ทำ ในทางกลับกันหากเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ก็จะไม่สั่งให้ทำทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ทำแผนที่พิพาทในคดีนี้เนื่องจากเห็นว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเต็มทั้งแปลงจึงชอบแล้ว และคดีนี้ศาลฎีกาก็สามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยอาศัยพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วในสำนวน การสั่งให้จัดทำแผนที่พิพาทจึงไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ รวมถึงดุลพินิจศาลในการสั่งทำแผนที่พิพาท
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องแล้ว คดีย่อมอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้านได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้น แต่เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ส.เป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมมายของผู้คัดค้านและผู้คัดค้านถึงแก่กรรมจริง ทั้ง ส.ก็ยินยอมเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้าน ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ส.เข้าเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้านผู้มรณะ
การจะจัดทำแผนที่พิพาทประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีใดหรือไม่นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ทำตามที่คู่ความร้องขอ ดังนั้นศาลจะสั่งให้ทำหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งเป็นเรื่อง ๆ ไปหากศาลเห็นว่าคดีเรื่องใดการจัดทำแผนที่พิพาทจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษา ศาลก็จะสั่งให้ทำ ในทางกลับกันหากเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ก็จะไม่สั่งให้ทำทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ทำแผนที่พิพาทในคดีนี้เนื่องจากเห็นว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเต็มทั้งแปลงจึงชอบแล้ว และคดีนี้ศาลฎีกาก็สามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยอาศัยพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วในสำนวน การสั่งให้จัดทำแผนที่พิพาทจึงไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทขอพิจารณาคดีใหม่หลังจำเลยเสียชีวิต แม้ศาลตัดสินแล้ว คดีไม่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยการขาดนัด หากจำเลยไม่มรณะก็ย่อมมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตามมาตรา 42 และ 43 นั้น หากคู่ความมรณะภายหลังศาลพิพากษาคดีแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาในระหว่างนี้หากคดียังไม่ถึงที่สุดทายาทของผู้มรณะก็ยังคงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้มิใช่ว่าเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะสิ้นไปด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลยหากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ ผู้ร้องคัดค้านในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า ศาลได้พิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ทราบ ต่อมาจำเลยถูกฆ่าตาย ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ซึ่งหากศาลได้ให้โอกาส ผู้ร้องในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทครึ่งหนึ่ง เป็นการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้อง อย่างไร หากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไป จากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทขอพิจารณาใหม่หลังศาลพิพากษาคดีขาดนัด และการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ
ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยการขาดนัดหากจำเลยไม่มรณะก็ย่อมมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตามมาตรา 42 และ 43 นั้น หากคู่ความมรณะภายหลังศาลพิพากษาคดีแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณา ในระหว่างนี้หากคดียังไม่ถึงที่สุดทายาทของผู้มรณะก็ยังคงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้มิใช่ว่าเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะสิ้นไปด้วย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลยหากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้
ผู้ร้องคัดค้านในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า ศาลได้พิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ทราบ ต่อมาจำเลยถูกฆ่าตาย ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ซึ่งหากศาลได้ให้โอกาสผู้ร้องในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทครึ่งหนึ่ง เป็นการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง
of 9