พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีแทนผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่อาจใช้สิทธิแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29
กรณีที่ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 29 ซึ่งได้บัญญัติเรื่องการเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไว้ชัดแจ้งแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 42 และมาตรา 43 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้โดยอนุโลมไม่ได้ การที่ จ. ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นสามีของ ห. โจทก์ร่วม ขอเข้ารับมรดกความของ ห. ซึ่งถึงแก่ความตาย เมื่อ ห. เข้ามาในคดีในฐานะผู้จัดการแทน ส. ผู้ตาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จ. ซึ่งเป็นสามีของ ห. หามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่าง ห. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 ไม่ เพราะ ห. เป็นเพียงผู้จัดการแทน ส. ผู้ตาย ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำขอเรียกทายาทเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ และผลของการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ที่ขอให้เรียกทายาทของคู่ความผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ เข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และ 43 การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำขอให้เรียกผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยของโจทก์ จึงถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำแทนศาลฎีกาเท่านั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ทำแทนศาลฎีกาเช่นนี้ ก็หามีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเลื่อนการไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้คัดค้านฎีกาต่อมาก็ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8989/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายของคู่ความก่อนศาลอ่านคำพิพากษา และการดำเนินการหาผู้แทนตามกฎหมาย
ในคดีแพ่ง แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายก่อนศาลพิพากษา แต่ปรากฏต่อศาลเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาก็คงสมบูรณ์
โจทก์จึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัยมาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์จึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัยมาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8989/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายของโจทก์หลังศาลอ่านคำพิพากษา แต่ก่อนฎีกา ศาลต้องหาผู้แทนก่อนรับฎีกา
ในคดีแพ่ง แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายก่อนศาลพิพากษา แต่ปรากฏต่อศาลเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาก็คงสมบูรณ์
โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัย มาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัย มาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเป็นเฉพาะตัว หาตกทอดไปยังทายาทไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสาว ส. ผู้ตาย ขอให้จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ในการจัดการมรดกนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวหาได้ตกทอดไปยังทายาทของจำเลยไม่ แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้ร้องเป็นทายาทของจำเลยโดยเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกของนางสาว ส. ผู้ตาย เพราะผู้ร้องไม่สามารถจะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หากจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ในกรณีเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมที่ไม่ชอบเนื่องจากขาดแผนที่รังวัด และการดำเนินการเรื่องค่าขึ้นศาลที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสี่แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และเนื่องจากคดีได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 8 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะ ทนายโจทก์ทั้งสี่ไม่คัดค้าน ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ระบุว่า "โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตตามโฉนดที่ดินที่แต่ละฝ่ายออกโฉนดที่ดินแล้วและได้ครอบครองอยู่แล้ว? โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ตามแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตและนำส่งศาลในคดีนี้?" แต่ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม คู่ความยังมิได้ส่งแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันที่มีคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความติดตามนำแผนที่หรือรายงานการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินมาส่งต่อศาล มิฉะนั้น ให้ถือตามแนวเขตภาพถ่ายที่แนบสัญญายอมซึ่งคู่ความแถลงว่าเป็นแนวเขตเดิมตามหลักหมุดที่ดิน อันแตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ก็หาเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไป ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อไม่มีแผนที่หรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะระงับข้อพิพาทมาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว ทำให้ข้อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่อาจระงับข้อพิพาทต่อกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยยังไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเสียก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ระบุว่า "โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตตามโฉนดที่ดินที่แต่ละฝ่ายออกโฉนดที่ดินแล้วและได้ครอบครองอยู่แล้ว? โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ตามแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตและนำส่งศาลในคดีนี้?" แต่ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม คู่ความยังมิได้ส่งแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันที่มีคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความติดตามนำแผนที่หรือรายงานการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินมาส่งต่อศาล มิฉะนั้น ให้ถือตามแนวเขตภาพถ่ายที่แนบสัญญายอมซึ่งคู่ความแถลงว่าเป็นแนวเขตเดิมตามหลักหมุดที่ดิน อันแตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ก็หาเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไป ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อไม่มีแผนที่หรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะระงับข้อพิพาทมาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว ทำให้ข้อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่อาจระงับข้อพิพาทต่อกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยยังไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเสียก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิการฟ้องซ้ำเมื่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่อัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกและฉ้อโกงเงินไปจากโจทก์เป็นจำนวน 1,560,375.45 บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ใช้คืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกและฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายไว้แล้ว โดยมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,226,172.15 บาท ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความ ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นด้วย เมื่อศาลในส่วนคดีอาญารับคำขอส่วนแพ่งดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินจำนวน 1,226,172.15 บาท ต่อศาลอีก จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินส่วนที่เกินจากคำฟ้องในคดีอาญาเป็นเงิน 334,203.30 บาท เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะหลังครบกำหนดอุทธรณ์ และการขยายเวลาอุทธรณ์ต้องทำหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เป็นคู่ความ
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ว. บุตรของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมรณะแล้ว และ ว. ยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 20 วัน นับแต่วันดังกล่าวเมื่อขณะที่ ว. ยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประกอบกับเป็นคดีที่ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ คดีจึงไม่เป็นที่สุด และยังค้างพิจารณาอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ว. จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความ แทนที่จำเลยผู้มรณะได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 42 วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้น รับคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็น คู่ความแทน และมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 และ 43 เสียก่อน มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของ ว. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อน มีคำสั่งอนุญาตให้ ว. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายเวลาอุทธรณ์หลังจำเลยมรณะ: ศาลต้องพิจารณาการเป็นคู่ความแทนก่อน
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ว.บุตรของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมรณะแล้ว และ ว.ยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 20 วัน นับแต่วันดังกล่าว เมื่อขณะที่ ว.ยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประกอบกับเป็นคดีที่ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ คดีจึงไม่เป็นที่สุด และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างอุทธรณ์ว.จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้นรับคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน และมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42และ 43 เสียก่อนมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของ ว. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้ ว.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก กรณีผู้ขอเดิมถึงแก่กรรมระหว่างดำเนินการ ศาลต้องรับคำร้องใหม่
การที่ ป. ยื่นคำคัดค้านการที่ผู้ร้องขอเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายไว้แต่ต่อมาถึงแก่ความตายในระหว่างไต่สวน อ. บุตรของ ป. จึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวโดยอ้างว่ามี ส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดย รับมรดกแทนที่ต่อจาก ป. นั้นกรณีเป็นเรื่องที่ อ. คัดค้านคำร้องของผู้ร้องและขอให้ตั้งตนเองเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาใหม่มิใช่เป็นการขอเข้าเป็นคู่ความแทน ป. ต้องรับคำร้องของ อ.ไว้พิจารณา