คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 572

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 626 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9034/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีเช่าซื้อรถยนต์: สัญญาเช่าซื้อมีผลเหนือกว่าสัญญาซื้อขายเดิม
แม้โจทก์ได้สั่งซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยชำระค่าจองรถยนต์รวมทั้งค่ารถยนต์บางส่วน และได้รับมอบรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยืนยันว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อไว้กับบริษัท ธ. จำกัด อันแสดงโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าบริษัท ธ. จำกัด เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท หาใช่จำเลยที่ 1 ไม่ มิฉะนั้นโจทก์คงไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายงวดให้แก่บริษัท ธ. จำกัด ตลอดมา โดยบริษัทดังกล่าวได้ออกใบเสร็จรับเงินให้ทุกงวด แม้แต่ค่าจองรถยนต์ จนกระทั่งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท ธ. จำกัด ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้รับมอบรถยนต์ไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงหาได้มีนิติสัมพันธ์ตามลักษณะของสัญญาซื้อขายกันไม่ ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ปรากฏว่า มีความผูกพันกับโจทก์ตามสัญญาใดที่จะทำให้ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ ลำพังเพียงการรับประกันว่า หากรถยนต์ที่จำหน่ายมีปัญหาสามารถส่งซ่อมได้ที่ศูนย์บริการตัวแทนจำหน่ายและที่ศูนย์ของจำเลยที่ 2 มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 2 ผูกพันต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่โจทก์ได้รับมอบมาตามสัญญาเช่าซื้อ เพราะความรับผิดในกรณีทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อชำรุดบกพร่องโจทก์ย่อมเรียกร้องได้จากผู้ให้เช่าซื้อโดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินที่เช่าซื้ออันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่าซื้อนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8810/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่า
จำเลยตกลงทำสัญญาเช่ารถยนต์คันพิพาทกับโจทก์ตามเอกสารซึ่งระบุว่า เป็นสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง มีกำหนด 48 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 19,100 บาท หรือคิดเป็นเงินค่าเช่าทั้งหมด 916,800 บาท และเงินประกันการเช่าอีก 57,300 บาท เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าจำเลยจะซื้อทรัพย์สินที่ให้เช่าหรือรถยนต์คันพิพาทได้ในราคา 200,000 บาท จึงรวมเป็นเงินที่ผู้เช่าหรือจำเลยจะต้องชำระทั้งหมดไม่น้อยกว่า 1,174,100 บาท โดยโจทก์คิดเป็นราคารถยนต์ คันพิพาทจำนวน 803,738.32 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 56,261.68 บาท สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่ง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีความประสงค์ในทางสุจริตตามนัยแห่งมาตรา 6 และมาตรา 368 ว่า ต้องการจะใช้บังคับแก่กันในลักษณะเช่าทรัพย์หรือเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง จึงต้องอนุวัตน์ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญาดังกล่าวเป็นสำคัญ อีกทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาว่าด้วยทรัพย์สินที่เช่า ระยะเวลาการเช่า ค่าเช่าและเงินประกันการเช่า การประกันภัยและหน้าที่ของผู้เช่า การสูญหายและเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า การผิดสัญญา และการบอกเลิกสัญญาของผู้เช่า ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะของการเช่าทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 537 ถึงมาตรา 564 ทั้งสิ้น แม้จะมีข้อตกลงเป็นพิเศษที่กำหนดให้ผู้เช่าสามารถเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้โดยต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ให้เช่าทราบไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนสัญญาเช่าจะสิ้นสุดลงก็เป็นแต่เพียงข้อยกเว้นในทางให้สิทธิแก่ผู้เช่าบางประการในการเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ก็ได้เท่านั้น กรณีมิใช่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่งรายพิพาทจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8703/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่สมบูรณ์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายเช็ค
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ"ย่อมมีความหมายว่าคู่สัญญาต้องลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายใดมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาจะถือว่าฝ่ายนั้นทำหนังสือสัญญาด้วยมิได้ เมื่อปรากฏว่าในวันออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อให้ถูกต้อง คงมีแต่จำเลยผู้เช่าซื้อลงลายมือชื่อแต่ฝ่ายเดียว สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวย่อมไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้ ช. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะมาลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนผู้ให้เช่าซื้อในภายหลังก็หามีผลย้อนหลังไม่ดังนั้น ในวันออกเช็คพิพาทแต่ละฉบับ จำเลยจึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันที่สองให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อเช็คพิพาทแต่ละฉบับ จำเลยได้สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อทั้งสองคันตามสัญญาเช่าซื้อทั้งสองฉบับรวมกันเช็คพิพาทแต่ละฉบับจึงมีเงินค่าเช่าซื้อส่วนที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระรวมอยู่ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่ปิดอากรแสตมป์ ทำให้หนี้ไม่บังคับได้ การออกเช็คจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เมื่อสัญญาเช่าซื้อที่ถือว่าเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 และรับฟังไม่ได้ว่ามีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ฉะนั้น หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อย่อมไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
เมื่อวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินอันถือว่าเป็นวันที่จำเลยออกเช็คชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรายนี้ยังบังคับตามกฎหมายไม่ได้เช่นนี้การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย และการกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข: กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าชำระราคาครบถ้วน, ข้อตกลงยินยอมให้ริบเงินและคืนทรัพย์สินได้ไม่ขัดกฎหมาย
สัญญาฉบับพิพาทมีข้อความระบุไว้ว่าหนังสือสัญญาขายมีเงื่อนไขโดยตกลงกันไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้จะขายตกลงจะขายและผู้จะซื้อตกลงจะซื้อรถยนต์พิพาทในราคา 1,235,680 บาท ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าสินค้า ให้แก่ผู้จะขายแล้วเป็นเงิน 70,000 บาท ส่วนที่ยังค้างอยู่อีก 1,165,680 บาท นั้น ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นงวดทุก ๆ เดือน งวดละ 48,570 บาท ณ สำนักงานของผู้จะขายให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 24 เดือน และระบุไว้ในข้อ 5 อีกว่า สัญญาซื้อขายนี้ตามข้อความแห่งสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้จะซื้อต่อเมื่อผู้จะซื้อได้ปฏิบัติตามข้อความในสัญญานี้ทั้งหมดแล้ว และผู้จะขายมีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาและเรียกทรัพย์สินได้ เมื่อผู้จะซื้อ ไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม เห็นได้ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันยังเป็นของผู้ขายโดยไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผู้ขายจะได้รับชำระราคาครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขคือได้ชำระราคาแก่ผู้ขายครบถ้วนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 ส่วนที่สัญญาระบุว่าหากผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาสินค้าตามงวดหนึ่งงวดใด ผู้จะซื้อยอมให้ถือว่า สัญญานี้เป็นอันเลิกกันทันทีตั้งแต่วาระนั้นโดยไม่จำต้องบอกกล่าวและมีสิทธิเอารถยนต์ที่จะซื้อคืนโดยไม่ต้องคืนเงินที่ผู้จะซื้อชำระแล้วนั้น เป็นข้อตกลงโดยความสมัครใจของคู่สัญญาและข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการรักษา ผลประโยชน์ของผู้ขายมิให้เสียหายเกินกว่าความจำเป็น เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา ข้อตกลงยินยอมกันดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และหาทำให้อิสระในการแสดงเจตนาทำสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขกลับกลาย แปรเปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่
เจตนารมณ์ของคู่สัญญามุ่งที่จะซื้อขายรถยนต์คันพิพาทต่อกันโดยมีข้อตกลงป้องกันการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า เมื่อเกิดผิดสัญญากันขึ้นก็ต้องบังคับไปตามกฎหมายและข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้คืนรถยนต์ หรือชดใช้เงินค้างชำระ
สัญญามีข้อความระบุว่าหนังสือสัญญาขายมีเงื่อนไข โดยตกลงในข้อ 1 ว่า ผู้จะขายตกลงจะขายและผู้จะซื้อตกลงจะซื้อรถยนต์พิพาทในราคา 1,235,680 บาท ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้จะขายแล้ว 70,000 บาท ส่วนที่ยังค้างอยู่อีก 1,165,680 บาทผู้จะซื้อสัญญาว่าจะชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นงวดทุก ๆ เดือน งวดละ48,570 บาท ณ สำนักงานของผู้จะขายให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 24 เดือนและข้อ 5 ระบุว่าสัญญาซื้อขายนี้ตามข้อความแห่งสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้จะซื้อต่อเมื่อผู้จะซื้อปฏิบัติตามข้อความในสัญญานี้ทั้งหมดแล้ว และผู้จะขายมีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาและเรียกทรัพย์สินได้เมื่อผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม เห็นว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อที่เจ้าของทรัพย์เอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ส่วนสัญญาข้อ 9 ที่ระบุว่าหากผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาสินค้าตามงวดหนึ่งงวดใด ฯลฯ ผู้จะซื้อยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันเลิกกันทันทีตั้งแต่วาระนั้นโดยไม่จำต้องบอกกล่าวและมีสิทธิเอารถยนต์ที่จะซื้อคืนโดยไม่ต้องคืนเงินที่ผู้จะซื้อชำระแล้วนั้น เป็นข้อตกลงโดยความสมัครใจของคู่สัญญาและเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ขายมิให้เสียหายเกินกว่าความจำเป็นเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขกลับกลายเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อที่สูงกว่าความเป็นจริง จำเลยต้องยกข้อเท็จจริงราคาปัจจุบันที่ชัดเจนต่อศาลจึงจะรับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 36,000 บาทให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยเพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมาก โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อและอำนาจฟ้องของโจทก์เมื่อยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ 7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือนเป็นเงิน 36,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยเพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมากโดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้ ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอนาคต
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ 7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท โดยศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือนเป็นเงิน 36,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วย เพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมากโดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยแยกจากสัญญาเช่าซื้อ ผู้รับประโยชน์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ แม้รถยนต์จะถูกยึดคืน
ว. เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์และได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย โดยระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์สัญญาประกันภัยระหว่าง ว. กับจำเลยเป็นสัญญาอีกสัญญาหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. ผลของสัญญาจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ลักษณะของสัญญาแต่ละสัญญา แม้ว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. จะสิ้นสุดลงเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อและโจทก์ได้ยึดรถยนต์คืนไปก็มีผลเฉพาะสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ส่วนสัญญาประกันภัยนั้นจะสิ้นสุดลงหรือไม่ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดในสัญญา เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติหรือข้อกำหนดในสัญญาระบุให้สัญญาประกันภัยสิ้นสุดลง สัญญาประกันภัยก็จะมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญาประกันภัย จะปัดความรับผิดชอบตามสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่เป็นลูกหนี้โดยตรงได้ สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ไม่ระงับไป
โจทก์ยึดรถยนต์คืนเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์นำรถยนต์ไปเก็บไว้ที่วัดซึ่งเป็นลานจอดรถสาธารณะบุคคลทั่วไปก็สามารถนำรถไปจอดได้ โจทก์ได้ตกลงกับวัด ให้ทางวัดจัดที่จอดรถให้ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนต่อคัน แม้ว่าโจทก์จะไม่มีพนักงานของตนไปเฝ้ารักษารถ แต่ก็เห็นได้ว่าในการจัดที่จอดรถให้แก่โจทก์ ทางวัดจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเพื่อจะได้ทราบว่ามีรถยนต์มาจอดกี่คัน เพื่อที่จะได้เก็บค่าตอบแทนถูกต้อง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในกรณีรถหายระบุว่าผู้เอาประกันจะต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและแจ้งให้จำเลยผู้รับประกันทราบโดยไม่ชักช้า โจทก์ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 หลังจากทราบว่ารถยนต์หายไปเพียง 1 วัน และได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ถือได้ว่าได้มีการแจ้งโดยไม่ชักช้าแล้ว โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามสัญญาข้อ 3.1 ในรายการ 4 ของตารางซึ่งกำหนดไว้ 700,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 700,000 บาท มิใช่รับผิดตามราคาท้องตลาดในขณะรถยนต์สูญหาย
of 63