พบผลลัพธ์ทั้งหมด 626 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับฝากทรัพย์ที่สูญหาย
โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดไป และเมื่อได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถจักรยานยนต์ย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ หรือหากเลิกสัญญาเช่าซื้อกัน โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถจักรยานยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิม ดังนั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์นำมาฝากจำเลยได้สูญหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย จนเป็นเหตุจำเลยไม่สามารถคืนรถจักรยานยนต์ซึ่งรับฝากนั้นให้แก่โจทก์ผู้ฝาก จำเลยต้องรับผิดคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากหรือชดใช้ราคาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากทรัพย์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาทรัพย์ซึ่งรับฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อและการรับฝากทรัพย์ หากทรัพย์สินสูญหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้
โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดไป และเมื่อได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถจักรยานยนต์ย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ หรือหากเลิกสัญญาเช่าซื้อกัน โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถจักรยานยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิม ดังนั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์นำมาฝากจำเลยได้สูญหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย จนเป็นเหตุจำเลยไม่สามารถคืนรถจักรยานยนต์ซึ่งรับฝากนั้นให้แก่โจทก์ผู้ฝาก จำเลยต้องรับผิดคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากหรือชดใช้ราคาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากทรัพย์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาทรัพย์ซึ่งรับฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย การชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงงวด และค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันหรือปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกัน หรือโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ แต่โจทก์ยอมรับชำระค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ตรงตามงวดโดยที่โจทก์มิได้โต้แย้ง แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอางวดหรือระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสิ่งสำคัญในการชำระค่าเช่าอันเป็นการทำให้ผิดสัญญาเช่าซื้อ ถือว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์ยึดรถยนต์สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่เลิกกัน ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยที่ 1 รับผิดเพียงชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4405/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อมีผลบังคับใช้ได้ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในขณะทำสัญญา โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาภายหลัง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกในวันที่ 18 เมษายน 2533 ขณะนั้นรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ต่อมาวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ได้ขายรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวแก่โจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่เช่าซื้อนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวด ๆ ฉะนั้น ขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำลังดำเนินการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อกันอยู่ โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อก็ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันที่เช่าซื้ออันเป็นข้อที่ถือได้ว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินอยู่ในระยะเวลาที่สัญญาเช่าซื้อกำลังดำเนินอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ทั้งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 3 ระบุไว้ว่าในการทำสัญญาเช่าซื้อได้ทำตามคำเสนอของผู้เช่าซื้อโดยให้มีการลงทุนซื้อรถยนต์มาให้เช่าซื้อ ก็เป็นการแสดงอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ไปซื้อรถยนต์บรรทุกมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ ซึ่งในสัญญาระบุให้เงินดาวน์เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อต่างหากจากการชำระค่าเช่าซื้อ และเมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้วโจทก์ก็สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกคันที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 สมัครใจให้โจทก์ไปซื้อรถยนต์มาให้เช่าซื้อและเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถคันดังกล่าวกับโจทก์ โดยมิได้โต้แย้งคัดค้านเกี่ยวกับเรื่องการเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่เช่าซื้อของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อจะอ้างว่า ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันที่เช่าซื้อเพื่อปัดความรับผิดหาได้ไม่ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4108/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากผู้ลงนามไม่ใช่ผู้มีอำนาจ แม้จะยอมรับประโยชน์ก็ไม่สมบูรณ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง ที่กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะนั้น หมายถึงว่าเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อด้วยกันทั้งสองฝ่าย สัญญาเช่าซื้อจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อมีกรรมการของบริษัทโจทก์ลงลายชื่อในสัญญาเช่าซื้ออันไม่มีผลสมบูรณ์เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ แม้ต่อมาโจทก์จะยอมรับเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ลงชื่อเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 อันจะทำให้สัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นโมฆะกลับเป็นสัญญาเช่าซื้อที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันเมื่อเจ้าของรถจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย การไม่จดทะเบียนทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม)ใช้บรรทุกของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้นเมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ที่จำเลยอ้างว่า ได้นำรถไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จึงมีเหตุผลสนับสนุนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลยโดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยาย โดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อและผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย ปรากฎว่าจำเลยออกเช็คพิพาท 9 ฉบับผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตวัตถุประสงค์สัญญาเช่าซื้อ, อายุความค่าเช่าซื้อ, และเอกสารหลักฐานทางภาษี
สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์มีวัตถุประสงค์ ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์จึงเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้รับทรัพย์คืนและค่าเสื่อมราคารวมถึงค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเอกสารดังกล่าวมิใช่ใบรับสำหรับการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะตามข้อ 28(ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 108 เอกสารดังกล่าวแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้รับทรัพย์คืนและค่าเสื่อมราคารวมถึงค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเอกสารดังกล่าวมิใช่ใบรับสำหรับการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะตามข้อ 28(ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 108 เอกสารดังกล่าวแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, อายุความค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ: มูลคดีเกิดที่ใด, นับอายุความอย่างไร
ศ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้า ศ.ที่จังหวัดระนอง เสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อ ปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 69 และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) และมาตรา 5 อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่ต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและอายุความสัญญาเช่าซื้อ: สถานที่ทำสัญญา, การเรียกร้องค่าเสียหายหลังเลิกสัญญา
ศ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้า ศ.ที่จังหวัดระนอง เสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อ ปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 69 และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง-อายุความค่าเสียหายเช่าซื้อ: ศาลตัดสินตามภูมิลำเนา-เหตุเกิดที่, อายุความ 10 ปีเมื่อเกิดหลังเลิกสัญญา
ศ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้าศ.ที่จังหวัดระนองเสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ดังนั้นสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา69และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)และมาตรา5 อายุความ6เดือนนับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่คดีนี้ได้ความว่าหลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาดเมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563แต่ต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30