คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 572

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 626 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ระบุในสัญญา สัญญาจึงไม่มีผลบังคับใช้
สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวแต่สัญญาฉบับที่โจทก์นำมาฟ้องสาระสำคัญไม่มีลักษณะที่จำเลยทั้งสองนำทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นให้โจทก์แม้จะระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อสัญญาดังกล่าวก็หาเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญา: ครอบคลุมค่าเสียหายตามที่ระบุในสัญญา แม้คำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อคงเหลือ
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 วรรคสอง มีข้อความว่า "แม้ว่าสัญญาจะเลิกไปตามการบอกเลิกแล้วก็ตาม การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องของเจ้าของ (โจทก์) ที่จะเรียกให้ผู้เช่า (จำเลยที่ 1) รับผิดบรรดาค่าเสียหาย ค่าใช้จ่ายอื่นใด ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้โดยผู้เช่าตกลงยินยอมรับผิดชอบทุกประการ" ข้อความดังกล่าวกำหนดถึงกรณีเมื่อจำเลยที่ 1ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องบรรดาค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อทุกประการ ดังนี้ ค่าเสียหายดังกล่าวหมายความรวมถึงค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องโดยใช้วิธีคำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่ตามฟ้องข้อ 4.1 ด้วย โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงหาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญา: ค่าเสียหายรวมถึงส่วนต่างค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อข้อ6วรรคสองมีข้อความว่า"แม้ว่าสัญญาจะเลิกไปตามการบอกเลิกแล้วก็ตามการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องของเจ้าของ(โจทก์)ที่จะเรียกให้ผู้เช่า(จำเลยที่1)รับผิดบรรดาค่าเสียหายค่าใช้จ่ายอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้โดยผู้เช่าตกลงยินยอมรับผิดชอบทุกประการ"ข้อความดังกล่าวกำหนดถึงกรณีเมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องบรรดาค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อทุกประการดังนี้ค่าเสียหายดังกล่าวหมายความรวมถึงค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องโดยใช้วิธีคำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่ตามฟ้องข้อ4.1ด้วยโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงหาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ สัญญาเช่าซื้อ การเลิกสัญญา และอายุความค่าขาดประโยชน์
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่า โจทก์โดยกรรมการผู้มีอำนาจสองคน ขอมอบอำนาจให้ ส.มีอำนาจทำการลงนามในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์แทนโจทก์ และมีกรรมการผู้มีอำนาจสองคนตามที่ระบุชื่อไว้ข้างต้นลงลายมือชื่อท้ายหนังสือในฐานะผู้มอบอำนาจ แม้จะมิได้มีตราบริษัทโจทก์ซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้จะต้องประทับตราด้วยก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องมีข้อความกล่าวชัดในตอนต้นว่า สัญญานี้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ส.(โจทก์) ผู้ให้เช่าซื้อ กับ ร.(จำเลย) ผู้เช่าซื้อ และท้ายสัญญา ส.ก็ได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและทั้งโจทก์และจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อตลอดมา เช่นนี้ แสดงว่า ส.ทำสัญญาเช่าซื้อในนามของโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจข้างต้น ถือได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ ส.ทำสัญญาเช่าซื้อแทนและโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงใช้บังคับได้และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยจะชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาโจทก์ก็ผ่อนผันให้และรับชำระเรื่อยมาโดยมิได้ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 10 ตามกำหนดในสัญญาจึงจะถือว่าจำเลยผิดนัดทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีตามข้อกำหนดในสัญญาข้อ 8 หาได้ไม่ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา387 ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม2534 และไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งการยึดนั้น เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดเฉพาะค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ของโจทก์ระหว่างวันที่ 28พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2534 ส่วนค่าเสียหายอื่นไม่มีเพราะมิได้เป็นการเลิกสัญญาต่อกันโดยเหตุที่จำเลยผิดสัญญา
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเช่นนี้เนื่องจากการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อโดยไม่ประทับตราบริษัท ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ หากมีเจตนาเพียงพอและมีการปฏิบัติตามสัญญา
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้ส.ทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่าโจทก์โดยกรรมการผู้มีอำนาจสองคนขอมอบอำนาจให้ส.มีอำนาจทำการลงนามในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์แทนโจทก์และมีกรรมการผู้มีอำนาจสองคนตามที่ระบุชื่อไว้ข้างต้นลงลายมือชื่อท้ายหนังสือในฐานะผู้มอบอำนาจแม้จะมิได้มีตราบริษัทโจทก์ซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้จะต้องประทับตราด้วยก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องมีข้อความกล่าวชัดในตอนต้นว่าสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างบริษัทส. (โจทก์)ผู้ให้เช่าซื้อกับร.(จำเลย)ผู้เช่าซื้อและท้ายสัญญาส.ก็ได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและทั้งโจทก์และจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อตลอดมาเช่นนี้แสดงว่าส.ทำสัญญาเช่าซื้อในนามของโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจข้างต้นถือได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ส.ทำสัญญาเช่าซื้อแทนและโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงใช้บังคับได้และโจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาโจทก์ก็ผ่อนผันให้และรับชำระเรื่อยมาโดยมิได้ทักท้วงพฤติการณ์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไปดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่10ตามกำหนดในสัญญาจึงจะถือว่าจำเลยผิดนัดทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีตามข้อกำหนดในสัญญาข้อ8หาได้ไม่หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387ก่อนแต่อย่างไรก็ตามการที่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาเมื่อวันที่5มีนาคม2534และไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งการยึดนั้นเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืนซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดเฉพาะค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ของโจทก์ระหว่างวันที่28พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่5มีนาคม2535ส่วนค่าเสียหายอื่นไม่มีเพราะมิได้เป็นการเลิกสัญญาต่อกันโดยเหตุที่จำเลยผิดสัญญา กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเช่นนี้เนื่องจากการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อและการคืนสิทธิประโยชน์จากการใช้บ้าน
โจทก์ทำสัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยครั้งแรก 50,000 บาท แล้วโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่ผู้ให้เช่าซื้อต่อมาจำเลยกับพวกมาที่บ้านพิพาท จำเลยพูดขับไล่ ส.บุตรโจทก์ออกจากบ้านพิพาท ถ้าไม่ออกจะเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับ ส.และ น.กลัวจึงขนของออกแล้วจำเลยปิดประตูใส่กุญแจบ้านพิพาท เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาและเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญา ดังนี้เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391กล่าวคือ จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วจำนวน 50,000 บาท กับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแก่ผู้ให้เช่าซื้อแทนจำเลย 18 เดือน เป็นเงิน 65,070 บาท รวมเป็นเงิน 115,070 บาท แต่จำเลยได้มอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ เมื่อบุตรโจทก์พักอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท เป็นเวลา49 เดือนเศษ โจทก์จึงต้องให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิมด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการใช้บ้านพิพาท ปรากฏว่าการเคหะแห่งชาติคิดค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ออกจากบ้านพิพาทเดือนละ 2,000 บาท ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นอัตราที่สมควร จึงกำหนดค่าที่โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากการอยู่บ้านพิพาทคิดเป็นเงิน98,000 บาท ซึ่งโจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามเมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ 17,070 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เลิกสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสิทธิเช่าซื้อผิดสัญญา การเลิกสัญญา และการคืนเงิน/ชดใช้ค่าเสียหายจากการใช้ประโยชน์
โจทก์ทำสัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยครั้งแรก 50,000 บาท แล้วโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่ผู้ให้เช่าซื้อ ต่อมาจำเลยกับพวกมาที่ บ้านพิพาท จำเลยพูดขับไล่ ส. บุตรโจทก์ออกจากบ้านพิพาทถ้าไม่ออกจะเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับ ส. และ น.กลัวจึงขนของออกแล้วจำเลยปิดประตูใส่กุญแจบ้านพิพาทเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาและเป็นการแสดงเจตนา เลิกสัญญา ดังนี้เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 กล่าวคือ จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วจำนวน 50,000 บาท กับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแก่ผู้ให้เช่าซื้อแทนจำเลย 18 เดือน เป็นเงิน 65,070 บาทรวมเป็นเงิน 115,070 บาท แต่จำเลยได้มอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ เมื่อบุตรโจทก์พักอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท เป็นเวลา 49 เดือนเศษ โจทก์จึงต้องให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิมด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการใช้บ้านพิพาท ปรากฏว่าการเคหะแห่งชาติคิดค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ออกจากบ้านพิพาทเดือนละ2,000 บาท ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นอัตราที่สมควร จึงกำหนดค่าที่โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากการอยู่บ้านพิพาทคิดเป็นเงิน98,000 บาท ซึ่งโจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม เมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ 17,070 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เลิกสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาในการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238ประกอบด้วยมาตรา 247
โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม และกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทน เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีการคืนทรัพย์และผลกระทบต่อการชำระหนี้
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา238ประกอบด้วยมาตรา247 โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้วผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวคู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใดๆให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคสามและกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทนเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมแม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยความสมัครใจและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อ
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 8 ระบุว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดยอมให้ถือว่าสัญญานี้เลิกกันโดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวก่อนและข้อ 10 ระบุว่า ถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งใดอย่างใด ไม่ให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันการผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งอื่นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาเกือบถึง 1 ปี และครั้งสุดท้ายชำระไม่ครบจำนวนดังกล่าว โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อรวมทั้งจำนวนเงินค่าเช่าซื้อแต่ละงวดตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน
หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์และราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดภายใน 7 วัน ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายดังกล่าวเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใด เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้ว นับแต่วันที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้
กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันด้วยความสมัครใจของคู่สัญญา จึงมิใช่เป็นการเลิกสัญญากันโดยผลของสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือผิดสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่สัญญาเลิกกันด้วยเหตุอื่นคู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดค่าเช่าซื้ออยู่ โดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ซึ่งระงับไปแล้ว
of 63