พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13797/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ และข้อบังคับขององค์กร จำเลยไม่มีหน้าที่จ่ายหากไม่แก้ไขข้อบังคับ
การสงเคราะห์เมื่อออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 4.9 ข้อ 16 และข้อ 17 ระบุให้ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน กรณีที่ผู้ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินสงเคราะห์ตกทอดแก่ทายาทโดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังนั้นเงินสงเคราะห์ตกทอดจะจ่ายเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับความตายของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน และตัวผู้รับเป็นทายาทของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน แต่บำเหน็จดำรงชีพตามพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 มาตรา 3, 4 และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 47/1, 49 วรรคสอง เป็นเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว เมื่อผู้รับบำนาญที่รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้วถึงแก่ความตาย การจ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทให้หักเงินที่จะได้รับเท่ากับบำเหน็จดำรงชีพออกจากบำเหน็จตกทอดเสียก่อน บำเหน็จดำรงชีพจึงไม่ใช่บำเหน็จตกทอดตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติสำหรับกรณีผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายให้จ่ายบำเหน็จตกทอดให้ทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา 48 บำเหน็จดำรงชีพจึงแตกต่างจากบำเหน็จตกทอดทั้งตัวผู้รับคือบำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ตัวผู้รับบำนาญเอง แต่บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาทผู้มีสิทธิหลังจากผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายแล้ว และบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเร่งระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้เร็วขึ้นจากที่ทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ได้รับบำนาญมาเป็นการจ่ายตามคำขอของผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นเงินสงเคราะห์ตกทอดที่จำเลยจะต้องจ่ายตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 4.9 จึงมีหลักเกณฑ์การจ่ายโดยอนุโลมเช่นเดียวกับการจ่ายบำเหน็จตกทอด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 4.9 ให้มีการจ่ายเงินในลักษณะเดียวกับการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 คือจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในขณะที่ยังมีชีวิต จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13116-14666/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพของรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี
บำเหน็จดำรงชีพแตกต่างจากบำเหน็จตกทอดทั้งตัวผู้รับคือบำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ตัวผู้รับบำนาญเองแต่บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาทผู้มีสิทธิหลังจากผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายแล้ว และบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเร่งระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้เร็วขึ้นจากที่ทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ได้รับบำนาญมาเป็นการจ่ายตามคำขอของผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นการที่จำเลยจะอนุโลมเอาการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพมาใช้ในข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ 4.9 ตามข้อ 17 วรรคสอง จึงมีการเปลี่ยนแปลงในหลักการของสภาพการจ้างที่เป็นตัวเงินเกิดขึ้น ทำให้ลักษณะการจ่ายเงินสงเคราะห์ตกทอดแก่ทายาทแตกต่างไปจากเดิมทั้งตัวผู้รับและกำหนดเวลาที่ได้รับ กับลักษณะการจ่ายเงินจากทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนในอนาคตก็เปลี่ยนเป็นจ่ายตามความประสงค์ของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนที่ยังมีชีวิตอยู่ การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินของจำเลยในปัจจุบันจำเลยไม่สามารถจ่ายบำเหน็จดำรงชีพได้โดยงบประมาณของจำเลยเองจนจำเลยต้องขอคณะรัฐมนตรีให้สนับสนุนเป็นเงินทุน 1,469 ล้านบาทเศษ และเป็นเงินทุนสนับสนุนรายปีจากรัฐบาลเมื่อจำเลยเห็นสมควรให้แก้ไขหลักการในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินโดยจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 กรณีจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างเกี่ยวกับบำเหน็จดำรงชีพสำหรับจำเลยที่จำเลยอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา 13 (2) และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีให้ปรับปรุงสภาพการจ้างให้จ่ายบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 วรรคสามแล้ว ศาลฎีกาย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยดำเนินการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้โจทก์ทั้งหนึ่งพันห้าร้อยห้าสิบเอ็ดได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในบำนาญตกทอดภาคภรรยา แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังฟ้องยืนยันสิทธิได้ หากมิใช่การเรียกร้องจากกองมรดก
โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นภริยาของขุนนิทเทสสุขกิจ โดยได้สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ฝ่ายจำเลยก็อ้างว่าจำเลยเป็นภริยาขุนนิทเทสฯโดยจดทะเบียนสมรส โจทก์มิใช่ภริยา หลังจากขุนนิทเทสฯตายแล้ว จำเลยร้องขอจัดการมรดก โจทก์คัดค้าน ในที่สุดโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกกัน เงินบำนาญตกทอดในภาคภรรยาตกลงกันให้ตกแก่โจทก์ครั้นเมื่อโจทก์ขอรับเงินนี้ จำเลยก็ไปยื่นขอรับบำนาญตกทอดทั้งภาคภริยาและภาคบุตรอีก โดยแสดงทะเบียนสมรส กระทรวงการคลังจึงงดจ่ายเงินไว้จนกว่าศาลจะได้วินิจฉัยว่าใครเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องทรัพย์สินสิทธิอย่างใดๆ จากกองมรดกของขุนนิเทสฯ นอกจากที่ได้ตกลงกันแล้วนั้นอีก โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิที่จะได้รับบำนาญตกทอดในภาคภรรยาแต่ผู้เดียวได้ เพราะไม่ใช่เป็นกรณีฟ้องเรียกทรัพย์สินกองมรดกหรือสิทธิในกองมรดก เพราะบำนาญตกทอดไม่ใช่เป็นมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับสิทธิรับบำนาญ: การฟ้องขอสถานะภรรยาไม่ขัดต่อสัญญา
โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นภริยาของขุนนิทเทศฯ โดยได้สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ฝ่ายจำเลยก็อ้างว่าจำเลยเป็นภริยาขุนนิทเทสฯ โดยจดทะเบียนสมรส โจทก์มิใช่ภริยา หลังจากขุนนิทเทสฯ ตายแล้ว จำเลยร้องขอจัดการมรดก โจทก์คัดค้าน ในที่สุดโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกกัน เงินบำนาญตกทอดในภาคภรรยาตกลงกันให้ตกแก่โจทก์ ครั้นเมื่อโจทก์ขอรับเงินนี้ จำเลยก็ไปยื่นขอรับบำนาญตกทอดทั้งภาคภริยาและภาคบุตรอีก โดยแสดงทะเบียนสมรส กระทรวงการคลังจึงงดจ่ายเงินไว้จนกว่าศาลจะได้วินิจฉัยว่าใครเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน แม้ในสัญญาประนีประนอมจะมีว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องทรัพย์สินสิทธิอย่างใดๆ จากกองมรดกของขุนนิทเทสฯ นอกจากที่ได้ตกลงกันแล้วนั้นอีก โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิที่จะได้รับบำนาญตกทอดในภาพภรรยาแต่ผู้เดียวได้ เพราะไม่ใช่เป็นกรณีฟ้องเรียกทรัพย์สินกองมรดกหรือสิทธิในกองมรดกเพราะบำนาญตกทอดไม่ใช่เป็นมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความร้ายแรงของการประพฤติชั่วเพื่อการจ่ายบำนาญตกทอด กรณีวิวาททำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย
ต่างฝ่ายต่างสมัครใจทำร้ายกัน ซึ่งปรากฏว่าฝ่ายนายทหารเรือถูกนายเงินกับพวกยิงมีบาดเจ็บหลายแห่งถึงแก่ความตายฝ่ายนายเงินกับพวกไม่มีบาดเจ็บอย่างไรเลยที่เกิดเหตุเป็นที่สาธารณะตามพฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่ถือว่านายทหารเรือผู้นั้นประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามความในมาตรา 48 พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ พ.ศ.2494 เพราะรูปเรื่องเหตุที่จะเกิดเนื่องจากการโต้เถียงท้าทายกันอันไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดของฝ่ายนายทหารเรือ ทำให้เกิดบันดาลโทสะขึ้นโดยปัจจุบัน ไม่ทันยั้งคิด ซึ่งย่อมอาจจะมีได้แก่สามัญชนทั่วๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณา 'ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง' เพื่อการจ่ายบำนาญตกทอดกรณีวิวาท การกระทำที่เกิดจากบันดาลโทสะไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง
ต่างฝ่ายต่างสมัครใจทำร้ายกัน ซึ่งปรากฏว่าฝ่ายนายทหารเรือถูกนายเงินกับพวกยิงมีบาดเจ็บหลายแห่งถึงแก่ความตาย ฝ่ายนายเงินกับพวกไม่มีบาดเจ็บอย่างไรเลย ที่เกิดเหตุเป็นที่สาธารณะ ตามพฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่ถือว่านายทหารเรือผู้นั้นประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามความในมาตรา 48 พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญฯ พ.ศ. 2494 เพราะรูปเรื่องเหตุที่จะเกิดเนื่องจากการโต้เถียงท้าทายกันอันไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดของฝ่ายนายทหารเรือ ทำให้เกิดบันดาลโทสะขึ้นโดยปัจจุบัน ไม่ทันยั้งคิด ซึ่งย่อมอาจจะมีได้ แก่สามัญชนทั่ว ๆ ไป