คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 574

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกได้หากผิดนัด และศาลมีอำนาจปรับลดดอกเบี้ย/ค่าเสียหายที่สูงเกินไปได้
ฟ้องเรียกราคารถซึ่งใกล้เคียงกับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหากสูงเกินไปศาลมีอำนาจลดลงได้ตามจำนวนที่เห็นสมควร จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 1 งวด สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์จำเลยต้องเลิกกันทันทีโดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เพราะข้อสัญญาดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ตั้งแต่วันที่สัญญาเลิกกัน ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ แต่ถ้าดอกเบี้ยสูงเกินส่วนศาลกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, รถหาย, ความรับผิดของผู้ซื้อและผู้ค้ำประกัน, ราคารถที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์ 1 คัน สัญญาดังกล่าวข้อ 3 ระบุว่า "กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อชำระราคาตามเงื่อนไขครบถ้วน" และ ข้อ 6 ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด จำนวนใดตามที่มีหน้าที่ต้องชำระโดยสัญญาฉบับนี้ และหรือสัญญาฉบับอื่นใดที่ผู้ซื้อได้ทำไว้แก่ผู้ขาย ก็ดี...ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่ในขณะนั้นเสียโดยครบถ้วนโดยพลัน ก็ได้..." ซึ่งสาระสำคัญของข้อความแตกต่างกับข้อความในบทบัญญัติเรื่องเช่าซื้อ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่ซื้อขายได้สูญหายไปเพราะถูกคนร้ายลัก แม้จะไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาข้อ 5 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ส. พยานโจทก์เบิกความตอบ คำถามค้านว่า รถยนต์คันพิพาทราคาเงินสดจำนวนเท่าใดจำไม่ได้และจำเลยที่ 1 เบิกความยืนยันว่าก่อนทำสัญญาซื้อขายโจทก์ตกลงว่า ถ้า ซื้อรถยนต์ด้วยราคาเงินสดจะเป็นจำนวน 163,000 บาท และเมื่อสัญญาซื้อขายก็ไม่ได้ระบุว่า หากรถยนต์สูญหายจำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ราคารถยนต์จำนวนเท่าใด ราคารถยนต์ ในสัญญาที่ระบุจำนวน 199,000 บาท ไม่ใช่ราคารถยนต์ที่แท้จริง ต้องถือราคารถยนต์จำนวน 163,000 บาท เป็นราคาที่นำมาเป็น ฐานที่ตั้งของการคำนวณค่าเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกับสัญญาเช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของตัวแทน
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข โดยมีข้อตกลงว่า กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระราคา ตามเงื่อนไขครบถ้วนและในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด ผู้ขายมีสิทธิที่จะเรียก ให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่โดยพลัน ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติเรื่องเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 และ มาตรา 574 ในสาระสำคัญ จึงเป็น สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าซื้อตามที่จำเลยอ้าง โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ม.มีอำนาจจดทะเบียนและโอนทะเบียนรถยนต์ไปยังผู้ซื้อแทนโจทก์ได้ ม.จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายแทนโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระบุรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด แม้เกิดจากละเมิดของบุคคลภายนอก ถือเป็นค่าเสียหายโดยตรง
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ค. โดยมีข้อกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในค่าเสียหายอันเกิดแก่รถยนต์ทุกกรณีและต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยมิได้กำหนดให้หักค่าเสื่อมราคาได้ ข้อสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับได้ เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเสียหายทั้งคัน โจทก์ที่ 2ต้องชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือให้ผู้เช่าซื้อตามข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าค่าเช่าซื้อที่โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อเดิมแล้ว ไม่ปรากฏหนี้ค้าง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้เลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อแล้วและไม่ปรากฏว่าขณะที่เลิกสัญญาจำเลยที่ 1มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ส่วนสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้เช่าซื้อคนใหม่จะสมบูรณ์หรือไม่ใช้บังคับได้เพียงใดไม่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากการที่ผู้เช่าซื้อคนใหม่ผิดสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
โจทก์ได้เลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 แล้ว และไม่ปรากฏว่าขณะที่เลิกสัญญาจำเลยที่ 1 มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ส่วนสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้เช่าซื้อคนใหม่จะสมบูรณ์หรือไม่ใช้บังคับได้เพียงใด ไม่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากการที่ผู้เช่าซื้อคนใหม่ผิดสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่ง & เช็คพิพาท: หนังสือมอบอำนาจไม่จำต้องระบุจำเลยโดยเฉพาะเจาะจง เช็คค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าซื้อ
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นจำเลยหรือผู้ใด แม้หนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับคดีไม่ได้ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง แต่ก็มีข้อความไว้แล้วว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแพ่งแทนและในนามของโจทก์ได้ ส. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทสิบเอ็ด ฉบับลงวันที่ล่วงหน้ามอบให้โจทก์เพื่อชำระราคาค่ารถขุดดินที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อจากโจทก์สำหรับงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาและธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ เช็คดังกล่าวถือว่าเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์สำหรับเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์เมื่อก่อนมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันและตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันไว้ว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ก่อนสัญญาเลิกกันให้โจทก์ จำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทซึ่งมีมูลหนี้มาจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้โจทก์ตามข้อสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยายจากการยึดรถและยอมรับคืน การคืนรถแสดงเจตนาเลิกสัญญา
แม้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมีข้อตกลงว่าหากโจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกัน ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยไม่ต้องบอกกล่าว แต่เมื่อโจทก์เคยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดต่อกันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังยอมรับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและคืนรถยนต์ที่ยึดแก่โจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 1มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไปเมื่อจำเลยที่ 1 จะเลิกสัญญาเช่าซื้อจะต้องบอกกล่าวแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 387 ก่อน การที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกัน และจำเลยที่ 1 ยึดรถคืนจากโจทก์ โจทก์อ้างแต่เพียงว่าการยึดรถยนต์ของจำเลยที่ 1 แต่ละครั้งไม่ชอบ แต่โจทก์ยอมชำระค่าเช่าซื้อให้และในการผิดนัดครั้งที่สามโจทก์ไม่ยอมรับผิดในหนี้อย่างอื่น ตามที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องอีก จึงตกลงกันไม่ได้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนฐานะเดิม จำเลยที่ 1จึงชอบที่จะเข้าครอบครองและยึดรถยนต์คืนจากโจทก์ได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาและละเมิดต่อโจทก์ ส่วนกระบะบรรทุกดั๊ม พร้อมอุปกรณ์ที่ติดกับรถยนต์ที่เช่าซื้อที่โจทก์ได้ทำขึ้น จำเลยที่ 1 จะต้องคืนให้โจทก์ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ ต่อกันไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลิกสัญญาสัญญาเช่าซื้อ: การยอมรับชำระหนี้หลังผิดนัดถือเป็นการระงับข้อผูกพันเดิม
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์และได้ออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้า12 ฉบับ เพื่อชำระค่าเช่าซื้อที่ต้องผ่อนชำระ 12 งวด เมื่อเช็คงวดที่ 9 ถึงงวดที่ 12 เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 8แต่ปรากฏว่าโจทก์มิได้ถือเอาการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเป็นสาระสำคัญกลับยังคงรับชำระหนี้ต่อมา แม้สัญญาข้อ 10 จะกำหนดว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดและเจ้าของยอมผ่อนผันการผิดนัดครั้งใดไม่ให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันการผิดนัดครั้งอื่นก็ตาม แต่การที่โจทก์ยอมรับเงินตามเช็คค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยอีก ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างมีเจตนามุ่งหมายระงับข้อผูกพันเดิม ไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาเป็นการผิดสัญญาและไม่ประสงค์จะเลิกสัญญา การที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 9 เป็นต้นมาจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, การรับสภาพหนี้, การชำระหนี้ทายาท, และผลของการทิ้งอุทธรณ์
ทนายความจะต้องรักษาผลประโยชน์ของลูกความและเอาใจใส่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง ทนายโจทก์อ้างว่าหลงลืมและเข้าใจผิดถึงสถานที่ที่จะนำส่งจึงไม่ได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 โดยถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์นั้นชอบแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิสัญญาเช่าซื้อแทนป. ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และร้องขอให้เรียกป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตายของ บ. ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ บ. ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถของ บ.ให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยชำระภายในกำหนด 1 ปีนั้น ถือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้นับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้รถและใช้ราคารถตามสัญญาเช่าซื้อ มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 การส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคานั้น เมื่อ บ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตาย ถือว่าจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อสืบต่อมาจึงต้องรับผิดคืนรถที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแก่โจทก์.
of 24