พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน: สิทธิเรียกหนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัด และการหักเงินจากผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ต่อจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมได้กำหนดเวลาชำระราคาค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกวันสุดท้ายของเดือน รวม 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนใด อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อ ส.ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย จำเลยชอบที่จะเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้นับแต่ส.ผิดนัด แม้ตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาเช่าซื้อระบุว่า หาก ส.ยังมีเงินพึงได้จากจำเลย จำเลยต้องหักเงินค่าเช่าซื้อจากรายได้ของ ส. หากไม่สามารถหักได้ส.มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระ ถ้าไม่ชำระจึงจะได้ชื่อว่า ส.ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ระหว่าง ส.และจำเลยเท่านั้น เมื่อกำหนดเวลาชำระหนี้คงเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อ ซึ่ง ส.จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อ ส.ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาส.ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ถ้า ส.ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ โดยยอมให้หักจากเงินรายได้ทุกประเภทของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากจำเลยเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกเดือนในอัตราและจำนวนเดือนแทนผู้เช่าซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ ส.ค้างชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย การชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับพิพาท ข้อ 11 วรรคหนึ่ง ระบุว่า"ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน เจ้าของจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หากผู้เช่าไม่ชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวนให้ทันงวด ณ วันที่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทันที" การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยชำระค่างวดที่ค้างเดิม 2 งวด ภายใน 30 วันมิฉะนั้นให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว จึงนำเงินมาชำระจนครบ 22 งวด การบอกกล่าวจึงไม่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลง คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป
เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืน สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย
เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืน สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อรถยนต์ การบอกเลิกสัญญา การชดใช้ค่าขาดประโยชน์ และผลของการเลิกสัญญโดยปริยาย
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับพิพาท ข้อ 11 วรรคหนึ่งระบุว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน เจ้าของจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หากผู้เช่าไม่ชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวนให้ทันงวด ณ วันที่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทันที" การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยชำระค่างวดที่ค้างเดิม 2 งวด ภายใน 30 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว จึงนำเงินมาชำระจนครบ 22 งวด การบอกกล่าวจึงไม่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลง คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสร้างบ้าน: การกำหนดเวลาส่งมอบเป็นสาระสำคัญ การบอกเลิกสัญญาและการคืนเงิน
สัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อตกลงให้โจทก์เช่าซื้อที่ดินและบ้านพักอาศัยจำเลยผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อจะต้อง สร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ฉะนั้น กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงเป็นสาระสำคัญที่โจทก์และจำเลยต้องตกลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเวลากันไว้แล้วว่าจำเลยต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดเพียงแต่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อให้ชัดแจ้งฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงการส่งมอบที่ดินและบ้านดังกล่าวได้ว่าจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในเวลาเท่าใด ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388 โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องค้นเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: กำหนดเวลาส่งมอบทรัพย์เป็นสาระสำคัญ, สิทธิบอกเลิกสัญญาและการคืนเงินค่าเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อตกลงให้โจทก์เช่าซื้อที่ดินและบ้านพักอาศัย จำเลยผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องสร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ฉะนั้น กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงเป็นสาระสำคัญที่โจทก์และจำเลยต้องตกลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเวลากันไว้แล้วว่าจำเลยต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใด เพียงแต่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อให้ชัดแจ้งฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงการส่งมอบที่ดินและบ้านดังกล่าวได้ว่าจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในเวลาเท่าใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้เช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้เช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าซื้อและการสืบสิทธิหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้และแบ่งปันทรัพย์มรดก
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิ ที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปัน ให้ทายาทต่อไปได้ หลังจาก อ. ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ. ผู้ตายและ อ. มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดกอ. เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ. ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ. อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่ออ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่าอ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาเช่าซื้อหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ทายาทสืบสิทธิได้ในฐานะผู้จัดการมรดก
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปันให้ทายาทต่อไปได้
หลังจาก อ.ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ.ผู้ตาย และอ.มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก อ.เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ.อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อ อ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคสาม
หลังจาก อ.ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ.ผู้ตาย และอ.มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก อ.เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ.อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อ อ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7523/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยข้อตกลง, ค่าเสื่อมราคา, และการหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่ งวดที่ 1 ถึง งวดที่ 9เรียงลำดับมา แม้ทุกงวดจะชำระไม่ตรงเวลา แต่โจทก์ก็รับไปโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงไม่ถือว่าการชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงเวลาเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครั้งสุดท้ายงวดที่ 9เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 ห่างจากวันชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเพียง 19 วัน เป็นการยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิจะกระทำได้ นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังได้ตกลงไว้ว่าในกรณีผู้เช่าไม่ใช้เงินค่าเช่าสองงวดติด ๆ กัน เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้เช่าละเลยไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน ผู้เช่ายอมให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกการเช่าและริบเงินที่ได้รับชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ทันที อีกทั้งโจทก์ก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน30 วัน ก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้ มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติการชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาทันทีการบอกเลิกสัญญาโดยผิดข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ชอบ การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25พฤศจิกายน 2534 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มี สิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้วโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงาน อันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึง ต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของ เป็นเวลาถึง 15 เดือน ซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้อง หักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้นเมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7523/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ การหักกลบลบหนี้ และการชดใช้ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์
จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 9เรียงลำดับมา แม้ทุกงวดจะชำระไม่ตรงเวลา แต่โจทก์ก็รับไปโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงไม่ถือว่าการชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงเวลาเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครั้งสุดท้ายงวดที่ 9 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 ห่างจากวันชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเพียง19 วัน เป็นการยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิจะกระทำได้ นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังได้ตกลงไว้ว่า ในกรณีผู้เช่าไม่ใช้เงินค่าเช่าสองงวดติด ๆ กัน เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้เช่าละเลยไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน ผู้เช่ายอมให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกการเช่าและริบเงินที่ได้รับชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ทันที อีกทั้งโจทก์ก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน ก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติการชำระค่าเช่าซื้อภายใน30 วัน กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาทันที การบอกเลิกสัญญาโดยผิดข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ชอบ
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว 1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้ว โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงานอันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึงต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามแต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของเป็นเวลาถึง 15 เดือนซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้องหักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน
ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้น เมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว 1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้ว โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงานอันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึงต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามแต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของเป็นเวลาถึง 15 เดือนซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้องหักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน
ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้น เมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ แม้สัญญาเลิกกันแล้วหนี้ตามเช็ดยังคงมีอยู่ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ได้กรอกข้อความในสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทตรงตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับโจทก์ และเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายซึ่งจำเลยทราบดีว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์ในวันใด เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดชำระเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ซึ่งตามวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดทันที สัญญาเช่าซื้อที่ทำกันไว้จึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ไม่กระทบถึงสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม ปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อในขณะมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทซึ่งจ่ายชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกัน แต่มูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ หาได้ระงับหรือสิ้นผลผูกพันไปไม่ หาใช่เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจะทำให้มูลหนี้ในคดีสิ้นความผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ คดีจึงยังไม่เลิกกัน
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดทันที สัญญาเช่าซื้อที่ทำกันไว้จึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ไม่กระทบถึงสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม ปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อในขณะมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทซึ่งจ่ายชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกัน แต่มูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ หาได้ระงับหรือสิ้นผลผูกพันไปไม่ หาใช่เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจะทำให้มูลหนี้ในคดีสิ้นความผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ คดีจึงยังไม่เลิกกัน