คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 574

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ แม้สัญญาเลิกกันแล้วหนี้ตามเช็ดยังคงมีอยู่ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ได้กรอกข้อความในสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทตรงตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับโจทก์ และเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายซึ่งจำเลยทราบดีว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์ในวันใด เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดชำระเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ซึ่งตามวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดทันที สัญญาเช่าซื้อที่ทำกันไว้จึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ไม่กระทบถึงสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม ปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อในขณะมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทซึ่งจ่ายชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกัน แต่มูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ หาได้ระงับหรือสิ้นผลผูกพันไปไม่ หาใช่เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจะทำให้มูลหนี้ในคดีสิ้นความผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ คดีจึงยังไม่เลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อขัดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 7 ก. และข้อ 8 ขัดต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับลงวันที่ 16 มกราคม 2530 ข้อ 3(7)ก. ที่ออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เพราะตามประกาศดังกล่าวได้กำหนดไว้ว่าจะต้องระบุในสัญญาเช่าซื้อว่า การที่จะถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อจะต้องผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติด ๆ กัน และให้ผู้ให้เช่าซื้อต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าซื้อให้ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ติดค้างภายใน 30 วัน หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระ ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่ข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนจะกำหนดวิธีการเลิกสัญญาและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อไว้โดยเฉพาะเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่ก็แสดงให้เห็นเจตนาของกฎหมายว่า ในชั้นแรกหากผู้ให้เช่าซื้อฝ่าฝืนข้อกำหนดในการเลิกสัญญา เมื่อผู้ให้เช่าซื้อชำระค่าปรับตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 แล้วผู้ให้เช่าซื้อก็ยังสามารถที่จะกลับมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ ดังนั้น แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุเงื่อนไขในการเลิกสัญญาแตกต่างไปจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ก็คงไม่มีผลใช้บังคับเฉพาะข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เพราะสามารถแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้ หาทำให้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะทั้งฉบับไม่
สำหรับค่าเสียหายที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัด นอกจากยอมให้ริบเงินที่ชำระไปแล้วยังต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดด้วยนั้น ข้อสัญญาข้อนี้เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนเช่นกัน
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ข้อ 3 (7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่า "กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินรายงวดสองงวดติด ๆ กัน บริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาเช่าซื้อ ริบบรรดาเงินที่ได้รับชำระแล้ว และกลับเข้าครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อได้ต่อเมื่อบริษัทเงินทุนมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือ และผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น" ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และตามมาตรา 70แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ได้กำหนดโทษปรับในการฝ่าฝืน มาตรา 31 ไว้ด้วยจึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระรวม 6 งวด ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และบอกเลิกสัญญาจึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
หนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นที่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระตั้งแต่ งวดที่ 14 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2538 เป็นต้นไปมิใช่กำหนดระยะเวลาให้ชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 แต่เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ชำระภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ไม่เป็นลาภมิควรได้ แม้มีการผิดนัดชำระค่างวด
สิทธิเช่าซื้อเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขบังคับหลังไม่เพราะโจทก์ผู้ซื้อกับจำเลยผู้ขายได้ตกลงชื้อและตกลงขายในสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นที่ยุติเสร็จสิ้นแล้ว โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อได้ส่งมอบสิทธิแห่งสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อและโจทก์ผู้ซื้อก็ได้ชำระค่าสิทธิตามสัญญาให้แก่จำเลยผู้ขายแล้ว และภายหลังจากทำสัญญาซื้อขาย จำเลยผู้ขายได้ส่งมอบรถยนต์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ผู้ซื้อสิทธิได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ตามสิทธิแห่งสัญญาเช่าซื้อแล้ว
การใดจะเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 406 ต้องเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นได้ทรัพย์เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย แต่คดีนี้ขณะทำสัญญาซื้อขายจำเลยมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยขายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์ เงินที่ได้จากการขายสิทธิอันเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงมิใช่เรื่องลาภมิควรได้จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่างวดที่เช่าซื้อต่อบริษัทผู้ให้เช่าซื้อจนเป็นเหตุจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเสียหายต้องติดตามยึดรถคืนเพื่อส่งมอบให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งเกิดแต่ความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าซื้อต่อกันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถคันพิพาทคืนจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องและการนำสืบข้อเท็จจริง การนำสืบต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์จะถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ กับข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในคำฟ้องได้กล่าวถึงเรื่องที่โจทก์จะต้องนำสืบให้สมดังคำฟ้องหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกันฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์แต่ไม่มีข้อเท็จจริงอันนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทประเด็นใดประเด็นหนึ่งในชั้นพิจารณาโจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้น ๆ หาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบนอกฟ้อง
การติดตามยึดรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนกับการบอกเลิกสัญญาก็เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้แจ้งชัดว่าโจทก์ยึดรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาโดยจำเลยยินยอมและโจทก์ถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว ในตอนท้ายของคำฟ้องมีระบุว่าโจทก์ได้มีหนังสือ-บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหาย ซึ่งในตอนท้ายของสำเนาหนังสือ--ทวงถามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวมีใจความว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 7จึงขอบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยทั้งสองทันที เอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องแล้วว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ดังนี้การนำสืบของโจทก์ในเรื่องบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงหาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์: สภาพรถไม่เหมาะสม, การจดทะเบียน, การเลิกสัญญา, และผลกระทบต่อเช็ค
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้ลงชี่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่ได้คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าจำเลยได้สละประเด็นแห่งคดีตามข้อต่อสู้ดังกล่าวแล้ว ที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ได้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้เงินดาวน์และเงินค่างวดแก่โจทก์ในภายหลังเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัย
รถดั๊มที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน จำเลยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน รถดั๊มจึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย
ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522ที่บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้ แสดงว่าเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถและตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถจากจำเลยแล้วทั้งข้อความในใบสั่งขายที่ระบุในช่องค่าทะเบียนว่า "จดเอง" ดังนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องเป็นผู้จดทะเบียนรถเองโดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โจทก์มีภูมิลำเนา
ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม) ใช้บรรทุกเทของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้น แต่เมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537 และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยได้นำรถที่เช่าซื้อไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลย โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยายโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อ และผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว และโจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ แม้ต่อมาเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ยอมให้ใช้รถดั๊มที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องใช้เงินตามมูลค่าแห่งการนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การเลิกสัญญาโดยปริยาย และสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อ
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่ได้คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าจำเลยได้สละประเด็นแห่งคดีตามข้อต่อสู้ดังกล่าวแล้ว ที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความโจทก์ได้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้เงินดาวน์และเงินค่างวดแก่โจทก์ในภายหลังเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัย รถดั๊มที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน จำเลยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ครบถ้วนรถดั๊มจึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522ที่บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้ แสดงว่าเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถและตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถจากจำเลยแล้วทั้งข้อความในใบสั่ง>ขายที่ระบุในช่องค่าทะเบียนว่า "จดเอง" ดังนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องเป็นผู้จดทะเบียนรถเองโดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โจทก์มีภูมิลำเนา ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม)ใช้บรรทุกเทของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้น แต่เมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามาผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบ มาตรา 537และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยได้นำรถที่เช่าซื้อไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลย โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยายโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อและผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว และโจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลยการที่จำเลยออกเช็คพิพาทผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์แม้ต่อมาเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ยอมให้ใช้รถดั๊มที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องใช้เงินตามมูลค่าแห่งการนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้เช่าซื้อต่อความเสียหายของทรัพย์สิน แม้เกิดจากอุบัติเหตุ
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า "ผู้เช่าซื้อสัญญาว่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างดีที่สุด... หากเกิดความเสียหายขึ้นจะโดยเหตุเพราะผู้เช่าซื้อหรือบุคคลภายนอก หรือโดยอุบัติเหตุสุดวิสัยก็ตาม อันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินสูญหายไป หรือเสียหายจนไม่อาจจะแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ หรือการซ่อมแซมแก้ไขนั้นคิดเป็นเงินเกินกว่าครึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อแล้วผู้เช่าซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่เจ้าของ..." ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปประสบอุบัติเหตุเสียหายทั้งคันและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีคืนโจทก์หรือใช้ราคาแทนตามสัญญาที่ตกลงกันดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบถึงอุบัติเหตุดังกล่าวหาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อและการคืนเงินค่าเช่าซื้อ ไม่ใช่การผิดสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์จำเลยสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยผู้ให้เช่าซื้อได้รับรถยนต์คืนไปแล้ว จึงมีหน้าที่ต้องคืนราคารถยนต์ที่ได้รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นการผิดสัญญาเช่าซื้ออันเป็นเหตุที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ได้ส่งชำระมาตามสัญญาเช่าซื้อได้
จำเลยเคยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และเรียกค่าเสียหาย คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงกลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรียกทรัพย์คืนจากจำเลยตามผลคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าว กรณีเป็นคนละประเด็นแตกต่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช่าซื้อ, เบี้ยปรับสัญญา, การคิดค่าเสื่อมราคา และการบังคับชำระหนี้ตามสัญญา
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อข้อ12ซึ่งกำหนดว่า"ถ้าหากผู้เช่าซื้อบอกเลิกการเช่าซื้อตามข้อ8ของสัญญาหรือถ้าหากเจ้าของบอกเลิกการเช่าซื้อหรือกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินใหม่ดังเดิมตามสัญญาผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายค่าซ่อมทรัพย์สินให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่ประมาณราคาขึ้นเพื่อชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้วตลอดทั้งจำนวนเงินอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้และต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญา"ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับและในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา190/30
of 24