พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ข้อกำหนดเบี้ยปรับและอายุความในการฟ้องเรียกหนี้ค่าเช่าซื้อ
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 ซึ่งกำหนดว่า "ถ้าหากผู้เช่าซื้อบอกเลิกการเช่าซื้อตามข้อ 8 ของสัญญา หรือถ้าหากเจ้าของบอกเลิกการเช่าซื้อหรือกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินใหม่ดังเดิมตามสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายค่าซ่อมทรัพย์สินให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่ประมาณราคาขึ้นเพื่อชดใช้ค่าเสื่อมราคา และค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งจำนวนเงินอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ และต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่าย ถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญา" ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญา: ค่าเสียหายรวมถึงส่วนต่างค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อข้อ6วรรคสองมีข้อความว่า"แม้ว่าสัญญาจะเลิกไปตามการบอกเลิกแล้วก็ตามการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องของเจ้าของ(โจทก์)ที่จะเรียกให้ผู้เช่า(จำเลยที่1)รับผิดบรรดาค่าเสียหายค่าใช้จ่ายอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้โดยผู้เช่าตกลงยินยอมรับผิดชอบทุกประการ"ข้อความดังกล่าวกำหนดถึงกรณีเมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องบรรดาค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อทุกประการดังนี้ค่าเสียหายดังกล่าวหมายความรวมถึงค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องโดยใช้วิธีคำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่ตามฟ้องข้อ4.1ด้วยโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงหาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญา: ครอบคลุมค่าเสียหายตามที่ระบุในสัญญา แม้คำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อคงเหลือ
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 วรรคสอง มีข้อความว่า "แม้ว่าสัญญาจะเลิกไปตามการบอกเลิกแล้วก็ตาม การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องของเจ้าของ (โจทก์) ที่จะเรียกให้ผู้เช่า (จำเลยที่ 1) รับผิดบรรดาค่าเสียหาย ค่าใช้จ่ายอื่นใด ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้โดยผู้เช่าตกลงยินยอมรับผิดชอบทุกประการ" ข้อความดังกล่าวกำหนดถึงกรณีเมื่อจำเลยที่ 1ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องบรรดาค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อทุกประการ ดังนี้ ค่าเสียหายดังกล่าวหมายความรวมถึงค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องโดยใช้วิธีคำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่ตามฟ้องข้อ 4.1 ด้วย โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงหาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9373/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นพยานหลักฐานล่าช้าและการเลิกสัญญาเช่าซื้อ
แม้การที่โจทก์ไม่ได้ยื่นต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจให้ทำสัญญาเช่าซื้อและหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งเป็นพยานเอกสารต่อศาลชั้นต้นในวันชี้สองสถานเพื่อให้จำเลยทั้งสองตรวจสอบ เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 183วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ตามมาตรา 183 ทวิ วรรคสอง ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบ ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจภายหลังได้ และคดีได้ความว่าหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ได้อ้างเป็นพยานหลักฐานนี้เป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญเรื่องอำนาจฟ้องในคดี และต่อมาโจทก์ได้ยื่นหนังสือมอบอำนาจในวันเดียวกันกับวันที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานตามคำสั่งของศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานนัดแรกเป็นเวลากว่า 1 เดือน จำเลยทั้งสองมีโอกาสตรวจสอบเอกสารดังกล่าวก่อนวันสืบพยานได้อยู่แล้ว ดังนี้ ที่โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในวันชี้สองสถานนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสองแต่ประการใด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจและศาลล่างทั้งสองรับฟังต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมานั้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด...ฯลฯ ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีโดยเจ้าของไม่ต้องบอกกล่าวก่อน...ฯลฯ เป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนใช้บังคับกันได้ จำเลยที่ 1ค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเวลาหลายงวด จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อตามข้อสัญญาดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันทันทีโดยโจทก์มิต้องบอกกล่าว
สัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด...ฯลฯ ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีโดยเจ้าของไม่ต้องบอกกล่าวก่อน...ฯลฯ เป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนใช้บังคับกันได้ จำเลยที่ 1ค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเวลาหลายงวด จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อตามข้อสัญญาดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันทันทีโดยโจทก์มิต้องบอกกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9373/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี และสัญญาเช่าซื้อที่ระบุการเลิกสัญญาเมื่อผิดนัดชำระ
แม้การที่โจทก์ไม่ได้ยื่นต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจให้ทำสัญญาเช่าซื้อและหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งเป็นพยานเอกสารต่อศาลชั้นต้นในวันชี้สองสถานเพื่อให้จำเลยทั้งสองตรวจสอบ เป็นฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ตามมาตรา 183 ทวิ วรรคสองถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นต้นฉบับมอบอำนาจภายหลังได้ และคดีได้ความว่าหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ได้อ้างเป็นพยานหลักฐานนี้เป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญอำนาจฟ้องในคดี และต่อมาโจทก์ได้ยื่นหนังสือมอบอำนาจในวันเดียวกันกับวันที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานตามคำสั่งของศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานนัดแรกเป็นเวลากว่า1 เดือน จำเลยทั้งสองมีโอกาสตรวจสอบเอกสารดังกล่าวก่อนวันสืบพยานได้อยู่แล้ว ดังนี้ ที่โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในวันชี้สองสถานนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสองแต่ประการใด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจและศาลล่างทั้งสองรับฟังต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมานั้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่ง งวดใด ฯลฯ ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีโดยเจ้าของไม่ต้องเบิกกล่าวก่อน ฯลฯ เป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนใช้บังคับกันได้ จำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นหลายงวดจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อตามข้อสัญญาดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันทันทีโดยโจทก์มิต้องบอกกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8365/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องราคาทรัพย์สินเช่าซื้อ และค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 กล่าวคือให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ ดังนี้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ เมื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา ตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา"ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องร้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190/30 มิใช่อายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8365/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, และอายุความของหนี้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ ดังนี้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ เมื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา..." ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30มิใช่อายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563
การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา..." ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30มิใช่อายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: สิทธิของผู้ให้เช่าซื้อในการเรียกค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์สิน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า เมื่อมีการเลิกสัญญาเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้ให้เช่าซื้อรับไว้และกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเลิกกันคงเรียกได้เพียงค่าที่จำเลยใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อตลอดเวลาที่ครอบครองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรค 3 และค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นที่จำเลยต้องรับผิดนอกเหนือจากค่าเสียหายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์โดยชอบ แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้าง แต่ตามคำบรรยายฟ้องกล่าวว่า การที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถที่เช่าซื้อกลับคืน ทำให้โจทก์เสียหายคือจำเลยครอบครองใช้รถของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 11 ถึงงวดที่ 17 เป็นเงิน 58,053 บาท จึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานใช้รถของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองอยู่ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเช่าซื้อผิดนัด: ค่าใช้ทรัพย์สิน ไม่ใช่ค่าเช่าค้าง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า เมื่อมีการเลิกสัญญาเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้ให้เช่าซื้อรับไว้และกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเลิกกัน คงเรียกได้เพียงค่าที่จำเลยใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อตลอดเวลาที่ครอบครองอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรค 3และค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นที่จำเลยต้องรับผิดนอกเหนือจากค่าเสียหายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์โดยชอบ
แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้าง แต่ตามคำบรรยายฟ้องกล่าวว่า การที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถที่เช่าซื้อกลับคืน ทำให้โจทก์เสียหาย คือจำเลยครอบครองใช้รถของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 11 ถึงงวดที่ 17 เป็นเงิน 58,053 บาทจึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานใช้รถของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองอยู่ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายได้
แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้าง แต่ตามคำบรรยายฟ้องกล่าวว่า การที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถที่เช่าซื้อกลับคืน ทำให้โจทก์เสียหาย คือจำเลยครอบครองใช้รถของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 11 ถึงงวดที่ 17 เป็นเงิน 58,053 บาทจึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานใช้รถของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองอยู่ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ: การรับชำระหนี้ล่าช้าโดยไม่บอกกล่าวถือมิได้เป็นการเลิกสัญญา
ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาเสียได้ตามสัญญาเช่าซื้อแต่ผู้ให้เช่าซื้อยังคงรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อมา แสดงให้เห็นว่าผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญ และไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นเป็นการผิดสัญญาผู้ให้เช่าซื้อจะเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387