คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1026

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7498/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อที่ดินเป็นการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนต้องรอการชำระบัญชี
ข้อตกลงโครงการซื้อที่ดินระหว่างผู้เริ่มโครงการและผู้ลงทุนระบุว่าเป็นโครงการจัดหาซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไร โดยมีผู้ร่วมดำเนินการคือโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วม โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนเป็นเงิน ส่วนจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่ซื้อได้ เมื่อขายที่ดินดังกล่าวได้แล้วให้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ออกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันชำระเงินซื้อที่ดินจนถึงวันขายที่ดินได้ และจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ หากมีเงินเหลือซึ่งเป็นกำไรก็จะจัดการแบ่งกันในระหว่างผู้ร่วมกันดำเนินการทุกคนดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยและจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หาใช่เป็นสัญญาร่วมลงทุนไม่ และเมื่อห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยังไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055,1056 และ 1057 จึงยังไม่ได้จัดการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากหุ้นส่วนคนอื่น ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วนและการเลิกสัญญา: แม้ฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายต้องบอกเลิกก่อนจึงมีผล
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการฝ่ายละครึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1026แล้วแม้ฝ่ายหนึ่งจะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงก็หาทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเสียไปไม่ แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อนเมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วนยังไม่เลิก แม้ฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายต้องบอกเลิกก่อน
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการฝ่ายละครึ่ง ถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1026 แล้ว แม้ฝ่ายหนึ่งจะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลง ก็หาทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเสียไปไม่
แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุน จำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อน เมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์ สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วนและการเลิกสัญญา: แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ส่งเงินตามสัญญา ก็ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าการร่วมลงทุนและการดำเนินกิจการจะขาดทุนหรือกำไรทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะรับผิดชอบร่วมกันคนละครึ่ง และการชำระเงิน ค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้เป็นไปตาม สัญญาร่วมลงทุนฉบับนี้ ซึ่งหมายถึงให้ฝ่ายโจทก์จำเลยชำระคนละครึ่ง แสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างให้สัญญาซึ่งกันและกันว่าต่างฝ่ายจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝ่ายละครึ่ง ถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกัน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1026 แล้ว แม้ฝ่ายหนึ่ง จะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงกันมาลงหุ้น ก็ไม่ทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนเสียไปสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ขัดต่อมาตรา 1026

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วน: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, และการชำระบัญชี
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการฝ่ายละครึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1026แล้วแม้ฝ่ายหนึ่งจะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงก็หาทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเสียไปไม่ แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อนเมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทห้างหุ้นส่วน: การผิดข้อตกลงลงทุน, การแบ่งกำไร, และการฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงเป็นหุ้นส่วนกันประกอบกิจการระเบิดหินและย่อยหิน โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างนำเครื่องมือเครื่องใช้มาลงทุนร่วมกัน ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 นำเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเลยที่ 1 นำมาลงทุนร่วมกับโจทก์ไปใช้หาผลประโยชน์ในสถานที่อื่นโดยพลการอันเป็นการผิดข้อตกลง ทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งกำไรลดลงขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและตั้งผู้ชำระบัญชี และให้จำเลยทั้งสองใช้เงินกำไรที่โจทก์ควรจะได้ จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเครื่องโม่หินที่มีสภาพเก่าและทรุดโทรมมาลงทุนต้องเสียเวลาซ่อมทุกเดือน เป็นเหตุให้ได้ผลิตผลไม่มากเท่าที่ควรทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งกำไรน้อยลงจากที่เคยได้รับ ขอให้โจทก์ใช้เงินกำไรที่จำเลยที่ 1 ได้รับน้อยลง เช่นนี้ ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นเรื่องการเข้าหุ้นส่วนรายเดียวกัน มูลกรณีเดียวกัน ฟ้องแย้งจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการเข้าหุ้นส่วนรายเดียวกัน ย่อมเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลรับไว้พิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงเป็นหุ้นส่วนกันประกอบกิจการระเบิดหินและย่อยหิน โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างนำเครื่องมือเครื่องใช้มาลงทุนร่วมกัน ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 นำเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเลยที่ 1 นำมาลงทุนร่วมกับโจทก์ไปใช้หาผลประโยชน์ในสถานที่อื่นโดยพลการอันเป็นการผิดข้อตกลง ทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งกำไรลดลงขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและตั้งผู้ชำระบัญชี และให้จำเลยทั้งสองใช้เงินกำไรที่โจทก์ควรจะได้ จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเครื่องโม่หินที่มีสภาพเก่าและทรุดโทรมมาลงทุนต้องเสียเวลาซ่อมทุกเดือน เป็นเหตุให้ได้ผลิตผลไม่มากเท่าที่ควรทำให้จำเลยที่ 1ได้รับส่วนแบ่งกำไรน้อยลงจากที่เคยได้รับ ขอให้โจทก์ใช้เงินกำไรที่จำเลยที่ 1 ได้รับน้อยลง เช่นนี้ ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นเรื่องการเข้าหุ้นส่วนรายเดียวกัน มูลกรณีเดียวกัน ฟ้องแย้งจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ-กรรมสิทธิ์รวม: การเปลี่ยนแปลงคำขอในชั้นฎีกาต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์กับ ป. แต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาทั้งโจทก์และ ป. ต่างมีทรัพย์สินมาลงหุ้นส่วนกัน โจทก์กับ ป.จึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. จึงเลิกกันและขณะที่ ป. ถึงแก่ความตายมีทรัพย์สินของหุ้นส่วนหลายรายการ รวมทั้งบ้านและที่ดินพิพาทด้วย จำเลยให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า โจทก์ไม่มีทรัพย์สินใดแม้แต่แรงงานมาลงหุ้นกับ ป. ในลักษณะของสัญญาหุ้นส่วน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสัญญาการเข้าเป็นหุ้นส่วนได้ ทรัพย์สินตามฟ้องล้วนเป็นทรัพย์สินที่ ป. มีมาก่อนอยู่กินกับโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป. ศาลชั้นต้นจึงกำหนดเป็นประเด็นพิพาทว่า ทรัพย์สินพิพาทเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. หรือไม่เพียงใด เช่นนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ออกเงินซื้อบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ ป. บ้านและที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป.โจทก์จะยกปัญหาที่ว่า จำเลยซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยเจตนาให้เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ป. ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนร่วมรับผิดค่าเช่ารถ แม้ไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่า หากมีส่วนร่วมในการทำสัญญาและรับประโยชน์
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยร่วมกันเข้าหุ้นส่วนอย่างไร จำเลยคนไหนแต่ผู้เดียวหรือร่วมกับใครบ้างมาทำสัญญาเช่าฉบับไหน เมื่อใด ครั้งไหนที่แทนกัน มีใบมอบอำนาจหรือตั้งตัวแทนหรือไม่ โดยเฉพาะข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเข้าหุ้นส่วนโจทก์จะต้องบรรยายให้เข้าลักษณะหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1026 ว่าจำเลยคนไหนลงหุ้นอย่างไร ด้วยอะไร อันจะถือว่าเป็นหุ้นส่วน ฟ้องโจทก์จึงไม่ชัดเจนเป็นฟ้องเคลือบคลุม นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมด้วยเหตุดังที่จำเลยฎีกามาดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่า จำเลยร่วมกันเป็นหุ้นส่วนอย่างไรก็ตาม แต่การที่จำเลยแต่ละคนจะเข้าหุ้นส่วนกันอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องก็ได้ การนำสืบของโจทก์ในข้อนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย และไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง โจทก์ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน ดังนั้น จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนมาฟังเป็นยุติในคดีนี้ได้ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4รับเหมาช่วงงานก่อสร้างทางพิพาทจากบริษัท ภ. จำเลยที่ 3จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นในอันที่จะต้องชำระค่าเช่ารถแทรกเตอร์ที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้ลงชื่อเป็นผู้เช่าหรือมอบหมายเป็นหนังสือให้จำเลยอื่นลงชื่อในสัญญาเช่ารถแทรกเตอร์แทนจำเลยที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า สัญญาเช่าที่โจทก์อ้างน่าจะไม่เป็นความจริงโจทก์อาจเพิ่งมาทำขึ้นภายหลังโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 4เพื่อโยนความรับผิดไปยังจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งมีฐานะการเงินมั่นคงอยู่ นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 3 ข้อ คือ1.ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ 2.จำเลยทั้งห้าเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่และ 3.จำเลยเช่ารถตามฟ้องใช่หรือไม่ ดังนี้ ประเด็นว่าค่าเช่ารถมีเพียงไร ย่อมเป็นผลสืบเนื่องจากเมื่อวินิจฉัยประเด็นข้อ 3 แล้วจึงถือว่าอยู่ในประเด็นข้อ 3 ด้วย ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเช่าอีก ก็ถือว่าคดีมีประเด็นเรื่องค่าเช่าด้วย โจทก์จึงมีสิทธินำสืบในประเด็นค่าเช่า และศาลมีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ บริษัทภ.รับเหมาก่อสร้างทางให้แก่กรมทางหลวง และบริษัทภ.ได้ให้จำเลยรับเหมาช่วงงานก่อสร้างทางดังกล่าวซึ่งจำเลยก็ได้เช่ารถแทรกเตอร์ของโจทก์ไปใช้ในการก่อสร้างทางดังกล่าว แต่จำเลยไม่สามารถสร้างทางให้แล้วเสร็จภายในกำหนดในสัญญา ดังนี้จำเลยจะถือเอาวันที่กรมทางหลวงบอกเลิกสัญญากับบริษัทภ. เป็นวันที่สัญญาเช่ารถแทรกเตอร์ระงับ และให้คิดค่าเช่าถึงวันดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะวันเลิกสัญญาก่อสร้างทางกับวันที่จำเลยเช่าและผิดนัดไม่ชำระค่าเช่ารถแทรกเตอร์เป็นคนละส่วนแยกออกจากกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบในส่วนขาดทุนเมื่อลูกหนี้หลบหนี และห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้
จำเลยเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ซื้อเชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.โดยให้ว. นำไปขายผ่อนส่งเพื่อแบ่งกำไรกัน เมื่อ ว.รับเครื่องไฟฟ้าทั้งหมดไปแล้วว.มิได้นำไปขายผ่อนส่งแต่กลับนำไปจำนำและไม่นำเงินมาชำระให้แก่โจทก์และจำเลย โจทก์ต้องชำระค่าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดให้แก่ห้าง ฯ ร.ส่วนว. ได้หลบหนีไปไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ถือได้ว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำเนินต่อไปได้อีกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1057(3).
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มี เจ้าหนี้ไม่มี คงเหลือ ว. เป็นลูกหนี้แต่ไม่สามารถที่จะติดตามเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เพราะหลบหนี ส่วนที่ขาดทุนทั้งหมดก็คือเงินทดรองค่าซื้อเชื่อเครื่องไฟฟ้าที่โจทก์ได้ชำระแก่ห้าง ฯ ร. ไปเพื่อจัด การค้าของห้าง การที่จะให้ดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ เพราะคงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์จำเลยนำสืบไว้แล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ส่วนขาดทุนให้แก่โจทก์ไปทีเดียวได้.
of 4