คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1000

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13113/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชำระเงินค่าเวนคืนที่ผิดพลาด หากจ่ายเงินเข้าบัญชีที่ไม่ตรงกับชื่อผู้รับเงินในเช็ค
ที่ดินของโจทก์ที่ 1 และ ก. ถูกเวนคืนทางกรุงเทพมหานครจ่ายเงินค่าเวนคืนโดยจ่ายเช็คธนาคาร ก. ให้แก่โจทก์ที่ 1 และ ก. เช็คระบุผู้รับเงินไว้คือโจทก์ที่ 1 กับ ก. และขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ธนาคารต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่สั่งจ่ายระบุชื่อ แม้ระหว่างชื่อของบุคคลทั้งสองมีเพียงเครื่องหมาย " , " คั่นไว้ก็ตาม ก็มีความหมายว่าธนาคารต้องจ่ายเงินให้แก่บุคคลทั้งสองมิใช่หมายถึงจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียว อีกทั้งเช็คมีการขีดคร่อมระบุคำว่า "A/C PAYEE ONLY" ธนาคารต้องจ่ายเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงินซึ่งมีชื่อในเช็คเท่านั้น การที่ธนาคารจำเลยที่ 1 นำเงินที่เรียกเก็บตามเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ที่ 1 หรือ ม. ย่อมเป็นความเข้าใจของธนาคารจำเลยที่ 1 เพียงฝ่ายเดียวว่าสามารถกระทำได้ ทั้งๆ ที่บัญชีมีชื่อไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในเช็ค อีกทั้งธนาคารจำเลยที่ 1 ยอมให้ ม. ผู้ไม่มีสิทธิรับเงินตามเช็คเบิกถอนเงินออกไปเพียงผู้เดียว ธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามการค้าปรกติของธนาคารย่อมไม่เป็นการกระทำที่สุจริตหรือปราศจากความประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด ธนาคารจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระเงินต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ก. ฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กล่าวในคำฟ้องว่าด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีมูลหนี้จากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องทั้งหมดแล้วเห็นว่า เป็นการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดตามมูลหนี้ตั๋วเงิน มีอายุความ 10 ปี จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช็ค: ผู้สั่งจ่ายไม่ใช่เจ้าของอันแท้จริง ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืน
โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมของธนาคาร ท. ให้แก่ ส. หรือผู้ถือ แม้เป็นเช็คห้ามเปลี่ยนมือ แต่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นคือผู้รับเงินตามเช็ค มิใช่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์ทั้งสองก็มิได้เป็นผู้ทรงเช็ค จึงมิใช่เจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1000 ที่จะมีอำนาจฟ้องธนาคารจำเลยให้รับผิดชดใช้เงินตามเช็ค ทั้งการที่จำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คจากธนาคาร ท. ไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงิน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองในอันที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้: การกระทำไม่เป็นละเมิดต่อผู้ทรงเช็ค
การที่จำเลยที่ 1 นำเช็คซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และเป็นเช็คมีข้อความระหว่างเส้นขีดคร่อมว่า A/C PAYEE ONLY ไปเข้าบัญชีบริษัท ภ. เป็นการกระทำตามคำสั่งของจำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ภ. เจ้าหนี้โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการกระทำในขอบอำนาจของกรรมการโจทก์ มีผลผูกพันโจทก์ นอกจากนี้โจทก์และบริษัท ภ. ต่างก็มีกรรมการชุดเดียวกันรวม 5 คน หากกรรมการอื่นอีก 4 คน เห็นว่าจำเลยร่วมนำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีบริษัท ภ. เป็นการไม่ถูกต้อง ก็ย่อมสามารถใช้สิทธิในฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ภ. สั่งให้โอนเงินตามเช็คพิพาทคืนให้แก่โจทก์ได้อยู่แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วมจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6388/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอม ทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิดละเมิด
++ เรื่อง ละเมิด ++
เช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่บริษัท ด.สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน ฉบับที่สองเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ (A/C PAYEE ONLY) ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเช่นกัน โจทก์มอบหมายให้ ร.พนักงานของโจทก์เป็นผู้ไปรับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาจากบริษัท ด. เมื่อ ร.ได้รับเช็คพิพาทมาแล้ว ร.กับพวกได้ร่วมกันทุจริตปลอมเช็คพิพาททั้งสองฉบับดังกล่าว โดยการขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงิน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายของบริษัท ด.กำกับบริเวณที่มีการขีดฆ่าชื่อโจทก์โดยไม่มีตราประทับของบริษัท ด.แล้วกับพวกได้นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมดังกล่าวเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไป อันเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินดังกล่าวไปทั้ง ๆ ที่เงื่อนไขการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด.และในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด. มีว่า จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของบริษัท ด.ตามที่ระบุไว้พร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 พนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1จึงควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบให้ดีว่าเหตุใดการลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัท ด.ตรงที่มีการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงิน จึงไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไข และทำการสอบถามผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายถึงเหตุที่ไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไขก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเช็คมากกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป แม้เช็คดังกล่าวจะเป็นเช็คผู้ถือก็ตาม เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินซึ่งไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ร.กับพวกนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมนั้นเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.ซึ่งไม่ใช่บัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมายเพื่อเรียกเก็บเงิน และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไปเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินไปจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทเลินเล่อของธนาคารและผลกระทบต่อความรับผิดทางละเมิด สัญญาประนีประนอมยอมความไม่กระทบความรับผิดทางละเมิด
มูลละเมิดที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดเกิดจาก การกระทำประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของ จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ออกเช็คเพื่อชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อเป็นเช็คห้ามเปลี่ยนมือและขีดฆ่าคำว่า "ผู้ถือ" ออกแต่เช็คฉบับดังกล่าวถูกนำไปเรียกเก็บยังธนาคารจำเลยที่ 1 ในบัญชีจำเลยร่วมซึ่งมิใช่ผู้รับเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย โดยผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบ แล้วจำเลยร่วมเป็นผู้รับเงินและเบิกจ่ายเงินตามเช็คไป ส่วนการที่จำเลยร่วม และ น. ได้ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับรวมทั้งเช็คที่เป็นมูลละเมิดในคดีนี้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร โจทก์จึงได้ดำเนินคดีกับจำเลยร่วมและ น. ฐานฉ้อโกงแล้วต่อมาโจทก์ จำเลยร่วม และ น. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อให้จำเลยร่วมและ น. ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญาต่อไปนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของฝ่ายจำเลยร่วมและ น. หาได้มีผลถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการละเมิดไม่ เพราะเป็น คนละเรื่องกันโดยแท้ ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงไม่พ้น ความรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงาน & ความรับผิดทางละเมิดแยกจากคดีอาญา
มูลละเมิดที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดเกิดจากการกระทำประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ออกเช็คเพื่อชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อเป็นเช็คห้ามเปลี่ยนมือและขีดฆ่าคำว่า "ผู้ถือ" ออก แต่เช็คฉบับดังกล่าวถูกนำไปเรียกเก็บยังธนาคารจำเลยที่ 1 ในบัญชีจำเลยร่วมซึ่งมิใช่ผู้รับเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย โดยผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบ แล้วจำเลยร่วมเป็นผู้รับเงินและเบิกจ่ายเงินตามเช็คไป ส่วนการที่จำเลยร่วมและ น.ได้ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับรวมทั้งเช็คที่เป็นมูลละเมิดในคดีนี้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร โจทก์จึงได้ดำเนินคดีกับจำเลยร่วมและ น.ฐานฉ้อโกง แล้วต่อมาโจทก์ จำเลยร่วม และน.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อให้จำเลยร่วมและ น.ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญาต่อไปนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของฝ่ายจำเลยร่วมและ น. หาได้มีผลถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการละเมิดไม่ เพราะเป็นคนละเรื่องกันโดยแท้ ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงไม่พ้นความรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชอบการนำเช็คขีดคร่อมเข้าบัญชีบุคคลอื่นโดยไม่ชอบ แม้ผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้เยาว์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ท.ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะ สั่งจ่ายเงินฉบับละ 2,000,000 บาท ระบุชื่อให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ตามลำดับโดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" โดยห้ามเปลี่ยนมือทั้งสองฉบับ พ.บิดาของโจทก์ทั้งสองรับเช็คดังกล่าวไว้แล้วนำไปเข้าบัญชีเงินฝากของ พ.ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชี พ.โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ เพราะเช็คดังกล่าวทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเงินตามเช็ค และเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีเฉพาะของโจทก์ทั้งสอง หากโจทก์ทั้งสองยังไม่มีบัญชีกับธนาคารจำเลยที่ 1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ต้องเปิดบัญชีให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อจะได้นำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีของธนาคารพาณิชย์ การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่า ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์มีมูลหนี้มาจากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปี ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้าง ป.พ.พ.มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดทั้งเป็นการเรียกเอาทรัพย์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้คืน ตามมาตรา 1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ ดังนี้จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ
แม้ขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์ พ.บิดาในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองในขณะนั้นย่อมมีอำนาจจัดการแทนโจทก์ทั้งสองได้ก็ตาม แต่เมื่อเงินได้ตามเช็คพิพาทเป็นเงินได้ที่ต้องนำเข้าบัญชีส่วนตัวของโจทก์ทั้งสองเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะจัดการนำเช็คดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีโจทก์ทั้งสอง และในทางปฏิบัติ หากโจทก์ทั้งสองไม่มีบัญชีในธนาคารจำเลยที่ 1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมดำเนินการเปิดบัญชีใหม่ให้โจทก์ทั้งสองได้ เมื่อความเป็นผู้เยาว์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเปิดบัญชีใหม่แต่ประการใด ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นำเช็คขีดคร่อมของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีส่วนตัวของ พ.แล้วเป็นเหตุให้ พ.ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปได้นั้นเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชดใช้เงินเช็คขีดคร่อมที่เข้าบัญชีผิดพลาด แม้บิดาผู้เยาว์มีอำนาจจัดการได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าท. ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะสั่งจ่ายเงินฉบับละ2,000,000บาทระบุชื่อให้แก่โจทก์ที่1และโจทก์ที่2ตามลำดับโดยขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ"โดยห้ามเปลี่ยนมือทั้งสองฉบับพ. บิดาของโจทก์ทั้งสองรับเช็คดังกล่าวไว้แล้วนำไปเข้าบัญชีเงินฝากของพ.ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่1เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่1ได้นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีพ. โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้เพราะเช็คดังกล่าวทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเงินตามเช็คและเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีเฉพาะของโจทก์ทั้งสองหากโจทก์ทั้งสองยังไม่มีบัญชีกับธนาคารจำเลยที่1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็ต้องปิดบัญชีให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อจะได้นำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งสองอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีของธนาคารพาณิชย์การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายการกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่1จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้วจำเลยที่1ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่าด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่1ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์มีมูลหนี้มาจากการละเมิดอันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ1ปีก็ตามแต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่1ไม่มีสิทธิอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1000เพื่อยกเว้นความรับผิดทั้งเป็นการเรียกเอาทรัพย์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้คืนตามมาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความดังนี้จะนำอายุความเรื่องละเมิด1ปีมาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ แม้ขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์พ.บิดาในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองในขณะนั้นย่อมมีอำนาจจัดการแทนโจทก์ทั้งสองได้ก็ตามแต่เมื่อเงินได้ตามเช็คพิพาทเป็นเงินได้ที่ต้องนำบัญชีส่วนตัวของโจทก์ทั้งสองเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็ชอบที่จะจัดการนำเช็คดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีโจทก์ทั้งสองและในทางปฏิบัติหากโจทก์ทั้งสองไม่มีบัญชีในธนาคารจำเลยที่1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็ย่อมดำเนินการเปิดบัญชีใหม่ให้โจทก์ทั้งสองได้เมื่อความเป็นผู้เยาว์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเปิดบัญชีใหม่แต่ประการใดดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1นำเช็คขีดคร่อมของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีส่วนตัวของพ. แล้วเป็นเหตุให้พ. ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปได้นั้นเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อจำเลยที่1ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดคืนเงินเช็คขีดคร่อมที่นำเข้าบัญชีบุคคลอื่นโดยมิชอบแก่ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ท. ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะสั่งจ่ายเงินฉบับละ 2,000,000 บาท ระบุชื่อให้แก่โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 2 ตามลำดับโดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ"โดยห้ามเปลี่ยนมือทั้งสองฉบับ พ. บิดาของโจทก์ทั้งสองรับเช็คดังกล่าวไว้แล้วนำไปเข้าบัญชีเงินฝากของ พ.ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชี พ. โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ เพราะเช็คดังกล่าวทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเงินตามเช็คและเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีเฉพาะของโจทก์ทั้งสอง หากโจทก์ทั้งสองยังไม่มีบัญชีกับธนาคารจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ต้องปิดบัญชีให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อจะได้นำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีของธนาคารพาณิชย์ การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้วจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่า ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์มีมูลหนี้มาจากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปี ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดทั้งเป็นการเรียกเอาทรัพย์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้คืน ตามมาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความดังนี้จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ แม้ขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์ พ.บิดาในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองในขณะนั้นย่อมมีอำนาจจัดการแทนโจทก์ทั้งสองได้ก็ตาม แต่เมื่อเงินได้ตามเช็คพิพาทเป็นเงินได้ที่ต้องนำบัญชีส่วนตัวของโจทก์ทั้งสองเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะจัดการนำเช็คดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีโจทก์ทั้งสอง และในทางปฏิบัติหากโจทก์ทั้งสองไม่มีบัญชีในธนาคารจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมดำเนินการเปิดบัญชีใหม่ให้โจทก์ทั้งสองได้เมื่อความเป็นผู้เยาว์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเปิดบัญชีใหม่แต่ประการใด ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นำเช็คขีดคร่อมของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีส่วนตัวของ พ.แล้วเป็นเหตุให้พ. ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปได้นั้นเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3177/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องตั๋วสัญญาใช้เงินและขอบเขตความรับผิดของผู้สลักหลัง/ผู้รับรอง
โจทก์ฟ้องว่า บริษัท อ. ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ มีส. และจำเลยเป็นผู้อาวัลตั๋ว แล้วบริษัท อ. ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวขายให้โจทก์ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งระบุว่า บริษัท อ. จะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อครบกำหนดวันใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และมีข้อความต่อมาว่า ส.และจำเลยได้ทราบข้อตกลงที่บริษัท อ. นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายแก่โจทก์ดังกล่าวข้างต้นทุกประการ ยินยอมรับอาวัล อนึ่งถ้าธนาคารโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระเงินให้แก่บริษัท อ. ถือว่า ส. และจำเลยยินยอมตกลงผ่อนเวลานั้นด้วย ข้อความดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกัน หนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเพียงคำรับรองว่าจำเลยเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น มิได้เป็นผู้ค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 ประกอบมาตรา 1001
of 3