คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 344

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอม และหนี้ที่มีข้อโต้แย้งแต่ไม่กระทบสาระสำคัญยังคงหักกลบลบได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้แต่ประการใดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นลูกหนี้ของจำเลยตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหนี้ดังกล่าวต่างก็ถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์นั้น ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบกันได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์แต่ประการใด
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 หมายถึง หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบถึงความรับผิดในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด ซึ่งข้อความในเอกสารหมาย ล.7 หาได้มีข้อความตอนใดที่เป็นการปฏิเสธความรับผิด หรือโต้แย้งจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ก่อนการฟื้นฟูกิจการ: การหักกลบลบหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ ถือว่าระงับหนี้ได้
ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดว่า การหักกลบลบหนี้จะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อบริษัท บ. เป็นลูกหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันและหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระ จึงถือว่าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ และจำเลยตกเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตั้งแต่เวลาที่ลูกหนี้ผิดนัดเป็นต้นไป ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นลูกหนี้ของจำเลยตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งหนี้ดังกล่าวก็ถึงกำหนดชำระแล้วเช่นกัน เมื่อขณะที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบกันได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 หมายถึงหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบถึงความรับผิดชอบในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด
จำเลยได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังโจทก์ ขอให้นำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันจำนวน 9,119,733.86 บาท หักกลบลบกันกับหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 20,000,000 บาท ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2540 แต่โจทก์ยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการและศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2542 การหักกลบลบหนี้จึงเกิดขึ้นและมีผลโดยสมบูรณ์ไปก่อนที่จะมีการฟื้นฟูกิจการของโจทก์ หนี้ที่มีอยู่แต่ละฝ่ายระงับไปเท่ากับจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ ซึ่งในขณะนั้นมูลหนี้ที่จำเลยนำไปขอหักกลับยังคงมีอยู่และยังมิได้ระงับไป แม้ต่อมาภายหลังจำเลยได้นำหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 20,000,000 บาท ไปยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ขอฟื้นฟูกิจการ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้จำเลยได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน ก็ไม่ทำให้การหักกลบลบหนี้ดังกล่าวระงับหรือสิ้นผลไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ และข้อต่อสู้หนี้ที่นำมาหักกลบลบไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นลูกหนี้ของจำเลยตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหนี้ดังกล่าวต่างก็ถึงกำหนดชำระแล้ว ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์นั้น ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบกันได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์แต่ประการใด
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 344 หมายถึงหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบถึงความรับผิดในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด ซึ่งข้อความในเอกสารหมาย ล.7 หาได้มีข้อความตอนใดที่เป็นการปฏิเสธความรับผิด หรือโต้แย้งจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้มีข้อต่อสู้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ได้
แม้แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มิได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้มีการหักกลบลบหนี้ในหนี้ของเจ้าหนี้ ผู้บริหารแผนชอบที่จะใช้สิทธิแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ระหว่างหนี้ที่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันได้ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในคดีฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ ลูกหนี้คดีนี้โดยผู้บริหารแผนได้นำมูลหนี้ที่ขอหักกลบลบหนี้กับเจ้าหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้และขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในหนี้ดังกล่าวจึงยังมีข้อต่อสู้อยู่ หาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ได้ไม่
แม้เจ้าหนี้เพิ่งหยิบยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง โดยมิได้กล่าวอ้างมาก่อนในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องพิจารณาให้ได้ความจริงถึงสิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ของผู้บริหารแผนว่าอาจจะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนวนคดีและกระบวนการดำเนินการชั้นฟื้นฟูกิจการของทั้งสองฝ่ายแล้ว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้หยิบยกข้อเท็จจริงถึงการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบและศาลชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง: จำเลยมีสิทธิหักเงินที่ต้องคืนให้โจทก์ได้ หากโจทก์ยังไม่ได้อนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษี
การยึดทรัพย์สินเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 ย่อมหมายความรวมถึงการนำเอาเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอากรที่โจทก์ค้างจำเลยได้ด้วย แม้ในระหว่างนั้นโจทก์จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจที่จะหักกลบลบหนี้ได้ เพราะไม่ถือว่าเป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ซึ่งโจทก์จะได้ทุเลาการเสียภาษีอากรต่อเมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิในการทุเลาการเสียภาษีอากรโดยยังไม่ต้องชำระภาษีอากรจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ฉะนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินที่จำเลยต้องคืนไปหักกลบลบหนี้กับภาษีอากรค้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6034/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าฝากทรัพย์กับค่าเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ ต้องแสดงเจตนาและจำนวนที่แน่นอน
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ยังค้างชำระเงินบำเหน็จค่าฝากปลาทูนึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายของโจทก์ได้ แต่ตามคำให้การ จำเลยที่ 1 มิได้แสดงเจตนาที่จะหักกลบลบหนี้แก่โจทก์ และทางนำสืบของจำเลยที่ 1 ก็ปรากฏว่าเงินบำเหน็จค่าฝากทรัพย์ดังกล่าวยังคงมีข้อโต้แย้งและเป็นจำนวนที่ไม่แน่นอน สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จึงไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 342 วรรคหนึ่ง และมาตรา 344

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4844/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหาย จำเลยมีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทในเครือ
การที่จำเลยจัดหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าจากโจทก์ในนามของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัทดังกล่าวมีผลประโยชน์ร่วมกันในการรับฝากสินค้าของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์โดยมีบำเหน็จค่าฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 และมาตรา 659 วรรคสอง และเนื่องจากสินค้าได้สูญหายเพราะถูกคนร้ายลักเอาไป ทำให้การส่งคืนสินค้าแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยซึ่งเกิดจากจำเลยกับพวกไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยต้องรับผิดชอบในการสูญหายของสินค้าต่อโจทก์
เมื่อสินค้าได้สูญหายไปอันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามราคาของสินค้าที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่สินค้านั้นสูญหายไป โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าที่สูญหายมาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย จำเลยย่อมทราบดีเพราะจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปี การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยแต่โจทก์นำสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายอันแท้จริงไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
หนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าที่สูญหายที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนแน่นอนแล้วและโจทก์จะต้องรับผิดชำระหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้นำหนี้ทั้งสองจำนวนมาหักกลบลบกันได้โดยให้มีผลในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้
จำเลยได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าระวางการขนส่งสินค้าแก่จำเลย 2 จำนวนพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และวันที่ 18 เมษายน 2541 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวน เมื่อคิดระยะเวลานับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนจนถึงวันฟ้องแย้งจะเป็นระยะเวลา 8 เดือน 19 วันกับ 7 เดือน 16 วัน แต่จำเลยขอคิดระยะเวลาที่จะนำมาคำนวณดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องเพียง 8 เดือนและ7 เดือน ที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งโดยคิดดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวนแรกนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2541 และในต้นเงินจำนวนที่ 2 นับแต่วันที่ 18 เมษายน 2541 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นการเกินคำขอในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4844/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบของผู้รับขนส่งต่อสินค้าสูญหาย, ค่าเสียหาย, ค่าขาดกำไร, การหักกลบลบหนี้
การที่จำเลยจัดการหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ในนามของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัท อ. มีผลประโยชน์ร่วมกันในการรับฝากสินค้าของโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์ โดยมีบำเหน็จค่าฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657และมาตรา 659วรรคสอง เมื่อจำเลยกับพวกมิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าดังกล่าวต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหาได้ไม่
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4844/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายจากสินค้าสูญหาย, ค่าขาดกำไร, และการหักกลบลบหนี้ค่าระวาง
การที่จำเลยจัดการหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ในนามของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัท อ. มีผลประโยชน์ร่วมกันในการรับฝากสินค้าของโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์โดยมีบำเหน็จค่าฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 657 และมาตรา 659 วรรคสอง เมื่อจำเลยกับพวกมิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าดังกล่าวต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหาได้ไม่
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ไม่อาจนำไปหักกลบหนี้หรือถือเป็นการชำระหนี้ต้นเงินได้
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราตามกฎหมายให้แก่โจทก์ไป เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจำนวนที่ชำระไปแล้วคืน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำไปหักกลบลบหนี้กับต้นเงินกู้ที่จำเลยยังไม่ได้ชำระหรือถือเอาว่าเป็นการชำระหนี้ต้นเงินกู้บางส่วนตามสัญญาแล้วได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วตามสัญญาคำนวณแล้วได้เท่ากับอัตราร้อยละ 36 ต่อปี เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลยแต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามดังนั้น ดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด หาใช่ดอกเบี้ยตามสัญญาซึ่งโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยไม่เมื่อหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าววันที่ 22 ตุลาคม 2541จึงครบกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 29 ตุลาคม 2541 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
of 15