พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6138-6139/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง การเปลี่ยนแปลงงาน การหักกลบลบหนี้ และคำให้การที่ไม่ชัดเจน
ตามคำให้การของจำเลยตอนแรกจำเลยให้การว่าการก่อสร้างเครื่องจักรทั้งสามรายการเป็นงานที่โจทก์ต้องทำให้แก่จำเลยตามที่จ้างกันอยู่แล้วแต่คำให้การตอนต่อมาจำเลยให้การว่าหากจะถือว่าสิ่งก่อสร้างทั้งสามรายการเป็นส่วนอื่นอยู่นอกเหนือสัญญาจ้างเมื่อจำเลยตอบปฏิเสธตามที่โจทก์เสนอราคาค่าก่อสร้างมาก็แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะทำเพราะจำเลยไม่ได้ตกลงด้วยการที่โจทก์ทำไปโดยพลการจึงไม่ชอบที่โจทก์จะมาเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยคำให้การของจำเลยดังกล่าวอ่านแล้วไม่อาจทราบได้ว่าเครื่องจักรทั้งสามรายการที่กล่าวแล้วจำเลยตกลงจ้างให้โจทก์สร้างหรือไม่คำให้การของจำเลยข้อนี้จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง หนี้ตามที่จำเลยอ้างเพื่อนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์เป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่เพราะโจทก์มิได้รับว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยตามที่อ้างด้วยเหตุนี้จึงไม่แน่ว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยจริงหรือไม่และมีจำนวนเท่าใดเมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อ, การสอบสวนทางวินัย, และสิทธิในการได้รับเงินสะสม
การที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่จะต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นเหตุที่สมควรเลิกจ้างหรือไม่ ส่วนกรณีที่จะต้องมีการสอบสวนและการสอบสวนจะต้องปฏิบัติอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะนำมาเป็นหลักในการพิจารณาว่าหากการสอบสวนของจำเลยไม่ถูกต้องตามข้อบังคับแล้วจะถือว่าไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้าง หาได้ไม่ แม้การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง แต่คดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ยังไม่ปรากฏผลของคดี ค่าเสียหายของจำเลยจะเป็นเงินเท่าใดยังไม่ยุติ ค่าเสียหายจึงยังไม่แน่นอนจำเลยจะนำเอาค่าเสียหายมาหักจากเงินสะสมของโจทก์หาได้ไม่ และไม่มีเหตุที่จำเลยจะรอการจ่ายเงินสะสมไว้ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินสะสมให้โจทก์แต่เมื่อศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสะสมคืนจากจำเลยจำนวนเท่าใด ตั้งแต่เมื่อใดดอกเบี้ยของเงินสะสมเป็นจำนวนเท่าใด ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยและพิพากษาใหม่เฉพาะในประเด็นเรื่องเงินสะสม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้ว และการบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายย่อมทำได้
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้โจทก์แล้วจำเลยทั้งสองขอหักกลบลบหนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้เงินฝากไว้กับโจทก์ แต่โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกาโต้แย้งว่าหนี้นั้นมีข้อต่อสู้อยู่หลายประการข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้โจทก์อยู่ตามที่อ้าง จะนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ และเมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ฟ้องร้องโจทก์ในมูลหนี้ที่อ้างเพื่อจะนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะขอให้งดการบังคับคดีไว้ ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะเห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องดังกล่าว ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ขอให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้ และไม่ปรากฏว่ามีการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายจำเลยที่ 2 จะมาโต้เถียงว่าการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดโดยชอบแล้วเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายหาได้ไม่จึงไม่มีเหตุที่จะถอนการบังคับคดีให้แก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, อายุความ, สัญญาค้ำประกัน, และขอบเขตอำนาจฟ้องแย้ง
ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกเงินค่าสุราสำรอง โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ค่าส่วนแบ่งกำไรสุทธิและได้ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ไปแล้วประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยให้การว่าชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้วประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้โจทก์ครบถ้วนหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี
การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้
จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี
การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้
จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, อายุความ, สัญญาค้ำประกัน, และอำนาจฟ้องแย้งในคดีแพ่ง
ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกเงินค่าสุราสำรอง โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ค่าส่วนแบ่งกำไรสุทธิและได้ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ไปแล้วประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยให้การว่าชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้วประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้โจทก์ครบถ้วนหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้ สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาเครื่องสังคโลกและสิทธิหักกลบลบหนี้: ศาลยืนราคาตามสัญญา และมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องหักกลบลบหนี้ได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเครื่องสังคโลก ได้ หรือไม่ เพียงใด เมื่อจำเลยนำสืบโต้แย้งตามคำให้การว่าจำเลยมีสิทธิยึดเงินที่จะต้องชำระแก่โจทก์ไว้ก่อนจนกว่าโจทก์จะชำระเงินค่าพระพุทธรูปและรูปปั้นยักษ์ สังคโลกจำนวน 300,000 บาท ที่ค้างจำเลยเสียก่อนซึ่งเป็นลักษณะที่จะหักกลบลบหนี้ ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยจะมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้หรือไม่ ไม่เป็นการนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยการหักกลบลบหนี้เมื่อจำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดี
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเครื่องสังคโลกได้หรือไม่ เพียงใด เมื่อจำเลยนำสืบโต้แย้งตามคำให้การว่าจำเลยมีสิทธิยึดเงินที่จะต้องชำระแก่โจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะชำระเงินค่าพระพุทธรูปและรูปปั้นยักษ์สังคโลกจำนวน 300,000 บาท ที่ค้างจำเลยเสียก่อน ซึ่งเป็นลักษณะที่จะหักกลบลบหนี้ ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยจะมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้หรือไม่ ไม่เป็นการนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องพิจารณาว่าฝ่ายที่อ้างสิทธิเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ หากยังมีข้อโต้แย้งสิทธิหักกลบลบหนี้ยังไม่มีผล
แม้หนี้ตามสัญญาซื้อขายฉบับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดกับหนี้ตามสัญญาซื้อขายฉบับที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยจะมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการชำระเงินเหมือนกัน แต่โจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ดังนี้ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะกันเงินไว้เพื่อนำไปหักกับหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่มีข้อโต้แย้งไม่สามารถหักกลบลบหนี้กันได้ แม้มีวัตถุแห่งหนี้เดียวกัน
แม้หนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายกับหนี้ค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระให้จำเลยอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายในคราวก่อนจะมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการชำระเงินเหมือนกัน แต่เมื่อโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วเช่นนี้ จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากการทุจริตของพนักงานอื่น และการหักกลบลบหนี้จากค่าจ้าง
โจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแล การปฏิบัติงานของพนักงานเงินพนักงานบัญชี ในการปิดบัญชีแต่ละวัน โจทก์มีหน้าที่ตรวจ นับเงินสดตรา ไปรษณียากร อากรแสตมป์ ตั๋วแลกเงินและวิมัยบัตร ให้ตรงกับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินสดแต่ในช่วงวันที่ 4 กรกฎาคม 2529ถึง วันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 โจทก์ตรวจ เฉพาะ บัญชีเงินสด ไม่ได้ตรวจ ตราไปรษณียากรคงเหลือแต่ละวัน ทะเบียนคุมเงินตราไปรษณียากรสมุด แรกรับตราไปรษณียากรและวิมัยบัตร เป็นเหตุให้ ส.พนักงานเงินทุจริตไปรษณียากรกับเงินฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุ ไปรษณีย์รายเดือน นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์จึงต้อง รับผิดต่อ จำเลยโดยตรงฐาน ผิดสัญญาจ้างแรงงานและฐาน กระทำ ละเมิดต่อ จำเลยโดย ร่วมรับผิดกับ ส. และ อ. พนักงานบัญชีอย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากอายุเกิน 60ปีบริบูรณ์ ขอให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินโบนัสจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ละเลยไม่ ปฏิบัติตาม ระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินของจำเลยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงขอใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลย เมื่อหักแล้วโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกจำนวนหนึ่งจำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในจำนวนเงินดังกล่าว ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์กระทำผิดสัญญาจ้างและกระทำละเมิดต่อ จำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งจำเลยได้ บรรยายฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างไร จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อที่ว่าโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับอย่างไรฉบับที่เท่าใด เป็นเรื่องที่จำเลยจะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลย และในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยด้วย หนี้ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยเรียกจากโจทก์จึงยังมีข้อต่อสู้ ดังนั้นจำเลยจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม จำเลยก็ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติว่าการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้ ส. พนักงานเงินทุจริต นำเงินของจำเลยไปใช้ เป็นประโยชน์ส่วนตัวจำนวน 397,090.50 บาท และโจทก์ต้อง ร่วมรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลย แม้ในฟ้องแย้งของจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์ใช้ เงินเพียง 36,130.15 บาท ก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าสามารถนำสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดดังกล่าวมาหักกับสิทธิเรียกร้องในเงินตามฟ้องของโจทก์ได้ จึงต้อง ถือว่าจำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนทั้งหมดเมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องเป็นเงินรวม 375,257.14 บาท กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 360,960.35 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ในขณะเดียวกันโจทก์ต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยเป็นเงิน 397,090.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับตาม คำพิพากษาจึงเห็นสมควรให้หักหนี้กันเสียโดย ให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ปรากฏว่าเมื่อหักหนี้แล้วโจทก์ต้อง ชำระเงินให้จำเลยอีก 21,833.36 บาทพร้อมดอกเบี้ย ดังกล่าวแต่ เนื่องจากจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ จึงให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตาม คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.