คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 344

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากการทุจริตของพนักงานอื่น และการหักกลบลบหนี้จากค่าจ้าง
โจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแล การปฏิบัติงานของพนักงานเงินพนักงานบัญชี ในการปิดบัญชีแต่ละวัน โจทก์มีหน้าที่ตรวจ นับเงินสดตรา ไปรษณียากร อากรแสตมป์ ตั๋วแลกเงินและวิมัยบัตร ให้ตรงกับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินสดแต่ในช่วงวันที่ 4 กรกฎาคม 2529ถึง วันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 โจทก์ตรวจ เฉพาะ บัญชีเงินสด ไม่ได้ตรวจ ตราไปรษณียากรคงเหลือแต่ละวัน ทะเบียนคุมเงินตราไปรษณียากรสมุด แรกรับตราไปรษณียากรและวิมัยบัตร เป็นเหตุให้ ส.พนักงานเงินทุจริตไปรษณียากรกับเงินฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุ ไปรษณีย์รายเดือน นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์จึงต้อง รับผิดต่อ จำเลยโดยตรงฐาน ผิดสัญญาจ้างแรงงานและฐาน กระทำ ละเมิดต่อ จำเลยโดย ร่วมรับผิดกับ ส. และ อ. พนักงานบัญชีอย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากอายุเกิน 60ปีบริบูรณ์ ขอให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินโบนัสจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ละเลยไม่ ปฏิบัติตาม ระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินของจำเลยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงขอใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลย เมื่อหักแล้วโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกจำนวนหนึ่งจำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในจำนวนเงินดังกล่าว ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์กระทำผิดสัญญาจ้างและกระทำละเมิดต่อ จำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งจำเลยได้ บรรยายฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างไร จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อที่ว่าโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับอย่างไรฉบับที่เท่าใด เป็นเรื่องที่จำเลยจะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลย และในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยด้วย หนี้ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยเรียกจากโจทก์จึงยังมีข้อต่อสู้ ดังนั้นจำเลยจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม จำเลยก็ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติว่าการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้ ส. พนักงานเงินทุจริต นำเงินของจำเลยไปใช้ เป็นประโยชน์ส่วนตัวจำนวน 397,090.50 บาท และโจทก์ต้อง ร่วมรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลย แม้ในฟ้องแย้งของจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์ใช้ เงินเพียง 36,130.15 บาท ก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าสามารถนำสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดดังกล่าวมาหักกับสิทธิเรียกร้องในเงินตามฟ้องของโจทก์ได้ จึงต้อง ถือว่าจำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนทั้งหมดเมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องเป็นเงินรวม 375,257.14 บาท กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 360,960.35 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ในขณะเดียวกันโจทก์ต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยเป็นเงิน 397,090.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับตาม คำพิพากษาจึงเห็นสมควรให้หักหนี้กันเสียโดย ให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ปรากฏว่าเมื่อหักหนี้แล้วโจทก์ต้อง ชำระเงินให้จำเลยอีก 21,833.36 บาทพร้อมดอกเบี้ย ดังกล่าวแต่ เนื่องจากจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ จึงให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตาม คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากทุจริตของพนักงานอื่น และการหักกลบลบหนี้ในคดีแรงงาน
ในการปิดบัญชีเงินสดของแต่ละวัน โจทก์ตรวจแต่บัญชีเงินสดมิได้ตรวจตราไปรษณียากรคงเหลือ ทะเบียน กับสมุดแรกรับตราไปรษณียากรและวิมัยบัตรตามหน้าที่ เป็นเหตุให้พนักงานเงินทุจริตนำไปรษณียากรและเงินฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์รายเดือนไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างโดยตรงฐานผิดสัญญาจ้างและฐานกระทำละเมิดต่อจำเลยในฐานลูกหนี้ร่วมกับพนักงานเงิน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเกษียณอายุ โดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินโบนัสแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินของจำเลยทุจริตทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลย ซึ่งเมื่อหักแล้วโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกจำนวนหนึ่ง จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในจำนวนเงินดังกล่าว เช่นนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์กระทำผิดสัญญาจ้างและกระทำละเมิดต่อจำเลย จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแล้ว ทั้งจำเลยได้บรรยายฟ้องแย้งว่า โจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างไร จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อที่ว่าโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างไรฉบับที่เท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติว่า การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยเป็นเหตุให้พนักงานเงินทุจริตนำเงินของจำเลยไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวจำนวน 397,090.50 บาท และโจทก์ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนให้แก่จำเลยด้วย แม้ในฟ้องแย้งจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์ใช้เพียง 36,130.15 บาทก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าสามารถนำสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดมาหักกับสิทธิเรียกร้องในเงินตามฟ้องของโจทก์ได้ จึงต้องถือว่าจำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนทั้งหมดอยู่เช่นเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องรวม 375,257.14 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยเพื่อความสะดวกในการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงให้หักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โจทก์จึงต้องชำระเงินให้จำเลยอีก21,833.36 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่เนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องแย้งตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3868/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นผิดนัด: การคืนของหมั้น สินสอด ค่าทดแทนความเสียหาย และการพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น ชายจะเรียกของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ ทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายที่ได้ใช้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิง หลังจากแต่งงานกันแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้ หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3868/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหมั้น, การคืนของหมั้นสินสอด, ค่าใช้จ่ายเตรียมสมรส, หักกลบลบหนี้, ความเสียหายจากสัญญา
ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น ชายจะเรียกร้องของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายที่ได้ใช้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส
เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัย ไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิงหลังจากแต่งงานแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย
หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่ จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้
หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า หญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จเพื่อชำระหนี้ของลูกจ้างต้องเป็นหนี้ที่ลูกจ้างไม่โต้แย้งและมีจำนวนแน่นอน
หนี้ที่ลูกจ้างมีข้อผูกพันจะต้องชำระให้นายจ้างตามข้อบังคับของนายจ้างจะต้องเป็นหนี้ที่ลูกจ้างมิได้โต้แย้งและจำนวนหนี้ต้องกำหนดไว้แน่นอน นายจ้างจึงจะมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ลูกจ้างปฏิเสธและเป็นหนี้ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาล เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกจ้างมีข้อผูกพันต้องชดใช้ให้นายจ้าง นายจ้างยังไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินที่ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีการฝากเงินไว้กับผู้ให้กู้ ผู้กู้ต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยต้องการตั๋วสัญญาใช้เงินมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์จึงได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โจทก์ได้ออกเช็คตามจำนวนเงินที่กู้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมิได้นำเช็คไปรับเงินจากธนาคาร แต่สลักหลังให้โจทก์เพื่อฝากเงินไว้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์ดังนี้ การที่จำเลยกู้เงินจากโจทก์แล้วฝากเงินไว้แก่โจทก์ แม้จะมีผลทำให้จำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้โจทก์ในขณะเดียวกันก็เป็นความสมัครใจของจำเลยเองวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายเพื่อเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อสัญญากู้ที่จำเลยทำขึ้นกับโจทก์เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยตั้งใจจะให้มีผลผูกพัน มิได้มีการอำพรางนิติกรรมอื่นใดจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ จะอ้างว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมกู้ยืมเงินและการสลักหลังเช็ค/ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อประกันการเล่นหุ้น ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง
จำเลยต้องการตั๋วสัญญาใช้เงินมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์จึงได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โจทก์ได้ออกเช็คตามจำนวนเงินที่กู้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมิได้นำเช็คไปรับเงินจากธนาคาร แต่สลักหลังให้โจทก์เพื่อฝากเงินไว้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์ดังนี้ การที่จำเลยกู้เงินจากโจทก์แล้วฝากเงินไว้แก่โจทก์ แม้จะมีผลทำให้จำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้โจทก์ในขณะเดียวกันก็เป็นความสมัครใจของจำเลยเองวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายเพื่อเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนเมื่อสัญญากู้ที่จำเลยทำขึ้นกับโจทก์เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยตั้งใจจะให้มีผลผูกพันมิได้มีการอำพรางนิติกรรมอื่นใดจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ จะอ้างว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่เป็นหนี้ที่มีข้อพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างขนส่งแร่ดีบุกจากจำเลยเป็นคดีนี้ส่วนจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เครื่องแยกแร่ตกจากรถของโจทก์ที่รับขนส่ง คดีอยู่ระหว่างพิจารณา และคดีดังกล่าวโจทก์ให้การปฏิเสธความรับผิดอ้างเหตุสุดวิสัย เมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยจึงไม่มีสิทธินำมาขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนเงินที่เบิกจ่ายเกินสิทธิและหักกลบลบหนี้ได้หรือไม่ในคดีแรงงาน
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารออมสิน จำเลยได้เบิกเงินค่าเล่าเรียนจากจำเลยไปโดยไม่มีสิทธิ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกคืนได้ตามระเบียบวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุต รและการยืมเงินทดรองสิทธิเรียกร้องเงินของจำเลยที่จ่ายให้โจทก์ไปโดยไม่ถูกต้องดังกล่าวคืนนั้น ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 344 จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนโจทก์เพื่อชดใช้เงินซึ่งโจทก์เบิกไปโดยมิชอบได้ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนเงินช่วยเหลือการศึกษาที่ไม่ถูกต้อง และการหักเงินเดือนชดใช้ ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารออมสิน จำเลยได้เบิกเงินค่าเล่าเรียนจากจำเลยไปโดยไม่มีสิทธิ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกคืนได้ตามระเบียบวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรและการยืมเงินทดรองสิทธิเรียกร้องเงินของจำเลยที่จ่ายให้โจทก์ไปโดยไม่ถูกต้องดังกล่าวคืนนั้นไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344 จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนโจทก์เพื่อชดใช้เงินซึ่งโจทก์เบิกไปโดยมิชอบได้ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
of 15