คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 26

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ การใช้กฎหมายก่อนและหลัง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฎิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน2528 อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้แล้วก่อนที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฎิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว และเมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นขณะที่ ป.พ.พ.มาตรา 168 (เดิม) ใช้บังคับ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงต้องบังคับตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ภายในกำหนด 10 ปี
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้องของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา24 ซึ่งมาตรา 227 มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: บทเฉพาะกาล พ.ร.บ.อนุญาโตฯ 2530 ไม่กระทบสิทธิเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และเมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 168(เดิม) ใช้บังคับ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงต้องบังคับตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ภายในกำหนด 10 ปี ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้อง ของ จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ซึ่งมาตรา 227 มิใช่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี และผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลัง จะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267วรรคสอง ที่บัญญัติว่า คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย: การสุจริตของบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่า ตามคำฟ้องและคำให้การข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยาน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ที่ดินและตึกพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์บิดาโจทก์ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่จำเลยเป็นเลขานุการและเป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์ และมีผู้ปลอมลายมือชื่อของมารดาโจทก์ลงในหนังสือให้ความยินยอม นิติกรรมการซื้อขายจึงไม่สมบูรณ์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าได้รับโอนมาไม่สุจริต ที่บรรยายว่าจำเลยเป็นเลขานุการและภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์นั้น หาใช่ว่าจำเลยจะได้กระทำโดยไม่สุจริตไม่ และที่บรรยายว่าลายมือชื่อของมารดาโจทก์ปลอมนั้นก็มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือร่วมรู้เห็นในการปลอมด้วย ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินและตึกพิพาทมาโดยสุจริต ตามคำฟ้องและคำให้การจึงฟังเป็นยุติได้แล้วว่าขณะที่ทำนิติกรรมการซื้อขายนั้นจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย: สุจริตของผู้ซื้อเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่า ตามคำฟ้องและคำให้การข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยาน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้ โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ที่ดินและตึกพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่จำเลยเป็นเลขานุการและเป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์ และมีผู้ปลอมลายมือชื่อของมารดาโจทก์ลงในหนังสือให้ความยินยอม นิติกรรมการซื้อขายจึงไม่สมบูรณ์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าได้รับโอนมาไม่สุจริต ที่บรรยายว่าจำเลยเป็นเลขานุการและภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์นั้น หาใช่ว่าจำเลยจะได้กระทำโดยไม่สุจริตไม่ และที่บรรยายว่าลายมือชื่อของมารดาโจทก์ปลอมนั้นก็มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือร่วมรู้เห็นในการปลอมด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินและตึกพิพาทมาโดยสุจริต ตามคำฟ้องและคำให้การจึงฟังเป็นยุติได้แล้วว่า ขณะที่ทำนิติกรรมการซื้อขายนั้นจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานชอบธรรม หากโจทก์ไม่โต้แย้งทันทีหลังศาลมีคำสั่ง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนี้ไว้ทั้งที่มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การพิจารณาคดีไม่ชอบ, อายุความสัญญาจ้าง, คำให้การแก้ฟ้องแย้ง
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่
ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2532ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลย จำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้ง แต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาท นับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงาน, อายุความสัญญาจ้าง, การฟ้องแย้ง, สิทธิในการนำสืบ, ความรับผิดจากละเลยหน้าที่
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 และมาตรา 31แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่ ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3ตุลาคม 2532 ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลยจำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้งแต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81 บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาทนับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ขัดแย้งกัน ถือเป็นคำให้การที่ไม่ชัดเจน ไม่เป็นประเด็นพิจารณา ศาลงดสืบพยานได้
คำสั่งของศาลที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
หลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานและมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วจำเลยยื่นคำร้องว่า ตามที่ศาลได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีนั้น จำเลยเห็นว่าคำให้การของจำเลยชัดเจนแล้ว จึงขอให้ศาลกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานแล้ว จำเลยชอบที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทของ ย. ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเกินบัญชี สัญญาเพิ่มวงเงินและสัญญากู้ที่ ย.กู้ยืมไปจากโจทก์จำเลยให้การว่า ย. ไม่ได้เป็นลูกหนี้ ไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเกินบัญชี สัญญาเพิ่มวงเงินและสัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของ ย.หรือหากย. จะลงชื่อไว้ก็โดยบุคคลอื่นหลอกลวงให้ลงชื่อ ดังนี้ เป็นคำให้การที่ขัดกัน จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ และไม่เป็นประเด็นในคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ขัดแย้งกัน ถือเป็นคำให้การไม่ชัดเจน ไม่เป็นประเด็นฟ้อง, คำสั่งงดสืบพยานชอบแล้ว
คำสั่งของศาลที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
หลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานและมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วจำเลยยื่นคำร้องว่า ตามที่ศาลได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีนั้น จำเลยเห็นว่าคำให้การของจำเลยชัดเจนแล้ว จึงขอให้ศาลกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานแล้ว จำเลยชอบที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทของ ย. ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเกินบัญชี สัญญาเพิ่มวงเงินและสัญญากู้ที่ ย.กู้ยืมไปจากโจทก์จำเลยให้การว่า ย. ไม่ได้เป็นลูกหนี้ ไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเกินบัญชี สัญญาเพิ่มวงเงินและสัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของ ย. หรือหาก ย. จะลงชื่อไว้ก็โดยบุคคลอื่นหลอกลวงให้ลงชื่อ ดังนี้ เป็นคำให้การที่ขัดกัน จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ และไม่เป็นประเด็นในคดี.
of 4