คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 197

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่น – การขอพิจารณาใหม่
ในกรณีร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายส่งมอบที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าข้อตกลง ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
ในกรณีร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายส่งมอบที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าข้อตกลง ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่ เมื่อจำเลยอยู่ต่างประเทศขณะฟ้องคดี
จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 และกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2515 โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความจากจำเลย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2514 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด รายงานของเจ้าพนักงานเดินหมายระบุว่าได้ส่งคำบังคับให้จำเลยรับ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2519 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2519 จึงไม่เกินกำหนดตามกฎหมาย จำเลยมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณาคดี การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้จงใจขาดนัด
จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 และกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2515 โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความจากจำเลย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2514 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด รายงานของเจ้าพนักงานเดินหมายระบุว่าได้ส่งคำบังคับให้จำเลยรับ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2519 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2519 จึงไม่เกินกำหนดตามกฎหมาย จำเลยมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้โจทก์เป็นหน่วยงานรัฐ
โจทก์เป็นส่วนราชการของรัฐบาลฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ เมื่อตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 17 (ก) กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ต้องเสียค่าอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ หาใช่ฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาลอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามความหมายในมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากรไม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งผิดสัญญาได้รับทุนจากระทรวงกลาโหมโจทก์ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดสัญญา เมื่อสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
แม้จำเลยที่ 2 จะขาดนัด โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบสัญญาค้ำประกันจริง เมื่อเอกสารสัญญาค้ำประกันใช้เป็นหลักฐานในคดีมิได้คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำที่ 2 รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้โจทก์เป็นหน่วยงานรัฐ
โจทก์เป็นส่วนราชการของรัฐบาลฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ เมื่อตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 17(ก) กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ต้องเสียค่าอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ หาใช่ฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาลอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามความหมายในมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากรไม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งผิดสัญญาได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมโจทก์ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา เมื่อสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
แม้จำเลยที่ 2 จะขาดนัด โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจริงเมื่อเอกสารสัญญาค้ำประกันใช้เป็นหลักฐานในคดีมิได้คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดสืบพยาน: การนัดสืบพยานครั้งแรกไม่ใช่ขาดนัด แม้จะไม่ได้มาในนัดต่อๆไป
คำฟ้องให้ใช้เงินกู้ บรรยายว่ามายืมเงินและไม่ได้ชำระเลยความจริงทำสัญญาที่บ้านจำเลยและใช้เงินบ้างแล้วเป็นรายละเอียดที่ไม่ต้องกล่าวในฟ้อง
ขาดนัดในวันสืบพยานหมายความถึงวันสืบพยานนัดแรก จำเลยมาศาลในวันนั้นจึงไม่ขาดนัด จำเลยไม่มาในวันต่อไปที่นัดสืบพยานจำเลยไม่ใช่ขาดนัด มาขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การล่าช้าเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันรับหมาย และการไต่สวนคำร้องเพื่อแก้ไขความผิดพลาด
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีในวันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2518 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ครบกำหนดยื่นคำให้การวันที่ 31 ตุลาคม 2518 จำเลยยื่นคำให้การเลยกำหนดจึงไม่รับคำให้การ และสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ นัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดเพราะจำเลยป่วยเป็นไข้ และจำวันรับหมายผิด จึงบอกวันรับหมายกับทนายผิดไป ทนายจึงยื่นคำให้การล่วงเลยกำหนดไป 1 วัน ศาลชั้นต้นสั่งว่าการบอกวันรับหมายผิดไม่ใช่ข้อแก้ตัวให้ยกคำร้อง จำเลยโต้แย้งคำสั่งไว้แล้ว ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์ ไปตามนัด แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อปรากฏตามใบรับหมายเรียกท้ายรายงานเจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายว่า จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่ 25 ตุลาคม 2518 ซึ่งถ้าเป็นความจริง คำให้การที่จำเลยยื่นไว้ก็เป็นการยื่นในกำหนดเวลาตามกฎหมายและคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยก็อ้างเหตุเจ็บป่วย จึงมีเหตุสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและสั่งคำร้องของจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การล่าช้าเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันรับหมาย และการไต่สวนคำร้องยื่นคำให้การ
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีในวันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2518ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ครบกำหนดยื่นคำให้การวันที่ 31 ตุลาคม 2518 จำเลยยื่นคำให้การเลยกำหนดจึงไม่รับคำให้การ และสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดเพราะจำเลยป่วยเป็นไข้ และจำวันรับหมายผิดจึงบอกวันรับหมายกับทนายผิดไป ทนายจึงยื่นคำให้การล่วงเลยกำหนดไป 1 วัน ศาลชั้นต้นสั่งว่าการบอกวันรับหมายผิดไม่ใช่ข้อแก้ตัวให้ยกคำร้อง จำเลยโต้แย้งคำสั่งไว้แล้ว ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์ไปตามนัด แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อปรากฏตามใบรับหมายเรียกท้ายรายงานเจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่ 25 ตุลาคม2518 ซึ่งถ้าเป็นความจริง คำให้การที่จำเลยยื่นไว้ก็เป็นการยื่นในกำหนดเวลาตามกฎหมายและคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยก็อ้างเหตุเจ็บป่วยจึงมีเหตุสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและสั่งคำร้องของจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899-2900/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบในคดีที่จำเลยขาดนัด และการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน
คดีสองสำนวนศาลพิจารณาพิพากษารวมกัน สำนวนหลังจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบอยู่แล้ว ที่ศาลสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทั้งสองสำนวนนั้นเป็นการชอบแล้ว
of 24