คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 197

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายความไม่ไปศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่า น. เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น. ทราบวันนัดของศาลแล้วไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาล แม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายจำเลยขาดนัดพิจารณาคดีจำเลยขาดนัดตามไปด้วย แม้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น.เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่า น.เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น.ทราบวันนัดของศาลแล้วไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาลแม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายความไม่ไปศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่าน. เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น. ทราบวันนัดของศาลแล้ว ไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้องต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไปตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาล แม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลไม่รับฟังเหตุพิจารณาใหม่ แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบเรื่องฟ้องเนื่องจากบวช
ขณะเจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายเรียกและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองครั้ง จำเลยได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่วัด ซึ่งห่างจากบ้านจำเลยเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางไปมาสะดวก ที่บ้านจำเลยมีภริยาบุตรสาวและบุตรเขยของจำเลยอาศัยอยู่ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักไปทำบุญที่วัดดังกล่าวเป็นประจำ ทั้งในการส่งหมายให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งเจ้าหน้าที่พบภริยาจำเลยอยู่ที่บ้าน แต่ภริยาจำเลยไม่ยอมรับหมายแทน จึงได้ปิดหมายไว้ตามคำสั่งศาล แสดงว่าภริยาจำเลยทราบเรื่องการส่งหมายทั้งสองครั้งแล้ว ซึ่งตามปกติวิสัยเรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ ภริยาจำเลยหรือบุคคลอื่นในบ้านย่อมต้องรีบแจ้งให้จำเลยทราบเรื่อง ดังนั้น การที่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การในกำหนด และไม่ได้ไปศาลตามวันเวลาที่นัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ย่อมถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและจงใจขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีเหตุให้พิจารณาใหม่และรับคำให้การของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ, ความรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียม
แม้อาคารสินธร ชั้นที่ 8 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทจำเลยเป็นที่ตั้งของบริษัทอื่นด้วย ใช้ประตูเข้าเดียวกัน เข้าประตูไปแล้วจะมีเคาน์เตอร์ตั้งอยู่ หากมีการส่งเอกสารมาถึงจำเลยและบริษัทอื่น พนักงานที่เคาน์เตอร์จะรับไว้แล้วนำไปให้บริษัทที่เกี่ยวข้องก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมาย ณ ห้องเลขที่ 130 ถึง 132 ชั้นที่ 8 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว การที่พนักงานเคาน์เตอร์ไม่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยเป็นเรื่องการจัดการภายในของจำเลยเอง จำเลยจะยกเป็นข้ออ้างว่าไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การหาได้ไม่ ถือว่าจำเลยจงใจไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทจึงคงมีตามประเด็นตามคำฟ้อง จำเลยไม่มีสิทธิอ้างข้อเท็จจริงเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่ มีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์เพื่อหักล้างพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้น ฎีกาของจำเลยเมื่อไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เบี้ยปรับที่ศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดความรับผิดเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา การที่ศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ปิดแสตมป์ ไม่เป็นหลักฐานทางแพ่ง, รื้อฟ้องคดีซ้ำต้องห้าม
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่ สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาดโจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 118 กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิด ตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ยกฟ้องโจทก์เสียได้ เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับ ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน แก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อน มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับใน คดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ และการฟ้องซ้ำประเด็นที่ตัดสินแล้วในคดีอาญา
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 9
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมาย ณ สำนักงานใหญ่ของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย แม้เอกสารจะล่าช้าในการส่งต่อภายใน
ในคดีแรงงานเมื่อพนักงานเดินหมายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลแรงงาน ณ ภูมิลำเนาของจำเลยคือสำนักงานใหญ่อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยแล้ว การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 ส่วนการที่พนักงานจำเลยซึ่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้เก็บรวบรวมสำเนาคำฟ้องไว้กับเอกสารอื่นซึ่งมีจำนวนมากกว่าจะมีการแยกแยะ เพื่อส่งไปยังผู้บริหารซึ่งไปประจำอยู่ ณ สำนักงานโครงการ อันเป็นสำนักงานชั่วคราวเกิดความล่าช้ารวมทั้งระยะเวลาในการส่งไปยังผู้บริหารดังกล่าวก็ล่วงเลยกำหนดนัดของศาล โดยจำเลยไม่มีเจตนาจะไม่ยื่นคำให้การ และไม่ไปศาลตามนัดนั้น เป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในที่จำเลยจะต้องกำชับดูแลพนักงานจำเลยให้ปฏิบัติงานให้ทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การที่พนักงานจำเลยตรวจสอบแยกแยะเอกสารล่าช้าและส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ผู้บริหารของจำเลยล่วงเลยเวลาซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อความในหมายเรียกเมื่อเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง จึงมิใช่เหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะยกมาอ้างต่อศาลในการไม่ไปศาลตามนัด ในหมายเรียก การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มี เหตุอันสมควร เป็นการขาดนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและการขาดนัดคดี การบริหารจัดการภายในของจำเลยมิอาจเป็นเหตุอ้างได้
ในคดีแรงงานเมื่อพนักงานเดินหมายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลแรงงานณ ภูมิลำเนาของจำเลยคือสำนักงานใหญ่อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยแล้วการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 ส่วนการที่พนักงานจำเลยซึ่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้เก็บรวบรวมสำเนาคำฟ้องไว้กับเอกสารอื่นซึ่งมีจำนวนมากกว่าจะมีการแยกแยะ เพื่อส่งไปยังผู้บริหารซึ่งไปประจำอยู่ ณ สำนักงานโครงการ อันเป็นสำนักงานชั่วคราวเกิดความล่าช้ารวมทั้งระยะเวลาในการส่งไปยังผู้บริหารดังกล่าวก็ล่วงเลยกำหนดนัดของศาลโดยจำเลยไม่มีเจตนาจะไม่ยื่นคำให้การ และไม่ไปศาลตามนัดนั้น เป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในที่จำเลยจะต้องกำชับดูแลพนักงานจำเลยให้ปฏิบัติงานให้ทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การที่พนักงานจำเลยตรวจสอบแยกแยะเอกสารล่าช้าและส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ผู้บริหารของจำเลยล่วงเลยเวลาซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อความในหมายเรียก เมื่อเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง จึงมิใช่เหตุอันสมควรที่จำเลยจะยกมาอ้างต่อศาลในการไม่ไปศาลตามนัดในหมายเรียก การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการขาดนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีหลังรับทราบวันนัด: ผลคือจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
ศาลชั้นต้นกำหนดนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตให้เลี่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 3 พฤศจิกายน2538 เวลา 13.30 นาฬิกา เมื่อถึงกำหนดทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 มกราคม2539 เวลา 9 นาฬิกา ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์และทนายจำเลยลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาจึงเป็นการสั่งตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 197วรรคสอง และเมื่อฝ่ายจำเลยมิได้แจ้งต่อศาลว่าตนต้องการจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้
ตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคแรก ที่บัญญัติว่าถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว โจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ฯลฯ นั้น มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นกรณีที่มีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบจริง ๆ เท่านั้นแต่หมายความรวมถึงกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วด้วย เช่น กรณีที่ศาลอนุญาตให้เลื่อนวันนัดสืบพยานออกไป และโจทก์ได้ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้แล้ว จึงไม่ต้องมีการส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยเสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ลงชื่อรับทราบวันนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา แล้วโจทก์ไม่มาศาล โจทก์จึงขาดนัดพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความ จึงเป็นการสั่งตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 201วรรคแรก และบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวยังห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ว่าจงใจขาดนัดหรือไม่อีก เพราะการไต่สวนไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
of 24