พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10840/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การขาดนัดยื่นคำให้การ และการใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 เป็นหลัก ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความฉบับอื่น ๆ ที่ใช้กับคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไปจะนำมาใช้ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวบัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะ ทั้งการนำมาใช้ก็เป็นการใช้โดยอนุโลมอีกด้วย เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาในกรณีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 11 กำหนดไว้ว่า ในคดีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ โดยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่สำหรับคดีนี้ เนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296-297/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเหมาค่าก่อสร้าง, ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ค้ำประกัน, ค่าเสียหาย, การแก้ไขคำพิพากษา
ว. กรรมการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 เคยมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ระงับการชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนโดยระบุว่าคดีได้ขึ้นสู่ศาลแล้วซึ่งเป็นหนังสือลงวันที่ 2 เมษายน 2546 ดังนั้น ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ว่าเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2546 จึงรับฟังไม่ได้ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าถูกโจทก์ฟ้อง อย่างช้าที่สุดก็ในวันที่ 2 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่ ว. ทำหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยังมีเวลาอีกหลายวันพอแก่การจัดทำคำให้การเพื่อยื่นต่อศาลได้ เนื่องจากวันที่ 12 เมษายน 2546 ซึ่งครบกำหนดยื่นคำให้การเป็นวันเสาร์ ต่อจากนั้นเป็นวันหยุดตรุษสงกรานต์ซึ่งศาลหยุดทำการ แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้จัดทำคำให้การมายื่นต่อศาลในวันแรกที่ศาลเปิดทำการไม่ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดยื่นคำให้การไปแล้วหลายวัน จำเลยที่ 1 จึงได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างเหตุซึ่งไม่เป็นความจริง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 1 มิได้สนใจเกี่ยวกับการที่ถูกโจทก์ฟ้องและไม่เอาใจใส่ที่จะดำเนินการต่อสู้คดี ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่จงใจหรือมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่เพราะข้อความในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวมิได้ระบุไว้เช่นนั้นโดยชัดแจ้ง การที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่เพราะข้อความในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวมิได้ระบุไว้เช่นนั้นโดยชัดแจ้ง การที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15018/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาในคดีมโนสาเร่: ศาลพิจารณาชี้ขาดได้โดยไม่ต้องมีคำขอ
ป.วิ.พ. 193 วรรคสี่ (เดิม) และมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขาดนัดยื่นคำให้การสำหรับคดีมโนสาเร่ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น การที่จะถือว่าจำเลยในคดีมโนสาเร่ขาดนัดยื่นคำให้การก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จะนำหลักเกณฑ์การขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 และมาตรา 198 ที่ใช้สำหรับคดีแพ่งสามัญมาใช้บังคับแก่คดีมโนสาเร่ไม่ได้ เมื่อคดีนี้เป็นคดีมโนสาเร่และจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์จึงมิต้องยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง แต่อย่างใด
การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาจึงเป็นการขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาซึ่งบทบัญญัติในคดีมโนสาเร่ได้กำหนดเป็นการเฉพาะให้กรณีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ และเมื่อศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานและพิพากษาคดีจนเสร็จสิ้น กรณีจึงไม่จำต้องให้โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง อีก
การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาจึงเป็นการขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาซึ่งบทบัญญัติในคดีมโนสาเร่ได้กำหนดเป็นการเฉพาะให้กรณีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ และเมื่อศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานและพิพากษาคดีจนเสร็จสิ้น กรณีจึงไม่จำต้องให้โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ และสิทธิในการขอให้ศาลมีคำพิพากษาโดยขาดนัด
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้โจทก์แก้คดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับหมาย ณ บ้านของโจทก์โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยชอบแล้ว โจทก์ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าวถือว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 และผู้ร้องต้องมีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้โจทก์ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด โดยนับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2544 ครบกำหนดสิบห้าวันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้าหนี้เรียกร้องจากทายาทหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้ถึงการเสียชีวิต
นอกจากโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นการสบคบกันฉ้อฉลเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง โจทก์ยังฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ ส. เจ้ามรดกได้ทำไว้กับโจทก์ด้วย จึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ฟ้องร้องคดีนี้หลังจากได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9101/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การยื่นคำให้การเพิ่มเติมตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้วก็ต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายในสิบห้าวัน มิฉะนั้นให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 197 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและหากประสงค์จะยื่นคำให้การกฎหมายก็ได้บัญญัติทางแก้ไว้โดยจำเลยที่ 2 อาจยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำให้การได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 หรือมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าประสงค์จะต่อสู้คดี กับแสดงให้ศาลเห็นว่า การขาดนัดยื่นคำให้การมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 199 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ. การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การเพียงแต่ยื่นคำให้การเข้ามาลอยๆ โดยมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นการยื่นคำให้การต่อศาลโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลอุทธรณ์และฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอายุความ และยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างว่าไม่จงใจขาดนัด ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้การที่จำเลยฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาจึงต้องห้ามด้วยเช่นเดียวกัน
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเรื่องอายุความเมื่อไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความเป็นมูลยกฟ้องไม่ได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเรื่องอายุความเมื่อไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความเป็นมูลยกฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340-4341/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดิน: ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยรุกล้ำที่ดินโจทก์ มีพยานหลักฐานสนับสนุน
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การต่อเมื่อโจทก์มีคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นจะไม่มีคำสั่งนั้นหากโจทก์ไม่มีคำขอดังกล่าว แต่การที่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การมิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองไม่ขาดนัดยื่นคำให้การเพราะเมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรก (เดิม) ผลของการที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวมีเพียงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น หากโจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดก็เป็นผลให้ศาลชั้นต้นอาจสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้ มาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโจทก์โดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่แต่อย่างใด ดังนั้น การขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา 199(เดิม) จึงไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 198 วรรคแรก (เดิม) ก่อน เพราะการที่จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสอง ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การยื่นคำให้การได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือไม่
การขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดยื่นคำให้การซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย และอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองอ้างเพียงเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นหาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
แม้ปัญหาข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าตนมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องโจทก์ โจทก์คงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม)ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้สาบานตนและถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
การขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดยื่นคำให้การซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย และอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองอ้างเพียงเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นหาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
แม้ปัญหาข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าตนมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องโจทก์ โจทก์คงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม)ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้สาบานตนและถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจและผลของการทราบวันนัดพิจารณาคดี แม้ผู้รับมอบฉันทะทราบแล้ว ถือว่าจำเลยทราบ
จำเลยมอบอำนาจให้ ภ. บุตรชายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแทน โดยในใบมอบฉันทะระบุข้อความว่า จำเลยยอมรับผิดในกรณีที่ผู้รับมอบฉันทะของจำเลยได้ทำการไปนั้นทุกประการ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลยโดย ภ. ได้ลงลายมือชื่อทราบกำหนดวันนัดสืบพยานใหม่แล้ว ถือได้ว่า ภ. เป็นผู้มีสิทธิทำการแทนจำเลยในการขอเลื่อนคดีและกำหนดวันนัด เมื่อ ภ. ได้ทราบวันนัดพิจารณาแล้วจึงถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้ว การที่จำเลยอ้างว่าเข้าใจผิดและไม่มีเจตนาที่จะไม่ไปศาลในวันนัดดังกล่าว เป็นเรื่องความเข้าใจผิดโดยมีมูลเหตุมาจากความเข้าใจของจำเลยเอง ถือว่าเป็นการจงใจของจำเลยที่จะไม่ไปศาลตามกำหนดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6079/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดี, การแจ้งความประสงค์ให้พิจารณาต่อไป, คำร้องขอเลื่อนคดี, ดุลพินิจศาล, การจำหน่ายคดี
กรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 201 วรรคหนึ่ง เดิม จำเลยที่ 2แถลงในวันสืบพยานแต่เพียงว่า "การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่ง" เพียงเท่านี้ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งต่อศาลแล้วว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลไม่มีหน้าที่ที่จะต้องสอบถามจำเลยที่ 2 เสียก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันสืบพยานด้วยนั้นไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่า หากมีกรณีดังกล่าว ศาลจะต้องสอบคำร้องขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนจึงจะมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการแปลความเพิ่มหลักเกณฑ์ลงไปในมาตรา 197 วรรคสอง เดิม ซึ่งไม่ถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นจะสอบคำขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจหากศาลใช้ดุลพินิจสอบคำขอเลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งให้เลื่อนคดี วันนัดดังกล่าวก็มิใช่วันสืบพยานตามกฎหมายอีกต่อไป แต่สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ไปแล้วตามมาตรา 197 วรรคสอง เดิม ประกอบกับมาตรา 201 วรรคหนึ่ง เดิมคำขอเลื่อนคดีของจำเลยที่ 1 ย่อมตกไป
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันสืบพยานด้วยนั้นไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่า หากมีกรณีดังกล่าว ศาลจะต้องสอบคำร้องขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนจึงจะมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการแปลความเพิ่มหลักเกณฑ์ลงไปในมาตรา 197 วรรคสอง เดิม ซึ่งไม่ถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นจะสอบคำขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจหากศาลใช้ดุลพินิจสอบคำขอเลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งให้เลื่อนคดี วันนัดดังกล่าวก็มิใช่วันสืบพยานตามกฎหมายอีกต่อไป แต่สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ไปแล้วตามมาตรา 197 วรรคสอง เดิม ประกอบกับมาตรา 201 วรรคหนึ่ง เดิมคำขอเลื่อนคดีของจำเลยที่ 1 ย่อมตกไป