พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การขาดอายุความ จำเลยต้องแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความในคำให้การ มิเช่นนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องอย่างคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 วรรคสอง บัญญัติให้จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับมาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 195 โดยจำเลย ต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการ ปฏิเสธนั้นด้วย แม้จำเลยไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมายว่า ขาดอายุความตามมาตราใดก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องให้การโดย แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏจำเลยจึงต้องบรรยาย ด้วยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้อง การที่จำเลยให้การเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความโดยมิได้ กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะคดีโจทก์ขาดอายุความการที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอายุความโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าและการฟ้องคดีอาญาที่ไม่สมบูรณ์
จำเลยแทงผู้เสียหายโดยแทงอ้อมผ่านตัว ส.ซึ่งกำลังจับมือผู้เสียหายอยู่ และผู้เสียหายยืนหันหลังให้จำเลย จำเลยมีโอกาสเลือกแทงผู้เสียหายที่ส่วนใดของร่างกายก็ได้ จำเลยเลือกแทงบริเวณรักแร้ซ้ายของผู้เสียหายโดยแรงคมมีดทะลุช่องปอดซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทั้งยังได้แทงซ้ำอีก 1 ครั้ง ที่บริเวณลำคอผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยพาอาวุธมีดไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรก็ตาม แต่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา371 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฟ้องโจทก์ฐานพาอาวุธไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะจึงขาดการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สำหรับการกระทำความผิดฐานนี้ ศาลจะลงโทษตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้แม้คู่ความมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยพาอาวุธมีดไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรก็ตาม แต่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา371 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฟ้องโจทก์ฐานพาอาวุธไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะจึงขาดการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สำหรับการกระทำความผิดฐานนี้ ศาลจะลงโทษตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้แม้คู่ความมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลาการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีมโนสาเร่ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของกระบวนพิจารณาและมิให้เกิดความเสียหายต่อการต่อสู้คดี
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 195 จะบัญญัติให้นำบททั่วไปแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยก็ตาม แต่การจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88เรื่องกำหนดเวลายื่นบัญชีระบุพยานมาใช้บังคับแก่คดีมโนสาเร่ ก็ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมแก่สภาพของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมโนสาเร่แต่ละคดีด้วย
วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 ที่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมายเรียกของศาลหรือในวันอื่นต่อมาตามแต่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้ โดยต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลย เมื่อคดีนี้ตามหมายเรียกของศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมาศาลเพื่อให้การแก้ข้อหาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 และนัดสืบพยานในวันดังกล่าวด้วย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยานได้แต่จำเลยยื่นคำให้การวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 แม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานมาในวันดังกล่าวด้วยก็มิอาจเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลา ที่มาตรา 88วรรคสอง กำหนดไว้ได้ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันที่ 31พฤษภาคม 2536 นั้นเอง และเมื่อศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ต่อในวันที่ 2กรกฎาคม 2536 จำเลยก็ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่สั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับ จำเลยก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล จึงเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้จงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยและเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ศาลควรอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานและรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่
วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 ที่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมายเรียกของศาลหรือในวันอื่นต่อมาตามแต่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้ โดยต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลย เมื่อคดีนี้ตามหมายเรียกของศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมาศาลเพื่อให้การแก้ข้อหาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 และนัดสืบพยานในวันดังกล่าวด้วย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยานได้แต่จำเลยยื่นคำให้การวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 แม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานมาในวันดังกล่าวด้วยก็มิอาจเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลา ที่มาตรา 88วรรคสอง กำหนดไว้ได้ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันที่ 31พฤษภาคม 2536 นั้นเอง และเมื่อศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ต่อในวันที่ 2กรกฎาคม 2536 จำเลยก็ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่สั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับ จำเลยก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล จึงเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้จงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยและเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ศาลควรอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานและรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมโนสาเร่: การยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลา ต้องพิจารณาความเหมาะสมกับลักษณะการพิจารณาคดี
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา195จะบัญญัติให้นำบททั่วไปแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยก็ตามแต่การจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88เรื่องกำหนดเวลายื่นบัญชีระบุพยานมาใช้บังคับแก่คดีมโนสาเร่ก็ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมแก่สภาพของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมโนสาเร่แต่ละคดีด้วย วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา193ที่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมายเรียกของศาลหรือในวันอื่นต่อมาตามแต่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้โดยต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยเมื่อคดีนี้ตามหมายเรียกของศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมาศาลเพื่อให้การแก้ข้อหาในวันที่31พฤษภาคม2536และนัดสืบพยานในวันดังกล่าวด้วยจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยานได้แต่จำเลยยื่นคำให้การวันที่28พฤษภาคม2536แม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานมาในวันดังกล่าวด้วยก็มิอาจเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาที่มาตรา88วรรคสองกำหนดไว้ได้เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันที่31พฤษภาคม2536นั้นเองและเมื่อศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ต่อในวันที่2กรกฎาคม2536จำเลยก็ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้แต่เมื่อศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่สั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับจำเลยก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลจึงเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้จงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยและเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลควรอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานและรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมโนสาเร่: การยื่นบัญชีระบุพยานนอกกำหนดเวลา หากไม่เป็นการจงใจละเลย และไม่ทำให้การต่อสู้คดีเสียหาย ศาลมีอำนาจอนุญาตได้
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 195 จะบัญญัติให้นำบททั่วไปแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยก็ตาม แต่การจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 เรื่องกำหนดเวลายื่นบัญชีระบุพยานมาใช้บังคับแก่คดีมโนสาเร่ ก็ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมแก่สภาพของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมโนสาเร่แต่ละคดีด้วย วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 ที่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมายเรียกของศาลหรือในวันอื่นต่อมาตามแต่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้ โดยต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลย เมื่อคดีนี้ตามหมายเรียกของศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมาศาลเพื่อให้การแก้ข้อหาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 และนัดสืบพยานในวันดังกล่าวด้วย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยานได้ แต่จำเลยยื่นคำให้การวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 แม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานมาในวันดังกล่าวด้วยก็มิอาจเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาที่มาตรา 88 วรรคสอง กำหนดไว้ได้ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 นั้นเอง และเมื่อศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ต่อในวันที่ 2 กรกฎาคม 2536จำเลยก็ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่สั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับ จำเลยก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลจึงเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้จงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยและเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ศาลควรอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานและรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมโนสาเร่: การยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาต้องคำนึงถึงสภาพการดำเนินกระบวนพิจารณา
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา195จะบัญญัติให้นำบททั่วไปแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยก็ตามแต่การจำนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88เรื่องกำหนดเวลายื่นบัญชีระบุพยานมาใช้บังคับแก่คดีมโนสาเร่ก็ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมแก่สภาพของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมโนสาเร่แต่ละคดีด้วย วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา193ที่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมายเรียกของศาลหรือในวันอื่นต่อมาตามแต่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้โดยต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยเมื่อคดีนี้ตามหมายเรียกของศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมาศาลเพื่อให้การแก้ข้อหาในวันที่31พฤษภาคม2536และนัดสืบพยานในวันดังกล่าวด้วยจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยานได้แต่จำเลยยื่นคำให้การวันที่28พฤษภาคม2536แม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานมาในวันดังกล่าวด้วยก็มิอาจเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาที่มาตรา88วรรคสองกำหนดไว้ได้เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันที่31พฤษภาคม2536นั้นเองและเมื่อศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ต่อในวันที่2กรกฎาคม2536จำเลยก็ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้แต่เมื่อศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่สั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับจำเลยก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลจึงเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้จงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยและเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลควรอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานและรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและการฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งในคดีอาญา
ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ หรือรับของโจร ตาม ป.อ. มาตรา 225,357,83 ข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยยักยอกทรัพย์สินหาย ตามป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกทรัพย์สินหายได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์ รับของโจรยักยอก มิใช่ต่างกันในสาระสำคัญไม่เกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยฎีกาว่า ขอเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นส่วนหนึ่งของคำฎีกาของจำเลย เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบแต่ประการใด เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์เน้นค้นหาทรัพย์สิน แม้มีข่มขู่ทำร้าย ถือเป็นความผิดพยายามชิงทรัพย์ ไม่ใช่ความผิดฐานอนาจาร
จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้คอผู้เสียหายพร้อมกับขู่ไม่ให้ร้องมิฉะนั้นจะปล้ำเมื่อผู้เสียหายปฏิบัติตามก็โยนเหล็กปลายแหลมทิ้งแล้วกอดผู้เสียหายไว้ใช้มือคลำคอผู้เสียหายถามหาสร้อยคอเมื่อทราบว่าไม่มีก็ถามถึงแหวนที่ผู้เสียหายสวมอยู่พอทราบว่าเป็นของปลอมก็ปล่อยมือจากการกอดผู้เสียหายวิ่งหนีไปได้พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นสำคัญเพราะเสาะหาแต่สร้อยคอกับแหวนเท่านั้นการที่จำเลยใช้เหล็กปลายแหลมขู่จะปล้ำผู้เสียหายก็ดีกอดตัวผู้เสียหายเมื่อค้นหาทรัพย์ก็ดีเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายและใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา339การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยฐานพยายามชิงทรัพย์6ปี8เดือนฐานกระทำอนาจาร4เดือนรวมจำคุก7ปี2เดือนและลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก3ปี7เดือนยังไม่ถูกต้องเมื่อรวมโทษแล้วต้องเป็นจำคุก7ปีลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก3ปี6เดือนปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในชั้นศาลต้นเหตุผลเรื่องการระงับความฟ้องคดีอาญา
ฎีกาจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นว่า ในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถือว่าข้อเท็จจริงนั้นไม่ปรากฏในสำนวน ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาจึงไม่เกิดขึ้น ศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยให้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ทำให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินกรอบพิจารณา
ฎีกาจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นว่า ในศาลชั้นต้นเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถือว่าข้อเท็จจริงนั้นไม่ปรากฏในสำนวน ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาจึงไม่เกิดขึ้น ศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยให้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 ประกอบด้วย มาตรา 225