พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งสินค้าทางทะเลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่ง
จำเลยมีวัตถุประสงค์รับขนส่งสินค้าทางทะเลและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเรือของบริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าต่างประเทศที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้แจ้งต่อกรมเจ้าท่าให้จัดส่งเรือนำร่องลากจูงเรือเดินทะเลเข้ามายังท่าเรือคลองเตย ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองให้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบรายชื่อของลูกเรือ ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ ติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อขออนุญาตเปิดระวางเรือ แจ้งให้โจทก์ผู้ขายสินค้าจัดส่งสินค้ามามอบให้กัปตันเรือเดินทะเล และออกใบตราส่งให้โจทก์ในนามของบริษัท ซ. จำเลยได้ค่าตอบแทน 1 เปอร์เซ็นต์ของค่าระวางขนส่ง พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งสินค้าดังกล่าว การเกี่ยวข้องของจำเลยหาใช่เพียงเป็นตัวแทนของบริษัท ซ.ไม่ แต่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าหรือผู้ขนส่งหลายทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะยกมาปรับแก่คดีรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาทนี้ซึ่งยังไม่มีบทกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น
ป.พ.พ. มาตรา 615 บัญญัติว่า "ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร" การที่ผู้ขนส่งมอบสินค้ารายพิพาทให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง จึงเป็นการส่งโดยมิชอบ
ป.พ.พ. มาตรา 615 บัญญัติว่า "ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร" การที่ผู้ขนส่งมอบสินค้ารายพิพาทให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง จึงเป็นการส่งโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งทอดสุดท้าย และอายุความตามสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายร่วมกับผู้รับขนทางเรือจากต่างประเทศ จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเฮกรูลส์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีเฮกรูลส์ซึ่งประเทศไทยนำมาใช้จนเป็นประเพณีแล้ว และฟังไม่ได้ว่ามีการระบุดังกล่าวไว้ด้านหลังใบตราส่งกรณีจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศ ได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่าง ๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้า ติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอด เป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทย ประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้น หากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้ นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย
จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่ 3พฤษภาคม 2532 ในสภาพเรียบร้อย ผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา624 ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศ ได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่าง ๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้า ติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอด เป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทย ประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้น หากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้ นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย
จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่ 3พฤษภาคม 2532 ในสภาพเรียบร้อย ผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา624 ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับขนส่งทอดสุดท้ายต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้า แม้จะอ้างเฮกรูลส์ไม่ได้ และอายุความยังไม่ครบกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายร่วมกับผู้รับขนทางเรือจากต่างประเทศ จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเฮกรูลส์เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีเฮกรูลส์ซึ่งประเทศไทยนำมาใช้จนเป็นประเพณีแล้วและฟังไม่ได้ว่ามีการระบุดังกล่าวไว้ด้านหลังใบตราส่งกรณีจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่างๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้าติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอดเป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทยประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้นหากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่3พฤษภาคม2532อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้นปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่3พฤษภาคม2532ในสภาพเรียบร้อยผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624ดังนี้ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่3พฤษภาคม2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5312/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอฟ.โอ.บี. และการประกันภัยสินค้า: ผู้ขายรับผิดชอบการขนส่งถึงท่าเรือต้นทาง, กรมธรรม์คุ้มครองชั่วคราวไม่ครอบคลุมการขนส่งทางรถไฟ
โจทก์สั่งซื้อสินค้าพิพาทจากผู้ขายในราคาเอฟ.โอ.บี.(FreeonBoard)ที่ท่าเรือต้นทางดังนั้นการขนส่งสินค้าพิพาทจากหน้าโรงงานของบริษัทผู้ขายโดยทางรถไฟไปยังท่าเรือ ซีแอทเทิลจึงอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทผู้ขายจำเลยที่1ไม่ได้ตกลงรับขนส่งสินค้าพิพาทจากโจทก์ในเส้นทางดังกล่าวจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ จำเลยที่2ได้ตกลงกับโจทก์โดยชัดแจ้งถึงเส้นทางที่จำเลยที่2รับประกันภัยสินค้าพิพาทว่าเริ่มต้นตั้งแต่ท่าเรือในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าการคุ้มครองภัยต้องเริ่มตั้งแต่ท่าเรือต้นทางที่สินค้าขนลงเรือแล้วอีกทั้งการขนส่งสินค้าโดยทางรถไฟจากเมือง ซินซินเนติถึงท่าเรือเมือง ซีแอทเทิล สินค้าพิพาทอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ขายและยังไม่ได้มีการขนส่งสินค้าลงเรือโจทก์จึงยังไม่มีส่วนได้เสียในสินค้าพิพาทขณะเกิดวินาศภัย แม้การประกันภัยสินค้าพิพาทเป็นการประกันภัยทางทะเลแต่การที่จำเลยที่2ออกกรมธรรม์คุ้มครองชั่วคราว(Covernote)โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อสินค้าถึงเรือและนำสินค้าลงเรือแล้วจำเลยที่2จะต้องออกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับจริงให้โจทก์อีกครั้งหนึ่งก็เป็นกรณีที่จำเลยที่2รับประกันภัยล่วงหน้าที่ยังไม่สามารถพิจารณาประกันภัยได้ในขณะนั้นการที่จำเลยที่2ออกกรมธรรม์คุ้มครองชั่วคราว(Covernote)ให้โจทก์จึงมิใช่จำเลยที่2รับประกันภัยสินค้าพิพาทระหว่างขนส่งทางรถไฟแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5287/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนขนส่งต่างประเทศไม่ต้องรับผิดในความเสียหายสินค้า หากไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงกับการขนส่ง
จำเลยมิใช่ผู้ออกใบตราส่ง ทั้งไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งสินค้า จำเลยเพียงเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งที่อยู่ต่างประเทศและไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โดยจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือผู้ขนส่งให้ผู้รับตราส่งทราบและให้ผู้รับตราส่งนำใบตราส่งไปเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้า จำเลยเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าและติดต่อกรมศุลกากรเพื่อเปิดระวางเรือ แจ้งกรมเจ้าท่าเพื่อให้นำเรือเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพมหานคร และแจ้งกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตรวจ คนที่มากับเรือ ซึ่งการเหล่านี้มิใช่การขนส่ง แต่เป็นงานเกี่ยวกับเอกสารหรือการติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ ซึ่งผู้ขนส่งมิได้กระทำโดยตนเอง หากแต่ได้มอบหมายให้จำเลยทำแทนเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงมิใช่ลักษณะการร่วมเป็นผู้ขนส่งสินค้าหรือเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะยกมาปรับแก่คดีรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5743/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในความเสียหายของสินค้า และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทำหน้าที่แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าทราบว่า เรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย มอบสำเนาใบตราส่งให้โจทก์ ทำหนังสือขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ติดต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ขนตู้สินค้าขึ้นจากเรือ ขนสินค้าออกจากตู้สินค้าและเรียกค่าบริการจากโจทก์ การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าว สินค้าที่ขนส่งมาย่อมไม่อาจถึงมือผู้ซื้อได้พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัทฮ. ผู้ขนส่งทอดแรก อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนทางทะเล โดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในความบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล เมื่อโจทก์ชำระค่าสินค้าไปโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันใดโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันดังกล่าว จำเลยจะขอให้คิดจากอัตราในวันที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าซึ่งมีอัตราต่ำกว่าไม่ได้ คดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง จำเลยจะอ้างว่ามีข้อตกลงให้ฟ้องที่ศาลในต่างประเทศโดยไม่ปรากฏข้อตกลงดังกล่าวในคำแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต่อการสูญหายของสินค้า และการบังคับใช้กฎหมายไทย
เมื่อเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้ซื้อสินค้าทราบยื่นคำร้องต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุมัตินำเรือเข้าจอดเทียบท่า ยื่นแสดงรายการสินค้าเพื่อขออนุมัตินำสินค้าพิพาทไปเก็บในคลังสินค้า ว่าจ้างการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ยกตู้สินค้าขึ้นจากเรือนำไปวางที่ลานพักตู้สินค้าขออนุญาตกรมศุลกากรเปิดตู้สินค้าตรวจนับและจดรายการสินค้าเพื่อป้องกันการลักสินค้าและส่งมอบรายการสินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบสินค้า จ้างการท่าเรือแห่งประเทศไทยนำสินค้าขึ้นรถบรรทุกไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า มอบใบรับสินค้าแก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการศุลกากรและใช้แสดงต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้า การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าวสินค้าพิพาทย่อมไม่อาจถึงมือของผู้ซื้อสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับผู้ขนส่ง อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนของทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล ผู้ขายสินค้าพิพาทมีสัญชาติญี่ปุ่น และส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่นโดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทยการขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทยและบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13ให้ใช้กฎหมายใดบังคับในเรื่องค่าเสียหายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: ผู้รับสินค้าต้องสำรวจความเสียหายก่อนรับ หากรับไปแล้วถือว่ารับในสภาพเรียบร้อย
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมิได้แจ้งให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยและตัวแทนของบริษัทเรือที่ขนส่งมาร่วมทำการสำรวจความเสียหายเสียก่อน ทั้งที่ปรากฏว่าลังไม้บรรจุสินค้าแตก ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับสินค้าไปในสภาพที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นการรับสินค้าไว้โดยมิได้อิดเอื้อน จำเลยผู้ขนส่งร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 623 วรรคแรก แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรกจะมิใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลที่จะต้องใช้บังคับแก่คดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง แต่โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำมาตรา 623 วรรคแรกดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ได้กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสินค้าเสียหาย: ผู้รับต้องแจ้งความเสียหายก่อนรับ หากไม่แจ้ง ถือรับสภาพเรียบร้อย ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปจาก การท่าเรือแห่งประเทศไทย โดย มิได้แจ้งให้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย และตัวแทนของบริษัทเรือที่ขนส่งมาร่วมทำการสำรวจความเสียหายเสียก่อน ทั้งที่ปรากฏว่าลังไม้บรรจุสินค้าแตก ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับสินค้าไปในสภาพที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นการรับสินค้าไว้โดย มิได้อิดเอื้อน จำเลยผู้ขนส่งร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรก แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรกจะมิใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลที่จะต้อง ใช้ บังคับแก่คดีนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง แต่ โดย ที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วย การรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้อง นำมาตรา 623 วรรคแรกดังกล่าว ซึ่ง เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้ บังคับตาม ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ได้ กำหนดไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: การตรวจสอบสภาพสินค้าเป็นสำคัญ
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมิได้แจ้งให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย และตัวแทนของบริษัทเรือที่ขนส่งมาร่วมทำการสำรวจความเสียหายเสียก่อน ทั้งที่ปรากฏว่าลังไม้บรรจุสินค้าแตก ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับสินค้าไปในสภาพที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นการรับสินค้าไว้โดยมิได้อิดเอื้อน จำเลยผู้ขนส่งร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรก
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรกจะมิใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลที่จะต้อง ใช้บังคับแก่คดีนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง แต่โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำมาตรา 623 วรรคแรกดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ได้กำหนดไว้
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรกจะมิใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลที่จะต้อง ใช้บังคับแก่คดีนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง แต่โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำมาตรา 623 วรรคแรกดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ได้กำหนดไว้