คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 609

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายสินค้าสูญหายจากการขนส่งทางทะเล: 1 ปีนับจากวันส่งมอบ
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเล ต้อง นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ซึ่ง เป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง มาปรับแก่คดีตาม ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสาม จึงมีกำหนด 1 ปีนับแต่วันส่งมอบหรือวันที่ควรจะได้ ส่งมอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายสินค้าสูญหายจากการขนส่งทางทะเล ใช้มาตรา 624 พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเล ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง มาปรับแก่คดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสาม จึงมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งมอบหรือวันที่ควรจะได้ส่งมอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายสินค้าสูญหายจากการขนส่งทางทะเล: ใช้มาตรา 624 พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเล ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสามปรากฏว่าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อ พ.ศ. 2522และ 2523 โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งมาฟ้องเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับจ้างติดต่อท่าเรือไม่ใช่ผู้ขนส่ง - ไม่ต้องรับผิดชอบสินค้าสูญหาย
บริษัทจำเลยมิได้เข้าร่วมทำการขนส่งหรือขนถ่ายสินค้าการขนส่งได้กระทำโดยเรือ น. เพียงทอดเดียวจากประเทศสิงคโปร์มายังประเทศไทย จำเลยจึงมิได้เป็นผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 รับขน อันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับการรับขนทางทะเลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609 แม้ว่าจำเลยจะเป็นผู้แจ้งการมาถึงของสินค้าให้ผู้รับตราส่งทราบ ให้ผู้รับตราส่งนำใบตราส่งมามอบเพื่อรับใบเบิกสินค้าจากจำเลยและการกระทำของจำเลยจะได้ค่าตอบแทนจากบริษัทผู้ขนส่งก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงผู้รับจ้างหรือตัวแทนของบริษัทผู้ขนส่งในการติดต่อกับท่าเรือ เจ้าหน้าที่และผู้รับตราส่งเท่านั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 618 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในการที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับจ้างติดต่อท่าเรือไม่ใช่ผู้ขนส่ง: การเยียวยาความเสียหายจากการสูญหายของสินค้า
บริษัทจำเลยมิได้เข้าร่วมทำการขนส่งหรือขนถ่ายสินค้า การขนส่งได้กระทำโดยเรือ น. เพียงทอดเดียวจากประเทศสิงคโปร์มายังประเทศไทย จำเลยจึงมิได้เป็นผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 รับขน อันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับการรับขนทางทะเลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609 แม้ว่าจำเลยจะเป็นผู้แจ้งการมาถึงของสินค้าให้ผู้รับตราส่งทราบ ให้ผู้รับตราส่งนำใบตราส่งมามอบเพื่อรับใบเบิกสินค้าจากจำเลยและการกระทำของจำเลยจะได้ค่าตอบแทนจากบริษัทผู้ขนส่งก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงผู้รับจ้างหรือตัวแทนของบริษัทผู้ขนส่งในการติดต่อกับท่าเรือเจ้าหน้าที่และผู้รับตราส่งเท่านั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามความใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 618 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในการที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้า.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งทางทะเล: จำเลยไม่ได้มีส่วนร่วมในการขนส่ง แม้จะดำเนินการแทนเจ้าของเรือและผู้ขนส่ง
จำเลยไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ากับบริษัทผู้ขนส่งซึ่งได้ทำการขนส่งสินค้ามาทางเรือ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าจากเรือด้วย การที่จำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมเจ้าท่าให้มีการนำร่องเพื่อให้เรือเข้าเทียบท่าและแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองให้ตรวจชาวต่างประเทศที่มากับเรือ เป็นผู้ขออนุญาตนำเรือเข้าต่อกรมศุลกากร รวมทั้งแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบนั้น กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่เจ้าของเรือและบริษัทผู้ขนส่งจะต้องกระทำโดยตนเอง การที่จำเลยได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนเจ้าของเรือและผู้ขนส่ง ยังไม่พอให้ถือว่าจำเลยเป็นผู้เข้าร่วมขนส่งด้วย แม้เมื่อผู้รับตราส่งนำใบตราส่งมายื่น และจำเลยรับใบตราส่งคืนมาแล้วออกใบปล่อยสินค้าให้เพื่อนำไปรับสินค้าจากนายเรือก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: การยกเว้นความรับผิดต้องชัดเจนและมีผลผูกพัน
มูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย ไม่อาจนำพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเลค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้บังคับเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่ง และบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของพัสดุ: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุและข้อตกลงระหว่างประเทศ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจากส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกาเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรกที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส. มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส. จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่งประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับกฎหมายไม่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่ การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จำนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสินค้าสูญหาย: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจาก ส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกา เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรก ที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส.มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส.จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่ กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2514 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1 จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่ง ประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับ กฎหมายไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่
การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายของสินค้า เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า การกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัท ฟ. ซึ่งอยู่ต่างประเทศไม่มีประเด็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำการต่าง ๆในประเทศไทยในฐานะตัวแทนของบริษัทฟ. หรือไม่ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่ง บริษัทฟ.ซึ่งเป็นผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย แต่ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับหน่วยราชการต่าง ๆ ในประเทศไทยเพื่อนำเรือบรรทุกสินค้าของบริษัทฟ. เข้าออกท่าเรือกรุงเทพ ขนสินค้าลงจากเรือและแจ้งการมาถึงของเรือให้เจ้าของสินค้าหรือผู้รับตราส่งทราบ ตลอดจนออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งไปรับสินค้าออกจากท่าเรือ เมื่อปรากฏว่า จำเลยได้แจ้งวันที่เรือสินค้าจะมาถึงท่าเรือกรุงเทพให้ผู้รับตราส่งทราบ เป็นผู้ขออนุมัตินำเรือเข้าเทียบท่าและแจ้งหน่วยราชการต่าง ๆ เกี่ยวกับการขออนุญาตเปิดระวางเรือและขนถ่ายสินค้า ขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้า รับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้า และเพื่อให้ผู้รับตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยมิฉะนั้นจะรับสินค้าไม่ได้ การดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งอันจะทำให้สินค้าที่ขนส่งมาถึงผู้รับตราส่ง และจะขาดช่วยนี้เสียมิได้ มิฉะนั้นการขนส่งจะชะงักนอกจากนี้เมื่อผู้ส่งยังไม่ได้ชำระค่าระวางในการขนส่งโดยให้มาเก็บค่าระวางปลายทาง จำเลยก็มีสิทธิเก็บค่าระวางขนส่งเสียก่อนที่จะออกใบปล่อยสินค้าให้ผู้รับตราส่ง ส่วนบุคคลผู้ที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือไม่ว่าจำเลยจะใช้พนักงานของจำเลยหรือผู้อื่นทำการขนถ่ายก็ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องวิธีดำเนินการค้าระหว่างบริษัทฟ. กับจำเลยโดยจำเลยได้รับบำเหน็จจากทางการค้าตามปกติของตน จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ทำการขนส่ง นอกจากจำเลยจะดำเนินการดังกล่าวแก่สินค้าขาเข้าแล้ว จำเลยยังดำเนินการเกี่ยวกับการขนสินค้าขาออกจากประเทศไทยให้แก่บริษัทฟ. ด้วย พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าเกี่ยวข้องดำเนินงานดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมประกอบธุรกิจขนส่งด้วยกันอันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยให้การว่า ผู้ส่งทำการบรรจุหีบห่อสินค้าไม่ดี เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่ง ผู้ส่งจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบบริษัทฟ. ผู้ขนส่งหรือจำเลยไม่ต้องรับผิด แต่จำเลยอุทธรณ์ว่าการซื้อขายสินค้าพิพาทเป็นการซื้อขายระบบซีแอนด์เอฟซึ่งสิทธิทั้งหลายจะตกแก่ผู้รับตราส่งเมื่อของหรือสินค้าได้ถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบของหรือสินค้าแล้ว แต่ปรากฏว่าสินค้าพิพาทสูญหายก่อนส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นเรื่องที่ผู้ส่งจะต้องไปว่ากล่าวกับผู้ขนส่งผู้รับตราส่งยังไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขนส่ง เช่นนี้เห็นได้ชัดว่าข้ออุทธรณ์ของจำเลยไม่ตรงกับที่จำเลยให้การไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้ ภาระการพิสูจน์ว่าสินค้าที่ขนส่งสูญหายไปเพราะสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ตกแก่ผู้ขนส่งแม้จะปรากฏว่าขณะเรือบรรทุกสินค้ารายพิพาทมาได้ถูกมุรสมอย่างรุนแรงระหว่างทางก็ตาม แต่ผู้ขนส่งไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาแสดงให้เห็นว่า หีบที่บรรจุสินค้ารายพิพาทได้แตกและสินค้าได้สูญหายไปเพราะเรือโดนมรสุมดังกล่าว และไม่มีพยานยืนยันแน่ชัดว่าหีบที่บรรจุสินค้าพิพาทแตกชำรุดขณะใด จึงยังถือไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทได้สูญหายไปเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพื่อความสูญหายนั้น
of 10