คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 609

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากกลิ่นปลา และอายุความในการเรียกร้องค่าเสียหาย
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยรับขนทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฎว่ามีประเพณีการรับขนของทางทะเลที่ถือปฎิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ซึ่งในเรื่องความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลย ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าสินค้ากระดาษทิชชูเช็ดหน้าที่รับขนได้รับความเสียหายมีกลิ่นปลาบดเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานจึงต้องฟังว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้น การเรียกค่าเสียหายกรณีรับขนทางทะเลต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี จะนำอายุความ 1 ปีตามมาตรา 624 มาใช้บังคับโดยถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของรัฐวิสาหกิจในการขนส่งไปรษณีย์ และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้รับประกันภัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 บัญญัติให้การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ ดังนี้ การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 และไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ บริษัทสายการบินอลิตาเลียจำกัดจำเลยที่ 2 มีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศและอนุสัญญาสากลไปรษณีย์ และมิใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยไปรษณียภัณฑ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.เป็นผู้ฝากส่ง จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวสูญหายไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาใบจองระวางเรือ: ความผูกพันจนกว่าจะออกใบตราส่ง และความรับผิดของผู้ขนส่ง
โจทก์ทำสัญญาใบจองระวางเรือกับจำเลยเพื่อขนข้าวสารของโจทก์ ไปต่างประเทศ โจทก์ขนข้าวสารบางส่วนขึ้นเรือแล้วต่อมาจำเลย สั่งระงับและสั่งให้ขนลงจากเรือทั้งหมด ในสัญญาใบจองระวางเรือ มีข้อความว่าใบตราส่งซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่ใช้อยู่ตามปกติของผู้ขนส่ง จะถูกนำมาใช้ ข้อกำหนดเงื่อนไขและข้อยกเว้นทั้งปวงของใบตราส่ง จะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ ซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์เฉพาะในระหว่างช่วงเวลานี้จนกว่าจะออกใบตราส่ง แสดงว่าสัญญาใบจอง ระวางเรือผูกพันโจทก์จำเลยจนกว่าจะมีการออกใบตราส่ง ดังนั้นเมื่อยังไม่มีการออกใบตราส่งให้โจทก์ผู้ส่งจึงอยู่ในระยะเวลาที่สัญญาใบจองระวางเรือใช้บังคับ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองระวางเรือผูกพันจนกว่าจะออกใบตราส่ง แม้จะเปลี่ยนเรือขนส่ง
โจทก์ทำสัญญาใบจองระวางเรือกับจำเลยเพื่อขนข้าวสารของโจทก์ไปต่างประเทศ โจทก์ขนข้าวสารบางส่วนขึ้นเรือแล้วต่อมาจำเลยสั่งระงับและสั่งให้ขนลงจากเรือทั้งหมด ในสัญญาใบจองระวางเรือมีข้อความว่าใบตราส่งซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่ใช้อยู่ตามปกติของผู้ขนส่งจะถูกนำมาใช้ ข้อกำหนดเงื่อนไขและข้อยกเว้นทั้งปวงของใบตราส่งจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ ซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์เฉพาะในระหว่างช่วงเวลานี้จนกว่าจะออกใบตราส่ง แสดงว่าสัญญาใบจองระวางเรือผูกพันโจทก์จำเลยจนกว่าจะมีการออกใบตราส่งดังนั้น เมื่อยังไม่มีการออกใบตราส่งให้โจทก์ผู้ส่งจึงอยู่ในระยะเวลาที่สัญญาใบจองระวางเรือใช้บังคับ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหาย และอายุความในการฟ้องร้องค่าเสียหาย
เรือต้องคลื่นลมแรงและสภาวะอากาศที่เลวร้ายมากในระหว่างทาง เมื่อไม่ปรากฏว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวมีความร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่อาจจะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในเรือได้ คลื่นลมและสภาวะอากาศเช่นนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 อันจะทำให้ผู้ขนส่งหลุดพ้นความรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนในประเทศรับผิดแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศต่อบุคคลภายนอกก็เฉพาะแต่กรณีที่ตัวแทนผู้นั้นได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับบุคคลภายนอกแทนตัวการ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวแต่ลำพังตนเอง
จำเลยเป็นผู้ทำหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากเรือไปเก็บในคลังสินค้า เป็นผู้จัดหาผู้รับเหมามาจัดการขนถ่ายสินค้า เป็นตัวแทนเรือเดินทะเลหลายบริษัทรวมทั้งบริษัทฟ. ซึ่งไม่มีตัวแทนอื่นในประเทศไทย และหากมีผู้ใดต้องการส่งสินค้าโดยเรือของบริษัท ฟ. จำเลยจะเป็นผู้รับติดต่อและเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้า และเก็บค่าระวางเรือส่งไปให้เจ้าของเรือ เมื่อเรือของบริษัทดังกล่าวมาถึงประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการขนถ่ายสินค้า แจ้งให้ลูกค้าผู้สั่งซื้อสินค้าทราบถึงกำหนดเรือเข้า ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปขอรับสินค้า และจำเลยรับเอาใบตราส่งจากลูกค้าไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ของจำเลยเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทำหน้าที่ผู้ขนส่งทอดหลังที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดร่วมด้วยในกรณีสินค้าที่ขนส่งสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการรับขนทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกร้องค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 8 เรื่องรับขน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้า การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง และการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการสูญหายของสินค้า
จำเลยให้การเพียงว่าการที่ผู้ส่งเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งออกใบตราส่งให้กับยึดถือใบตราส่งนั้นไว้เป็นหลักฐานโดยไม่คัดค้านและนำใบตราส่งนั้นมาแสดงต่อธนาคารเพื่อรับเงินค่าสินค้า เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่า ผู้ส่งยอมรับรู้ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ระบุไว้หลังใบตราส่งฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบว่า ผู้ส่งยังได้ลงนามในข้อตกลงต่างหากยอมรับไว้ล่วงหน้าถึงบรรดาข้อจำกัดความรับผิดต่าง ๆที่จำเลยระบุไว้ในใบตราส่งในขณะรับขน จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
การที่ผู้ส่งลงนามและประทับตรากับแจ้งภูมิลำเนาไว้หลังใบตราส่งนั้นเป็นการสลักหลังใบตราส่งเมื่อได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคารแล้วเพื่อส่งให้แก่ผู้สั่งซื้อสินค้าและให้ผู้สั่งซื้อสินค้าชำระเงินผ่านธนาคารก่อนที่จะไปรับสินค้าและจัดส่งใบตราส่งคืนจำเลยผู้รับขนเพื่อปล่อยสินค้าต่อไป จึงมิใช่กรณีที่ผู้ส่งตกลงลงนามยอมรับเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าไว้หลังใบตราส่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625
คำว่า 'ของมีค่าอย่างอื่น ๆ ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 หมายถึงสิ่งของมีค่าทำนองเดียวกับของตามที่ระบุไว้ในตอนต้นของมาตรานี้สินค้าทังสเตนคาร์ไบด์ไม่เป็นสิ่งของมีค่าพิเศษในลักษณะดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าซึ่งหากจำเลยผู้ขนส่งมิได้รับบอกราคาของไว้ในขณะส่งมอบแก่ตนแล้ว จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิด.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่357/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง, สลักหลังใบตราส่ง, สินค้าสูญหาย, รับช่วงสิทธิ, กฎหมายไทยบังคับ
จำเลยให้การเพียงว่าการที่ผู้ส่งเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งออกใบตราส่งให้กับยึดถือใบตราส่งนั้นไว้เป็นหลักฐานโดยไม่คัดค้านและนำใบตราส่งนั้นมาแสดงต่อธนาคารเพื่อรับเงินค่าสินค้า เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่า ผู้ส่งยอมรับรู้ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ระบุไว้หลังใบตราส่งฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบว่า ผู้ส่งยังได้ลงนามในข้อตกลงต่างหากยอมรับไว้ล่วงหน้าถึงบรรดาข้อจำกัดความรับผิดต่าง ๆที่จำเลยระบุไว้ในใบตราส่งในขณะรับขน จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
การที่ผู้ส่งลงนามและประทับตรากับแจ้งภูมิลำเนาไว้หลังใบตราส่งนั้นเป็นการสลักหลังใบตราส่งเมื่อได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคารแล้วเพื่อส่งให้แก่ผู้สั่งซื้อสินค้าและให้ผู้สั่งซื้อสินค้าชำระเงินผ่านธนาคารก่อนที่จะไปรับสินค้าและจัดส่งใบตราส่งคืนจำเลยผู้รับขนเพื่อปล่อยสินค้าต่อไป จึงมิใช่กรณีที่ผู้ส่งตกลงลงนามยอมรับเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าไว้หลังใบตราส่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625
คำว่า 'ของมีค่าอย่างอื่น ๆ ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 หมายถึงสิ่งของมีค่าทำนองเดียวกับของตามที่ระบุไว้ในตอนต้นของมาตรานี้สินค้าทังสเตนคาร์ไบด์ไม่เป็นสิ่งของมีค่าพิเศษในลักษณะดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าซึ่งหากจำเลยผู้ขนส่งมิได้รับบอกราคาของไว้ในขณะส่งมอบแก่ตนแล้ว จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 357/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 616, 625 บังคับ
โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งของทางทะเลของประเทศใด มาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616 และ 625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ และข้อยกเว้นความรับผิด
ฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลรวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี เป็นคำฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว แม้จะมิได้ระบุชื่อตัวการและถิ่นที่อยู่มา หรือจำเลยร่วมกับผู้ใดทำการขนส่งหลายทอดหลายต่อก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไปไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศขนสินค้าของบริษัท ส. จากผู้รับขนหลายคนหลายทอดหลายต่อ แต่ทางนำสืบของโจทก์ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยรับขนในฐานะตัวการจากต้นทางส่งปลายทางทอดเดียว เมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาในการขนส่งสินค้ากับบริษัท ส.อันจะต้องรับผิดต่อบริษัทส.ในการที่สินค้าที่รับขนสูญหายระหว่างการขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 อยู่แล้ว แม้ตามฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยเป็นตัวแทนขนสินค้าหลายทอดหลายต่อ แต่ตามมาตรา 617,618 ก็บัญญัติให้จำเลยต้องรับผิดในการสูญหายแห่งสินค้าในระหว่างการขนส่งอยู่นั่นเอง แม้จะฟังข้อเท็จจริงไปในทางใด ก็หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเกี่ยวกับการนี้ไม่ ยังไม่พอให้ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องการสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนก่อนส่งมอบว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนของทางทะเลของประเทศใดมาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616,625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ โดยตามมาตรา 616 กำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการสูญหายแห่งของที่เขามอบหมายแก่ตนระหว่างการขนส่ง อันหมายถึงว่าต้องรับใช้เต็มราคาแห่งของที่สูญหายและมาตรา 625 บัญญัติให้ข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามใบตราส่งเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดนั้น
ในใบตราส่งได้ระบุเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งไว้ การที่บริษัท ส.เซ็นชื่อรับสินค้าไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการที่บริษัท ส.ยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิด หากแต่เป็นการเซ็นรับสินค้าที่จำเลยขนส่งมา จึงฟังว่าข้อจำกัดความรับผิดที่ฝ่ายจำเลยกำหนดขึ้นเองเป็นโมฆะเพราะบริษัท ส.มิได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ และข้อยกเว้นความรับผิดเป็นโมฆะ
ฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลรวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี เป็นคำฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว แม้จะมิได้ระบุชื่อตัวการและถิ่นที่อยู่มา หรือจำเลยร่วมกับผู้ใดทำการขนส่งหลายทอดหลายต่อก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไป ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศขนสินค้าของบริษัท ส. จากผู้รับขนหลายคนหลายทอดหลายต่อ แต่ทางนำสืบของโจทก์ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยรับขนในฐานะตัวการจากต้นทางส่งปลายทางทอดเดียว เมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาในการขนส่งสินค้ากับบริษัท ส. อันจะต้องรับผิดต่อบริษัท ส.ในการที่สินค้าที่รับขนสูญหายระหว่างการขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 อยู่แล้ว แม้ตามฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยเป็นตัวแทนขนสินค้าหลายทอดหลายต่อ แต่ตามมาตรา 617, 618 ก็บัญญัติให้จำเลยต้องรับผิดในการสูญหายแห่งสินค้าในระหว่างการขนส่งอยู่นั่นเอง แม้จะฟังข้อเท็จจริงไปในทางใด ก็หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเกี่ยวกับการนี้ไม่ ยังไม่พอให้ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องการสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนก่อนส่งมอบว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนของทางทะเลของประเทศใดมาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616, 625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ โดยตามมาตรา 616 กำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการสูญหายแห่งของที่เขามอบหมายแก่ตนระหว่างการขนส่ง อันหมายถึงว่าต้องรับใช้เต็มราคาแห่งของที่สูญหายและมาตรา 625 บัญญัติให้ข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามใบตราส่งเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดนั้น
ในใบตราส่งได้ระบุเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งไว้ การที่บริษัท ส.เซ็นชื่อรับสินค้าไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการที่บริษัท ส.ยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิด หากแต่เป็นการเซ็นรับสินค้าที่จำเลยขนส่งมา จึงฟังว่าข้อจำกัดความรับผิดที่ฝ่ายจำเลยกำหนดขึ้นเองเป็นโมฆะเพราะบริษัท ส.มิได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง.
of 10