พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดไปรษณีย์: รับประกันภัยตามจริง, ไม่เกิน 3,950 บาท, ผู้ขนส่งชั้นสองไม่ต้องรับผิด
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่1มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการไปรษณีย์เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชนจึงมิใช่ผู้ขนส่งตามป.พ.พ.และตามป.พ.พ.มาตรา609การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยต้องบังคับตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520 ตามข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์รับประกันมีได้เฉพาะจดหมายรับประกันการขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุหากมีราคามากกว่า3,950บาทก็ขอให้รับประกันได้ไม่เกินกว่านั้นฉะนั้นเมื่อผู้ฝากส่งได้ฝากส่งของประเภทจดหมายรับประกันและของที่ฝากส่งสูญหายจำเลยที่1คงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในไปรษณียนิเทศเท่าที่รับประกันไว้เท่านั้นหาต้องรับผิดจนเต็มราคาสิ่งของที่ฝากส่งไม่ บริษัทสายการบินอลิตาเลีย จำกัดจำเลยที่2ขนส่งของให้จำเลยที่1ตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งและมิได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์จำเลยที่2จึงมิใช่ผู้รับขนส่งให้ผู้ฝากส่งและกรณีมิใช่การขนส่งหลายทอดเมื่อจำเลยที่2ขนส่งของไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ปรากฏว่าได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสินค้าสูญหาย: การลงทะเบียนไม่ประกัน, การแจ้งราคา, และผู้รับขน
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนไม่มีการประกันแต่อย่างใด เมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 คือตามข้อบังคับ ที่ใช้อยู่เวลานั้นหาใช่ต้องรับผิดตามมาตรา 30 ไม่ เพราะตาม มาตราดังกล่าวต้องเป็นไปรษณียภัณฑ์ ที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วเท่านั้น การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงใน ใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่ง เอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่1 แล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของสิ่งของลงทะเบียนที่ไม่ได้รับการประกัน
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนไม่มีการประกันแต่อย่างใด เมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 คือตามข้อบังคับ ที่ใช้อยู่เวลานั้นหาใช่ต้องรับผิดตามมาตรา 30 ไม่ เพราะตาม มาตราดังกล่าวต้องเป็นไปรษณียภัณฑ์ ที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วเท่านั้น
การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงในใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่งเอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้
การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงในใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่งเอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วมในสัญญาขนส่งทางทะเลและการกำหนดอายุความ
บริษัทผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศปลายทางการขนส่งรายนี้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยดำเนินการแจ้งวันมาถึงของเรือสินค้าแก่ผู้รับตราส่งขออนุมัติให้เรือเข้าเทียบท่า ขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้า รับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าเพื่อให้เจ้าของใบตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งและจำเลยได้รับบำเหน็จทางการค้าตามปกติของตน พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล ฉะนั้น เมื่อมีการบุบสลายและสูญหายในสินค้าที่รับขนส่ง จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10 ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้เพราะมาตรา 164 บังคับไว้ชัดแจ้ง
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10 ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้เพราะมาตรา 164 บังคับไว้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งหลายทอดทางทะเล ผู้ขนส่งร่วมรับผิดชอบความเสียหายต่อสินค้า
บริษัทผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศปลายทางการขนส่งรายนี้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องโดยดำเนินการแจ้งวันมาถึงของเรือสินค้าแก่ผู้รับตราส่งขออนุมัติให้เรือเข้าเทียบท่าขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้ารับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าเพื่อให้เจ้าของใบตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งและจำเลยได้รับบำเหน็จทางการค้าตามปกติของตนพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล ฉะนั้น เมื่อมีการบุบสลายและสูญหายในสินค้าที่รับขนส่ง จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้ เพราะมาตรา164 บังคับไว้ชัดแจ้ง
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้ เพราะมาตรา164 บังคับไว้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและการกำหนดอายุความ
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศว่าจ้างบริษัท ฟ. และบริษัท ว.ซึ่งเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ ทำการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมาให้ผู้ซื้อในประเทศไทย บริษัท ฟ. และ บริษัท ว.ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงว่าจ้างจำเลยทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลมาที่หน้าการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าจอดเทียบท่าและจัดการหาคนหรือเครื่องมือขนถ่ายสินค้าออกจากเรือเดินทะเลนำไปที่หน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบและผู้รับตราส่งต้องนำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยเป็นผู้ออก เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้ากับบริษัท ฟ. และบริษัท ว.และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายจำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหาย และอายุความฟ้องร้อง
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศว่าจ้างบริษัท ฟ.และบริษัทว. ซึ่งเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ ทำการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมาให้ผู้ซื้อในประเทศไทย บริษัท ฟ.และบริษัท ว. ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงว่าจ้างจำเลยทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลมาที่หน้าการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าจอดเทียบท่าและจัดการหาคนหรือเครื่องมือขนถ่ายสินค้าออกจากเรือเดินทะเลนำไปที่หน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบและผู้รับตราส่งต้องนำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยเป็นผู้ออก เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้ากับบริษัท ฟ.และบริษัทว. และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการจ่ายสินค้าผิดพลาด แม้เป็นตัวแทนก็ต้องรับผิดโดยตรงต่อเจ้าของสินค้า
จำเลยเป็นตัวแทนบริษัทเจ้าของเรือมอบใบสั่งให้ส่งมอบสินค้าให้บุคคลอื่นไปรับสินค้าทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้สลักหลังโอนใบตราส่งจำเลยประมาทเลินเล่อจ่ายสินค้าไปโดยปราศจากคำสั่งของโจทก์ดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดจำเลยจะอ้างไม่ได้ว่าเป็นเรื่องรับขนต้องใช้ศาลและกฎหมายของประเทศผู้ขนส่งกับจะอ้างว่าเป็นเรื่องที่จำเลยทำในฐานะตัวแทนไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวก็ไม่ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: ใช้ 10 ปี หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีเกี่ยวกับกฎหมายทะเลต้องบังคับตามกฎหมายและกฏข้อบังคับว่าด้วยการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้าย แต่ปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2516)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่องจากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหาย จำเลยให้การด้วยว่า ตามเงื่อนไขในใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการรั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้ พิพากษายกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์ เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่องจากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหาย จำเลยให้การด้วยว่า ตามเงื่อนไขในใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการรั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้ พิพากษายกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์ เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องกรณีรับขนของทางทะเล ใช้ 10 ปี หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีเกี่ยวกับกฎหมายทะเลต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้าย แต่ปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของ ทางทะเลยังไม่มี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะยกอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2516)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่อง จากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหายจำเลยให้การด้วยว่าตามเงื่อนไขใน ใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการ รั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความรับผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้พิพากษายกฟ้องเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่อง จากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหายจำเลยให้การด้วยว่าตามเงื่อนไขใน ใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการ รั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความรับผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้พิพากษายกฟ้องเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย