คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 609

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนรับขนส่งทางทะเล เมื่อส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้อง และอายุความฟ้องค่าเสียหาย
จำเลยตัวแทนของบริษัท บี.ซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ รับจ้างขนส่งสินค้าของโจทก์ทางทะเล เพื่อส่งให้แก่บริษัท เอ.ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในใบตราส่งระบุให้ธนาคารเอ็ม.เป็นผู้รับใบตราส่ง เมื่อสินค้าไปถึงท่าเรือปลายทาง บริษัทบี.ได้มอบสินค้าให้แก่ตัวแทนบริษัท เอ.ไปโดยไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง และบริษัท เอ.ก็มิใช่ผู้รับใบตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่งเช่นนี้ แม้ผู้รับสินค้าจะได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันในการรับสินค้าไป การส่งมอบสินค้าดังกล่าวของบริษัท บี.ก็ยังเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์
เมื่อตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศมิได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งหรือทรงใบตราส่งโดยชอบ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศย่อมต้องรับผิดตามสัญญารับขนแต่ลำพังตนเอง
กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มีการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีผิดสัญญารับขนของทางทะเลจึงใช้อายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนรับขนส่งทางทะเลเมื่อส่งมอบสินค้าไม่ชอบ กรณีผู้รับสินค้าไม่ใช่ผู้รับตราส่ง
จำเลยตัวแทนของบริษัท บี. ซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างประเทศรับจ้างขนส่งสินค้าของโจทก์ทางทะเล เพื่อส่งให้แก่บริษัท เอ. ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในใบตราส่งระบุให้ธนาคาร เอ็ม. เป็นผู้รับใบตราส่งเมื่อสินค้าไปถึงท่าเรือปลายทางบริษัท บี. ได้มอบสินค้าให้แก่ตัวแทนบริษัท เอ. ไปโดยไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง และบริษัท เอ. ก็มิใช่ผู้รับใบตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง เช่นนี้ แม้ผู้รับสินค้าจะได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันในการรับสินค้าไป การส่งมอบสินค้าดังกล่าวของบริษัท บี.ก็ยังเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์
เมื่อตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศมิได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งหรือทรงใบตราส่งโดยชอบ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศย่อมต้องรับผิดตามสัญญารับขนแต่ลำพังตนเอง
กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มีการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีผิดสัญญารับขนทางทะเลจึงใช้อายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการละเมิดจากพนักงาน กรณีตั๋วแลกเงินสูญหายหรือถูกขโมย
โจทก์ที่ 1 ส่งตั๋วแลกเงินจำนวน 40,000 บาทของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาเบตงให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยบรรจุตั๋วแลกเงินในซองจดหมายลงทะเบียนจ่าหน้าซองถึงโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานบุรุษไปรษณีย์ ได้รับมอบหมายให้นำไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวไปส่งให้แก่ผู้รับ แต่ในการส่งนั้นจำเลยที่ 2 ได้ทำหลักฐานใบรับปลอมขึ้นว่ามีบุคคลในบ้านเดียวกันกับโจทก์ที่ 2 รับแทน แล้วแอบอ้างตัวเองเป็นโจทก์ที่ 2 นำตั๋วแลกเงินไปรับเงินจากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาราชปรารภ อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ แม้ พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 จะบัญญัติถึงความรับผิดของกรมไปรษณีย์ไว้เป็นพิเศษก็ตาม แต่เมื่อกรณีนี้เป็นเรื่องละเมิด มิใช่เป็นการทำผิดสัญญารับขน พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 จึงไม่เป็นประโยชน์แก่กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อทรัพย์สินที่โจทก์ต้องเสียไปเพราะการละเมิดนั้นคือเงินจำนวน 40,000 บาทตามตั๋วแลกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 2 เอาไป ซึ่งเป็นความเสียหายโดยตรงจากการละเมิดของจำเลยที่ 2 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ราคาทรัพย์จำนวนดังกล่าวให้โจทก์
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2518 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการละเมิดของพนักงานจากความประมาทในการส่งตั๋วแลกเงิน
โจทก์ที่ 1 ส่งตั๋วแลกเงินจำนวน 40,000 บาทของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาเบตงให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยบรรจุตั๋วแลกเงินในซองจดหมายลงทะเบียนจ่าหน้าซองถึงโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานบุรุษไปรษณีย์ ได้รับมอบหมายให้นำไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวไปส่งให้แก่ผู้รับ แต่ในการส่งนั้นจำเลยที่ 2 ได้ทำหลักฐานใบรับปลอมขึ้นว่ามีบุคคลในบ้านเดียวกันกับโจทก์ที่ 2 รับแทน แล้วแอบอ้างตัวเองเป็นโจทก์ที่ 2 นำตั๋วแลกเงินไปรับเงินจากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาราชปรารภ อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ แม้พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 จะบัญญัติถึงความรับผิดของกรมไปรษณีย์ไว้เป็นพิเศษก็ตาม แต่เมื่อกรณีนี้เป็นเรื่องละเมิด มิใช่เป็นการทำผิดสัญญารับขน พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ 2477 จึงไม่เป็นประโยชน์แก่กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อทรัพย์สินที่โจทก์ต้องเสียไปเพราะการละเมิดนั้นคือเงินจำนวน 40,000 บาทตามตั๋วแลกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 2 เอาไป ซึ่งเป็นความเสียหายโดยตรงจากการละเมิดของจำเลยที่ 2 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ราคาทรัพย์จำนวนดังกล่าวให้โจทก์ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารและไปรษณีย์ต่อการจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินที่ถูกแก้ไข และความประมาทเลินเล่อในการดูแลส่งมอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลย 5 โดยระบุตำแหน่งหน้าที่การงานมาด้วย ให้รับผิดต่อโจทก์ในการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการฟ้องให้รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว ที่โจทก์กล่าวถึงตำแหน่งหน้าที่การงานของจำเลยมาด้วยนั้นก็เพื่อให้นายจ้างและกรมเจ้าสังกัดของจำเลยต้องร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลย
โจทก์ขอซื้อตั๋วแลกเงิน 3 ฉบับจากธนาคารออมสิน สาขาปทุมวันซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่ 1 ส่งไปให้ ท. ที่จังหวัดสตูลโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแต่หายไป โจทก์ได้แจ้งความต่อตำรวจและขออายัดเงินที่ธนาคารออมสิน สาขาปทุมวัน แต่ปรากฏว่ามีผู้ขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว 2 ฉบับ โดยไปรับเงินจากธนาคารออมสิน สาขาศรีราชาและสาขาหนองมน ก่อนโจทก์แจ้งอายัดตั๋วแลกเงินที่มีผู้รับเงินไปแล้วนั้นมีรอยต่อเติมชื่อและนามสกุลของ ท. ในช่องจ่ายซึ่งมองเห็นได้ชัดทั้งสีหมึกและรอยต่อเติมตัวอักษร การจ่ายเงินของผู้จัดการธนาคารออมสินสาขาศรีราชาและสาขาหนองมน จึงเป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่อในฐานะที่มีหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการจ่ายเงินจำเลยที่ 2ผู้จัดการสาขาธนาคารออมสินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินไปจึงต้องรับผิด และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมด้วย
โจทก์ส่งตั๋วแลกเงินพร้อมกับจดหมายไปให้ ท. โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แต่มิได้แจ้งการส่งตั๋วแลกเงินให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายไปรษณีย์ทราบ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่รับผิดชอบแต่เฉพาะไปรษณียภัณฑ์ที่ส่งไปหายเท่านั้น ซึ่งตามระเบียบกรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ฉบับละ 40 บาท แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าไปรษณียภัณฑ์ที่สูญหาย หากแต่เรียกร้องเงินตามตั๋วแลกเงินที่สูญหายไปซึ่งจำเลยที่ 5 ไม่มีหน้าที่จะต้องรู้และรับผิดในวัตถุอันมีค่าที่บรรจุอยู่ในไปรษณียภัณฑ์นั้น การที่ตั๋วแลกเงินของโจทก์สูญหายไป เป็นความเสียหายที่จำเลยที่ 5 ไม่สามารถจะคาดเห็นได้จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดอันเป็นผลถึงกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 4 ด้วย
คำบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารและไปรษณีย์ต่อการจ่าย/ส่ง ตั๋วแลกเงินที่ถูกแก้ไขและสูญหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลย 5 โดยระบุตำแหน่งหน้าที่การงานมาด้วย ให้รับผิดต่อโจทก์ในการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการฟ้องให้รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว ที่โจทก์กล่าวถึงตำแหน่งหน้าที่การงานของจำเลยมาด้วยนั้นก็เพื่อให้นายจ้างและกรมเจ้าสังกัดของจำเลยต้องร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลย
โจทก์ขอซื้อตั๋วแลกเงิน 3 ฉบับจากธนาคารออมสิน สาขาปทุมวัน ซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่ 1 ส่งไปให้ ท. ที่จังหวัดสตูลโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแต่หายไป โจทก์ได้แจ้งความต่อตำรวจและขออายัดเงินที่ธนาคารออมสิน สาขาปทุมวัน แต่ปรากฏว่ามีผู้ขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว 2 ฉบับ โดยไปรับเงินจากธนาคารออมสิน สาขาศรีราชาและสาขาหนองมน ก่อนโจทก์แจ้งอายัดตั๋วแลกเงินที่มีผู้รับเงินไปแล้วนั้นมีรอยต่อเติมชื่อและนามสกุลของ ท. ในช่องจ่ายซึ่งมองเห็นได้ชัดทั้งสีหมึกและรอยต่อเติมตัวอักษร การจ่ายเงินของผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาศรีราชาและสาขาหนองมน จึงเป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่อในฐานะที่มีหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ผู้จัดการสาขาธนาคารออมสินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินไปจึงต้องรับผิด และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมด้วย
โจทก์ส่งตั๋วแลกเงินพร้อมกับจดหมายไปให้ ท. โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แต่มิได้แจ้งการส่งตั๋วแลกเงินให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายไปรษณีย์ทราบ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่รับผิดชอบแต่เฉพาะไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ส่งไปหายเท่านั้น ซึ่งตามระเบียบกรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ฉบับละ 40 บาท แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าไปรษณีย์ภัณฑ์ที่สูญหาย หากแต่เรียกร้องเงินตามตั๋วแลกเงินที่สูญหายไป ซึ่งจำเลยที่ 5 ไม่มีหน้าที่จะต้องรู้และรับผิดในวัตถุอันมีค่าที่บรรจุอยู่ในไปรษณีย์ภัณฑ์นั้น การที่ตั๋วแลกเงินของโจทก์สูญหายไป เป็นความเสียหายที่จำเลยที่ 5 ไม่สามารถจะคาดเห็นได้จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิด อันเป็นผลถึงกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 4 ด้วย
คำบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: ใช้มาตรา 164 (10 ปี) ไม่ใช่มาตรา 624 (1 ปี) และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยรับขนของของโจทก์จากประเทศไทยไปยังประเทศฟิลิปปินส์โดยทางเรือเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า"รับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" แต่ในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี และบทบัญญัติเรื่องอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ได้บัญญัติไว้แล้วว่า" อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นท่านให้มีกำหนด 10ปี" ฉะนั้นอายุความฟ้องร้องกรณีนี้จึงต้องใช้กำหนด10 ปี (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1583/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องการรับขนของทางทะเล: ใช้ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยรับขนของของโจทก์จากประเทศไทยไปยังประเทศฟิลิปปินส์โดยทางเรือเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า "รับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" แต่ในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี และบทบัญญัติเรื่องอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ได้บัญญัติไว้แล้วว่า " อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนด 10ปี" ฉะนั้นอายุความฟ้องร้องกรณีนี้จึงต้องใช้กำหนด 10ปี (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1583/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้าทางทะเล, อายุความ, การส่งมอบสินค้า, และความรับผิดของผู้ทรงใบตราส่ง
การรับขนของจากประเทศเดนมารค์และนอร์เวย์มายังประเทศไทย แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 ซึ่งในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การตกลงกันให้ใช้กฎหมายเดนมาร์คบังคับแก่ข้อพิพาท ย่อมจะให้ใช้ได้เพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย
กฎหมายเรื่องอายุความ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย ฉะนั้น ข้อตกลงหรือเงื่อนไขในใบตราส่งในส่วนที่จะให้มีผลถึงการใช้กฎหมายเรื่องอายุความของกฎหมายเดนมาร์คมาบังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงใช้บังคับไม่ได้
แม้โจทก์จะไปรับสินค้าจากจำเลยเป็นเวลาล่าช้าก็ดี ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะรับสินค้านั้นจากจำเลย หากการล่าช้านั้นเป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่จำเลยอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันได้
โจทก์เป็นผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบตามใบกำกับสินค้าซึ่งมีรายการตามใบตราส่งและซึ่งมีอยู่ที่จำเลยนั้น ปรากฏว่า รายการเกี่ยวกับผู้รับตราส่งลงไว้โดยมิได้ระบุชื่อผู้ใด แต่ลงว่า 'ตามคำสั่ง' ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ทรงใบตราส่ง แต่จำเลยกลับมอบสินค้านั้นแก่บริษัทอุดม จำกัด ไปโดยที่บริษัทอุดม จำกัด มิใช่ผู้รับตราส่งไม่ได้เป็นผู้ทรงใบตราส่ง เป็นการส่งโดยมิชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเช่นนั้นจำเลยก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นทั้งผู้ทรงใบตราส่งและผู้ทรงตั๋วแลกเงินตั๋วแลกเงินยังไม่ได้มีการใช้เงิน หนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
จำเลยอาจฟ้องธนาคารแหลมทอง จำกัด เรียกให้ชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาค้ำประกันที่ธนาคารแหลมทอง จำกัด เป็นผู้ค้ำประกัน ในการที่บริษัทอุดม จำกัด รับสินค้าไปจากจำเลย ถ้าหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยก็ย่อมจะขอให้เรียกธนาคารแหลมทอง จำกัดเข้ามาในคดีได้ แต่จะพิพากษาให้ธนาคารแหลมทองจำกัดต้องรับผิดแทนจำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดกับธนาคารแหลมทองจำกัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนของทางทะเล สิทธิของผู้ทรงใบตราส่ง การส่งมอบสินค้าโดยมิชอบ และข้อยกเว้นการใช้กฎหมายต่างประเทศ
การรับขนของจากประเทศเดนมารค์และนอร์เวย์มายังประเทศไทยแม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 ซึ่งในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การตกลงกันให้ใช้กฎหมายเดนมาร์คบังคับแก่ข้อพิพาท ย่อมจะให้ใช้ได้เพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย
กฎหมายเรื่องอายุความ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย ฉะนั้น ข้อตกลงหรือเงื่อนไขในใบตราส่งในส่วนที่จะให้มีผลถึงการใช้กฎหมายเรื่องอายุความของกฎหมายเดนมาร์คมาบังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงใช้บังคับไม่ได้
แม้โจทก์จะไปรับสินค้าจากจำเลยเป็นเวลาล่าช้าก็ดี ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะรับสินค้านั้นจากจำเลย หากการล่าช้านั้นเป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่จำเลยอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันได้
โจทก์เป็นผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบตามใบกำกับสินค้าซึ่งมีรายการตามใบตราส่งและซึ่งมีอยู่ที่จำเลยนั้น ปรากฏว่า รายการเกี่ยวกับผู้รับตราส่งลงไว้โดยมิได้ระบุชื่อผู้ใด แต่ลงว่า "ตามคำสั่ง" ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ทรงใบตราส่ง แต่จำเลยกลับมอบสินค้านั้นแก่บริษัทอุดมจำกัดไปโดยที่บริษัทอุดม จำกัด มิใช่ผู้รับตราส่งไม่ได้เป็นผู้ทรงใบตราส่ง เป็นการส่งโดยมิชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเช่นนั้น จำเลยก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นทั้งผู้ทรงใบตราส่งและผู้ทรงตั๋วแลกเงินตั๋วแลกเงินยังไม่ได้มีการใช้เงิน หนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
จำเลยอาจฟ้องธนาคารแหลมทอง จำกัด เรียกให้ชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาค้ำประกันที่ธนาคารแหลมทอง จำกัด เป็นผู้ค้ำประกันในการที่บริษัทอุดม จำกัด รับสินค้าไปจากจำเลย ถ้าหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยก็ย่อมจะขอให้เรียกธนาคารแหลมทอง จำกัดเข้ามาในคดีได้ แต่จะพิพากษาให้ธนาคารแหลมทองจำกัดต้องรับผิดแทนจำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดกับธนาคารแหลมทองจำกัด
of 10