คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 หนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์/ฎีกา เนื่องจากศาลชั้นต้นยกฟ้อง และการนำสืบพยานบุคคลแทนการมีหลักฐานหนังสือ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วมแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วมนั้นเป็นการไม่ชอบและถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การกู้ยืมเงินเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง การนำสืบถึงการตั้งตัวแทนจึงต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยลงลายมือชื่อที่ช่องผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินแทนจำเลยร่วม ปัญหาเรื่องข้อห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 กรณีจึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินโจทก์
เนื้อหาของฎีกาส่วนที่เป็นสาระสำคัญในประเด็นว่าโจทก์ส่งมอบเงินที่กู้ยืมให้เพียง 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดไว้ล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่เกินว่ากฎหมายกำหนด และจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วน ล้วนแต่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น คงมีส่วนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อยในรายละเอียด โดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง