คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 26

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน การส่งคำบังคับทางปิด และผลของการสั่งให้มีผลทันที
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายซึ่งศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไว้กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่า การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันทีแต่คำบังคับของศาลระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้ และให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า การปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึง ไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับ มีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า การส่งคำบังคับ ให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อ กำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาล เห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับ ได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับศาลแรงงานและการพิจารณาใหม่ การปิดคำบังคับมีผลเมื่อเวลาที่กำหนดล่วงพ้น
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายซึ่งศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไว้ กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.พ.มาตรา 208 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่าการส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันที แต่คำบังคับของศาลระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้ และให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า การปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับมีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: เหตุผลความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานไปยัง ศาลฎีกาต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง และเหตุในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 ได้ ในการย่นหรือขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่งมาตรา 26 ได้วางหลักเกณฑ์ว่าศาลแรงงานจะกระทำได้ต่อเมื่อ มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเท่านั้นไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยที่ 2อ้างว่าหลังจากศาลแรงงานกลางพิพากษาแล้ว ได้ยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษาตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2541 แต่เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่ายังพิมพ์ไม่เสร็จและผู้พิพากษายังไม่ได้ลงลายมือชื่อจึงขอคัดไม่ได้ จำเลยที่ 2 ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ศาลเพื่อขอรับสำเนาคำพิพากษาตลอดมา จนกระทั่งวันที่ 3 พฤศจิกายน2541 จำเลยที่ 2 จึงได้รับสำเนาคำพิพากษา อันเป็นเวลาล่วงเลยกำหนดเวลาที่จะยื่นอุทธรณ์ซึ่งหากคำร้อง ของ จำเลยที่ 2 เป็นความจริง จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำพิพากษานั้น ถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึง ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 สละสิทธิในการอุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางชอบที่จะไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยที่ 2 ว่าเป็นความจริงหรือไม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: การอ่านคำพิพากษาจริง vs. การรับทราบ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26 บัญญัติให้ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงาน มีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมเป็นบทบัญญัติไว้เฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แม้โจทก์ลงลายมือชื่อในหน้าสำนวนรับว่าศาลแรงงานกลาง ได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 แต่ตาม คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 โจทก์อ้างว่าตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ถึงปลายเดือนมิถุนายน 2541 โจทก์ติดตามผลคำพิพากษาคดีนี้ ตลอดมาก็ไม่พบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษา จนกระทั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 โจทก์ได้รับสำเนาคำพิพากษา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำร้องของ โจทก์ดังกล่าวกรณียังถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ให้โจทก์ฟัง กรณีย่อมมีเหตุที่จะขอขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะไต่สวนคำร้อง ของโจทก์ดังกล่าวว่าเป็นจริงตามคำร้องหรือไม่ ไม่ควร ด่วนยกคำร้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: พิจารณาความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม ไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26 บัญญัติให้ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แสดงให้เห็นว่าในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่งนั้น มาตรา 26ได้วางหลักเกณฑ์ว่าจะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ ฉะนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า พฤติการณ์ตามคำร้องของจำเลยมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้นั้นเท่ากับศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าคดียังไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยนั่นเอง เมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาในวันที่ 1 กันยายน 2540 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถ่ายคำพิพากษาวันที่ 2 กันยายน 2540 และแจ้งให้จำเลยทราบพร้อมทั้งแจ้งฐานะคดีเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 เพื่อขอคำยืนยันจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ ดังนี้ แม้ทนายจำเลยจะยังไม่ได้รับคำยืนยันในหนังสือจากจำเลย หากทนายจำเลยจะยังไม่ได้รับ คำยืนยันเป็นหนังสือจากจำเลย หากทนายจำเลยเห็นว่าคดีมี เหตุควรอุทธรณ์ก็น่าจะอุทธรณ์ไปก่อนได้ เพราะทนายจำเลยมี อำนาจกระทำได้อยู่แล้วตามใบแต่งทนายทั้งไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างใด การที่ทนายจำเลยไม่ได้รับแจ้งจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ดังกล่าวเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานกลางจะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: ศาลใช้ดุลพินิจตามความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 26 ได้บัญญัติในกรณีขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ.มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 31แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้ และระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯหรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แสดงว่า ในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง จะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 23 ไม่
ศาลแรงงานมีคำสั่งในคดีนี้ว่า พฤติการณ์ตามคำร้องของจำเลยมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้นั้นเท่ากับศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าคดียังไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะ-เวลาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยนั่นเอง
คดีนี้ศาลแรงงานอ่านคำพิพากษาในวันที่ 1 กันยายน 2540ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถ่ายคำพิพากษาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2540 และแจ้งให้จำเลยทราบพร้อมทั้งแจ้งฐานะคดีเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 เพื่อขอคำยืนยันจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ ดังนี้ แม้ทนายจำเลยจะยังไม่ได้รับคำยืนยันเป็นหนังสือจากจำเลย หากทนายจำเลยเห็นว่าคดีมีเหตุควรอุทธรณ์ก็น่าจะอุทธรณ์ไปก่อนได้ เพราะทนายจำเลยมีอำนาจกระทำได้อยู่แล้วตามใบแต่งทนาย ทั้งไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างใด การที่ทนายจำเลยไม่ได้รับแจ้งจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ดังกล่าว นับว่าเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6322/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องยื่นก่อนสิ้นกำหนดเวลายกเว้นเหตุสุดวิสัย คำร้องล่าช้าแม้มีเหตุผลก็ไม่อาจรับพิจารณาได้
อำนาจศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26,31เป็นอำนาจต่อเนื่องหลังจากที่คู่ความมีคำร้องขยายระยะเวลายื่นขอมาโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26,31 ก่อนแล้ว กล่าวคือศาลจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาได้ต่อเมื่อมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย แต่คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ได้ยื่นล่าช้าเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดแล้วโดยเหตุขัดข้องที่โจทก์อ้างอาศัยเป็นข้อแก้ตัวในความล่าช้าตามคำร้องมิใช่เหตุสุดวิสัย จึงไม่ได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามกฎหมาย คำร้องขอขยายระยะเวลาของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลไม่อาจรับพิจารณาและสั่งขยายระยะเวลาให้ได้ไม่ว่าจะมีเหตุจำเป็นตามที่โจทก์อ้างหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5075/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงานต้องยื่นคำขอก่อนหมดเวลา หากพ้นกำหนดต้องมีเหตุสุดวิสัยเท่านั้น
การขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26คู่ความต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าหากยื่นคำขอเมื่อพ้นหรือสิ้นระยะเวลากรณีต้องมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5075/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฟ้องคดีแรงงาน: เงื่อนไขการยื่นคำขอและเหตุสุดวิสัย
การขยายระยะเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 คู่ความต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าหากยื่นคำขอเมื่อพ้นหรือสิ้นระยะเวลา กรณีต้องมีเหตุสุดวิสัยตามป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5075/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงานต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลา หรือมีเหตุสุดวิสัยตามกฎหมาย
การขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 26 คู่ความต้องยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าหากยื่นคำขอเมื่อพ้นหรือสิ้นระยะเวลา กรณีต้องมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
of 4