พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์กรณียึดทรัพย์บุคคลภายนอกในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องรับผิดจากความประมาท
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการรวบรวม จัดการ และจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) หาได้รวมถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่มิได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ด้วยไม่ การที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้ผู้คัดค้านยึดโรงงานพิพาทที่มิใช่ของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 และมีบุคคลภายนอกร้องคัดค้านการยึดจนในที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ปล่อยโรงงานพิพาทคืนแก่บุคคลภายนอก เช่นนี้ ตามพฤติการณ์และวิสัยของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมจะต้องรู้อยู่แล้วว่าโรงงานพิพาทมิใช่เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นความสำศัญผิดของผู้ร้องก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ร้อง ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อไม่มีพฤติการณ์ใดแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมเข้าใจว่าสิ่งปลูกสร้างซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินเป็นส่วนควบของที่ดินแปลงนั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าการยึดโรงงานพิพาทบนที่ดินจำนองหลักประกันของผู้ร้องเป็นความผิดของผู้คัดค้านผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขอให้ผู้คัดค้านยึดโรงงานพิพาทเพื่อประโยชน์ของผู้ร้องฝ่ายเดียวจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกในคดีล้มละลายหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย การตั้งผู้แทนลูกหนี้ที่ตาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 87 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา หรือเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้วก็ดี กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายยังคงต้องดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตายมาใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 6 คำว่า "กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย" หมายความรวมถึง กระบวนพิจารณาไม่ว่าจะกระทำต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงคดีสิ้นสุด คดีนี้จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังคงมีอำนาจเก็บรวบรวมจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไปจนกว่าคดีสิ้นสุดตามมาตรา 22 (1) (2) และกรณีถือเป็นเหตุให้ต้องมีการจัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย โดยจะต้องมีทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์เข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไป เมื่อผู้ร้องแถลงยอมรับแล้วว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย จึงเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยที่ 2 สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ย่อมตกทอดแก่ผู้ร้องแต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดก แม้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย เกินกว่า 1 ปี นับแต่จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย ศาลก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาตั้งผู้ร้องเป็นผู้ร้องเป็นผู้แทนลูกหนี้ที่ตายเพื่อที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้ตามสัญญาเช่าและการดำเนินการตามกฎหมาย
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นค่าเสียหายจำนวน 17,500,000 บาท โดยระบุในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินฯ ด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ว่าให้ผู้ชำระบัญชีหรือผู้มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ทำสัญญาเช่าที่ดินรวม 17 แปลง กับเจ้าหนี้ และจดทะเบียนการเช่าเป็นเวลา 15 ปี หากปฏิบัติไม่ได้ให้ชำระค่าเสียหายตามที่ขอรับชำระหนี้โดยเจ้าหนี้อ้างสิทธิตามสัญญาเช่าฉบับเดิมว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ชอบที่จะดำเนินการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) ปฏิบัติตามสัญญาตามมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ก่อน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าเสียหายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 92 ประกอบมาตรา 122 วรรคสอง เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันทีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ใช่ขอรับจากคำพิพากษา
บทบัญญัติมาตรา 93 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ หมายความว่า กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แทนลูกหนี้และศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนกระทั่งพิพากษาตามประเด็นแห่งคดีนั้น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่การที่ศาลจังหวัดเชียงรายซึ่งผู้ร้องทั้งสิบสองได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยออกจากสารบบความนั้น ย่อมไม่มีคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาระหว่างโจทก์ (ผู้ร้องในคดีนี้) กับจำเลยอีกต่อไปไม่มีการแพ้ชนะคดี และการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 25 หรือไม่นั้นย่อมเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอประการใดต่อศาล ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรดังที่ศาลจังหวัดเชียงรายได้ใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยออกจากสารบบความ ซึ่งมิใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี ผู้ร้องทั้งสิบสองจึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 93 แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสิบสองต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาแทนจำเลยตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) และ 122
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: จำกัดวงตามจำนวนหนี้ที่ฟ้อง
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 155 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ และรับผิดในบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลาย แต่เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว อำนาจในการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) แม้ไม่มีโจทก์นำยึด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจทำการยึดทรัพย์ได้เองและยึดทรัพย์ของจำเลยได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องพิจารณาถึงจำนวนหนี้ของโจทก์ ดังเช่นคดีแพ่งตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 284 บัญญัติไว้ เนื่องจากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย สาเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ไม่ใช่เพราะโจทก์ขอถอนฟ้องหรือขอถอนการยึดทรัพย์ การที่จะให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 179 (3) โดยไม่พิจารณายอดหนี้ที่โจทก์ฟ้อง ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมแก่โจทก์อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายดังกล่าวจึงควรอยู่ในขอบเขตไม่เกินยอดจำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องทายาทในฐานะผู้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหลังการล้มละลาย: อำนาจศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์เพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของบริษัท ท. เป็นการฟ้องกองมรดกของผู้ตายเป็นลูกหนี้ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เฉพาะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น มิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องผู้ตายให้ล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ตายเด็ดขาด ทั้งมิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 82 แต่อย่างใด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายหรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายแทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1) และ (2) จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีสิทธิต่อสู้คดีที่โจทก์ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้
แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 เพื่อให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ต่อไปมาด้วย แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 เพื่อให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ต่อไปมาด้วย แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองตามชื่อในทะเบียน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ศ.เป็นบุคคลล้มละลายได้มอบอำนาจให้โจทก์โอนที่ดินที่มีโฉนดและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) รวมจำนวน 45 แปลงให้โจทก์ โดยอ้างว่า ศ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ การที่ ศ.มีชื่อในโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1773 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองดังนั้น ที่ดินทั้ง 45 แปลงดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 109 (1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 22 (1) ศ.บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 24 ศ.จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินของบุคคลล้มละลาย: สิทธิอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผลของการมอบอำนาจ
ศ. เป็นบุคคลล้มละลายได้มอบอำนาจให้โจทก์โอนที่ดินที่มีโฉนดและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) รวมจำนวน45 แปลงให้โจทก์ โดยอ้างว่า ศ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ การที่ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1773 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองดังนั้น ที่ดินทั้ง 45 แปลงดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 109(1)เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22(1)ศ.บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาให้โอนทรัพย์สิน แม้เป็นคดีก่อนล้มละลาย
เดิมผู้ร้องได้ฟ้องจำเลยกับพวกขอให้โอนที่ดิน 1 แปลงให้ผู้ร้อง คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้ผู้ร้อง และให้ผู้ร้องจ่ายเงินให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยถูกโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำพิพากษาแทนผู้ล้มละลาย ดังนี้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธต้องปฏิเสธภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่ทราบตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 122 ถ้าปฏิเสธเกินกำหนดหรือไม่ปฏิเสธเลย ก็ต้องผูกพันตามภาระนั้น และโดยที่มาตรา 22(1) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการตามที่จำเป็นเพื่อให้กิจการที่ค้างอยู่เสร็จไป ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำบังคับในคดีที่ผู้ร้องชนะความนั้นได้
การขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องขอรับเงิน และผู้ขอจะได้รับชำระหนี้เงินตามส่วนเฉลี่ยจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ ฉะนั้น จะนำมาใช้แก่กรณีในเรื่องโอนที่ดินตามคำพิพากษามิได้
การขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องขอรับเงิน และผู้ขอจะได้รับชำระหนี้เงินตามส่วนเฉลี่ยจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ ฉะนั้น จะนำมาใช้แก่กรณีในเรื่องโอนที่ดินตามคำพิพากษามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาให้โอนทรัพย์สิน แม้เป็นคดีก่อนล้มละลาย
เดิมผู้ร้องได้ฟ้องจำเลยกับพวกขอให้โอนที่ดิน 1 แปลงให้ผู้ร้อง คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้ผู้ร้อง และให้ผู้ร้องจ่ายเงินให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยถูกโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำพิพากษาแทนผู้ล้มละลาย ดังนี้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธ ต้องปฏิเสธภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่ทราบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 122 ถ้าปฏิเสธเกินกำหนดหรือไม่ปฏิเสธเลย ก็ต้องผูกพันตามภาระนั้น และโดยที่มาตรา 22(1) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการตามที่จำเป็นเพื่อให้กิจการที่ค้างอยู่เสร็จไป ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำบังคับในคดีที่ผู้ร้องชนะความนั้นได้
การขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องขอรับเงิน และผู้ขอจะได้รับชำระหนี้เงินตามส่วนเฉลี่ยจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ ฉะนั้น จะนำมาใช้แก่กรณีในเรื่องโอนที่ดินตามคำพิพากษามิได้
การขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องขอรับเงิน และผู้ขอจะได้รับชำระหนี้เงินตามส่วนเฉลี่ยจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ ฉะนั้น จะนำมาใช้แก่กรณีในเรื่องโอนที่ดินตามคำพิพากษามิได้