คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12758/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีทรัพย์สินจำนองหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน & อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย
คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน 2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับคดีหลังการพิทักษ์ทรัพย์: ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องไม่สามารถใช้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
แม้ผู้ถูกทวงหนี้มิได้ปฏิเสธหนี้เป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นหนี้เด็ดขาดตามกฎหมาย และต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวออกขายโดยวิธีประมูลซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ซื้อได้ แต่การขอออกคำบังคับ การขอออกหมายบังคับคดี และการขอให้ศาลมีคำสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ถูกทวงหนี้ไว้ชั่วคราวก่อนศาลมีคำสั่งในเรื่องนี้นั้นเป็นอำนาจเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ประกอบมาตรา 22 (2) ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากลูกหนี้จึงมีเพียงสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อพิพาทที่จะดำเนินการทวงถามและฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันในทางแพ่งต่อไป แต่ไม่อาจขอเข้าสวมสิทธิอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดกในคดีล้มละลายหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย การตั้งผู้แทนลูกหนี้ที่ตาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 87 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา หรือเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้วก็ดี กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายยังคงต้องดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตายมาใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 6 คำว่า "กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย" หมายความรวมถึง กระบวนพิจารณาไม่ว่าจะกระทำต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงคดีสิ้นสุด คดีนี้จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังคงมีอำนาจเก็บรวบรวมจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไปจนกว่าคดีสิ้นสุดตามมาตรา 22 (1) (2) และกรณีถือเป็นเหตุให้ต้องมีการจัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย โดยจะต้องมีทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์เข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไป เมื่อผู้ร้องแถลงยอมรับแล้วว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย จึงเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยที่ 2 สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ย่อมตกทอดแก่ผู้ร้องแต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดก แม้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย เกินกว่า 1 ปี นับแต่จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย ศาลก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาตั้งผู้ร้องเป็นผู้ร้องเป็นผู้แทนลูกหนี้ที่ตายเพื่อที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องทายาทในฐานะผู้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหลังการล้มละลาย: อำนาจศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์เพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของบริษัท ท. เป็นการฟ้องกองมรดกของผู้ตายเป็นลูกหนี้ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เฉพาะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น มิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องผู้ตายให้ล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ตายเด็ดขาด ทั้งมิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 82 แต่อย่างใด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายหรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายแทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1) และ (2) จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีสิทธิต่อสู้คดีที่โจทก์ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้
แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 เพื่อให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ต่อไปมาด้วย แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการชำระหนี้โดยไม่ชอบ
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมิสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (2)
ลูกจ้างและกรรมการของบริษัทจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยผู้ให้กู้ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป และการรับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง ใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้จากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้องให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันกับการบังคับคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดียังมีอำนาจดำเนินการได้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22(2)บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นแม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตามเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา110วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา112ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วนแต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา110วรรคท้าย ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายเพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่งแม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่1จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค4ลักษณะ2การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แต่ประการใดไม่โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ vs. สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดี: การรวบรวมทรัพย์สินลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงาน-บังคับคดีก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดี โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลาย เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่ง แม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบท-บัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483แต่ประการใดไม่ โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ที่ดินที่โอนชื่อแต่ยังเป็นของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องได้
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวแต่ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือสิทธิในที่ดินแทน ต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา109 (1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจรวบรวมที่ดินดังกล่าวไว้ในกองทรัพย์สินของผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินมิให้จำหน่ายโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ใดจนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเป็นวิธีการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์วิธีหนึ่งตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ หากผู้มีชื่อถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ทำการโอนที่ดินนั้นไปยังบุคคลอื่นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22, 24 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483การโอนย่อมตกเป็นโมฆะและใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่จำกัดระยะเวลา หากยังไม่ได้รับชำระและบริษัทฯ ยังดำรงอยู่
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่ แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกจึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับความสำคัญการชำระหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องเสนอคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์และธนาคารส่งเงินของจำเลยมาให้ตามหมายอายัดของศาลแล้ว ต่อมาจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายซึ่งผู้คัดค้านเป็นโจทก์ ดังนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในอีกคดีหนึ่ง จะขอรับเงินดังกล่าวส่วนที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่ผู้ร้องได้แต่ขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการและกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27 และ 28 เท่านั้น และผู้คัดค้านจะขอให้ศาลส่งเงินที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ในคดีนี้ไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายก็ไม่ได้ เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(2)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวม และรับเงินหรือทรัพย์สินที่จะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
of 2