คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/28

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความของหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและการรับชำระหนี้ที่เชื่อมโยงกัน
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว สัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า"ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)..." และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญา หนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ หนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้วสัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า "ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)" และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญาหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความหนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองจากบัตรเครดิต: การให้บริการบัตรเครดิตถือเป็นการรับทำการงานต่าง ๆ มีอายุความ 2 ปี
แม้โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่การที่โจทก์ให้บริการแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรที่โจทก์ออกให้ไปใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันที มีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกค่าธรรมเนียมจากสมาชิกด้วยจึงเป็นการประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ แก่สมาชิกเมื่อโจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ไปแล้วมาเรียกเก็บจากสมาชิกบัตรในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปีโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2534 พร้อมทั้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตร ดังนี้อย่างช้าที่สุดจะครบกำหนดอายุความในวันที่ 23 พฤษภาคม 2536 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 จึงขาดอายุความแล้ว การรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องกระทำก่อนที่จะขาดอายุความ จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์บางส่วนภายหลังจากขาดอายุความแล้ว จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การชำระหนี้ภายหลังขาดอายุความดังกล่าวมีผลเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกเงินที่ชำระไปคืนไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/28 วรรคหนึ่งเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองบัตรเครดิต: การรับสภาพหนี้และการชำระหนี้หลังขาดอายุความ
แม้โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่การที่โจทก์ให้บริการแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรที่โจทก์ออกให้ไปใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันที มีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกค่าธรรมเนียมจากสมาชิกด้วย จึงเป็นการประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ แก่สมาชิก เมื่อโจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ไปแล้วมาเรียกเก็บจากสมาชิกบัตรในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7) การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2534 พร้อมทั้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตร ดังนี้อย่างช้าที่สุดจะครบกำหนดอายุความในวันที่ 23 พฤษภาคม 2536แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 จึงขาดอายุความแล้ว
การรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องกระทำก่อนที่จะขาดอายุความ จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์บางส่วนภายหลังจากขาดอายุความแล้ว จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การชำระหนี้ภายหลังขาดอายุความดังกล่าวมีผลเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกเงินที่ชำระไปคืนไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับสภาพหนี้มีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ และการชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจนำไปหักชำระต้นเงินได้
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน 6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่ สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับสภาพหนี้ไม่เป็นประนีประนอมยอมความ ดอกเบี้ยสูงกว่ากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาทจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000 บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญา-ประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับสภาพหนี้ที่กำหนดดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมายเป็นโมฆะ และการชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจนำไปหักต้นเงินได้
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน 6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่ สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
of 2