พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สรรพากรจังหวัดประมาทเลินเล่อไม่ตรวจตัดปีภาษี ทำให้เกิดการทุจริตและเสียหายต่อภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ได้ละเลยไม่ควบคุมตรวจตราในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่2 และของ ส.เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและทำให้ ส. ทุจริตยักยอกเงินไปตามจำนวนในฟ้องการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับความเสียหายแม้ฟ้องโจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ไม่ตรวจแบบรายการเสียภาษีบัญชีงบเดือนเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินฉบับใด เดือนใด ปีใด จำนวนเท่าใด ไม่ตรวจตัดปีที่ไหน ก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบทั้งจำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้คดีได้โดยไม่ผิดหลง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
เงินที่ ส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมายกรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้วส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้องคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรม ได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส. ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเองเมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วยและได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าวฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือนมีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส. รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 จนถึงปลายปีพ.ศ.2505ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่งๆ ไม่ตรงกันและเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส. ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ.2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้การกระทำของจำเลยที่3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เงินที่ ส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมายกรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้วส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้องคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรม ได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส. ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเองเมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วยและได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าวฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือนมีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส. รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 จนถึงปลายปีพ.ศ.2505ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่งๆ ไม่ตรงกันและเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส. ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ.2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้การกระทำของจำเลยที่3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สรรพากรจังหวัดละเลยการตรวจตัดปีภาษี ทำให้เกิดการทุจริตและเสียหายต่อรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ได้ละเลยไม่ควบคุมตรวจตราในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส.เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและทำให้ ส.ทุจริตยักยอกเงินไปตามจำนวนในฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ฟ้องโจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ไม่ตรวจแบบรายการเสียภาษีบัญชีงบเดือน เงินผลประโยชน์ของแผ่นดินฉบับใด เดือนใด ปีใด จำนวนเท่าใด ไม่ตรวจตัดปีที่ไหน ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบ ทั้งจำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้คีดได้โดยไม่ผิดหลง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
เงินที่ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมาย กรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้ว ส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้อง คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรมได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส.ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเอง เมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วย และได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือน มีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อ ๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส.รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปลายปี พ.ศ. 2505 ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่ง ๆ ไม่ตรงกัน และเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส.ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ. 2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เงินที่ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมาย กรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้ว ส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้อง คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรมได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส.ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเอง เมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วย และได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือน มีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อ ๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส.รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปลายปี พ.ศ. 2505 ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่ง ๆ ไม่ตรงกัน และเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส.ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ. 2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันหนังสือมอบอำนาจที่ไม่มีตราบริษัท ศาลรับฟังได้หากมีการยืนยันและส่งมอบเอกสารที่ถูกต้อง
บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทน โดย ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท เป็นผู้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจตามภาพถ่ายท้ายฟ้อง ซึ่งไม่ได้ประทับตราบริษัทก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ส. ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้สัตยาบันในการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องมาด้วย โดยชี้แจงประกอบว่าภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องได้เอาฉบับที่ไม่มีตราประทับส่งมาโดยความเข้าใจผิดของ บ. การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในทางแพ่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็คงให้ถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง การที่ ส. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องและชี้แจงประกอบด้วย ย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใด เมื่อพิจารณามาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยแล้ว ศาลชอบที่จะพึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวนี้ได้ บ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1780/2493)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันหนังสือมอบอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้มีอำนาจฟ้องคดีได้
บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทน โดย ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท เป็นผู้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจตามภาพถ่ายท้ายฟ้องซึ่งไม่ได้ประทับตราบริษัทก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ส. ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้สัตยาบันในการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องมาด้วย โดยชี้แจงประกอบว่าภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องได้เอาฉบับที่ไม่มีตราประทับส่งมาโดยความเข้าใจผิดของ บ. การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในทางแพ่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็คงให้ถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง การที่ ส. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่ บ. ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์พร้อมทั้งขอส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจอันมีตราของบริษัทประทับถูกต้องและชี้แจงประกอบด้วย ย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใด เมื่อพิจารณามาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยแล้ว ศาลชอบที่จะพึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวนี้ได้ บ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1780/2493)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451-2452/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหกรณ์และการมอบอำนาจให้กรรมการดำเนินคดีแทน
โจทก์ที่ 1 เป็นสหกรณ์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการดำเนินงานเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนเมื่อ คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติตามข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 มอบหมายให้กรรมการ 2 นายเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลยแทนโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 1 โดยกรรมการ 2 นายนั้นก็ฟ้องจำเลยได้ หาเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 801(5) ไม่
โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จัดซื้อข้าวโพดคนเดียวจำเลยที่ 2 เข้าไปร่วมซื้อข้าวโพดกับจำเลยที่ 1 เองโดยไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 1 ในเรื่องที่ขอรับเงินทดรองไปซื้อข้าวโพดส่งไปเหมือนกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวโพดส่งไปจากโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จัดซื้อข้าวโพดคนเดียวจำเลยที่ 2 เข้าไปร่วมซื้อข้าวโพดกับจำเลยที่ 1 เองโดยไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 1 ในเรื่องที่ขอรับเงินทดรองไปซื้อข้าวโพดส่งไปเหมือนกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวโพดส่งไปจากโจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451-2452/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลและการมอบอำนาจดำเนินคดีตามข้อบังคับสหกรณ์
โจทก์ที่ 1 เป็นสหกรณ์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการดำเนินงานเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนเมื่อคณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติตามข้อบังคับของโจทก์ที่ 1มอบหมายให้กรรมการ 2 นายเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลยแทนโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 1 โดยกรรมการ 2 นายนั้นก็ฟ้องจำเลยได้ หาเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 801(5) ไม่
โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จัดซื้อข้าวโพดคนเดียวจำเลยที่ 2 เข้าไปร่วมซื้อข้าวโพดกับจำเลยที่ 1 เองโดยไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 1 ในเรื่องที่ขอรับเงินทดรองไปซื้อข้าวโพดส่งไปเหมือนกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวโพดส่งไปจากโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จัดซื้อข้าวโพดคนเดียวจำเลยที่ 2 เข้าไปร่วมซื้อข้าวโพดกับจำเลยที่ 1 เองโดยไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 1 ในเรื่องที่ขอรับเงินทดรองไปซื้อข้าวโพดส่งไปเหมือนกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวโพดส่งไปจากโจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบรายละเอียดการซื้อขายโดยตัวแทน ไม่ถือเป็นการนำสืบนอกฟ้อง และผลการรับผิดของตัวแทนและผู้ถูกมอบหมาย
ในคดีฟ้องเรียกให้ชำระเงินค่าซื้อวัสดุก่อสร้างที่ค้างชำระโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ติดต่อขอซื้อไปจากโจทก์ แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า จำเลยได้มอบให้ ก. เป็นตัวแทนมาติดต่อขอซื้อไปจากโจทก์ดังนี้ เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการติดต่อขอซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์อันเป็นมูลแห่งหนี้ ซึ่งเกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดีโดยตรง มิใช่เป็นการนำสืบนอกข้อหาในคำฟ้องอันจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1025/2516)
เมื่อ ก. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างในฐานะตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
เมื่อ ก. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างในฐานะตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบรายละเอียดการซื้อขายที่เป็นมูลหนี้ ไม่เป็นการนำสืบนอกข้อหา
ในคดีฟ้องเรียกให้ชำระเงินค่าซื้อวัสดุก่อสร้างที่ค้างชำระโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ติดต่อขอซื้อไปจากโจทก์ แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า จำเลยได้มอบให้ ก. เป็นตัวแทนมาติดต่อขอซื้อไปจากโจทก์ ดังนี้ เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการติดต่อขอซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์อันเป็นมูลแห่งหนี้ ซึ่งเกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดีโดยตรง มิใช่เป็นการนำสืบนอกข้อหาในคำฟ้องอันจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องไม่ได้(อ้างฎีกาที่ 1025/2516)
เมื่อ ก. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างในฐานะตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
เมื่อ ก. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างในฐานะตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิเรียงคำฟ้องแทนโจทก์ได้ แม้ไม่ใช่ทนายความ
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องได้จึงชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง รวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย หาจำต้องมอบอำนาจให้ทนายความเรียงหรือแต่งคำฟ้องให้อีกต่อหนึ่งไม่ ฉะนั้น คำฟ้องของโจทก์ซึ่งผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็น ผู้เรียงจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดี: ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิเรียง/แต่งคำฟ้องแทนโจทก์ได้ แม้ไม่ใช่ทนายความ
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องได้จึงชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง รวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย หาจำต้องมอบอำนาจให้ทนายความเรียงหรือแต่งคำฟ้องให้อีกต่อหนึ่งไม่ ฉะนั้น คำฟ้องของโจทก์ซึ่งผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)