พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลอื่นของนิติบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลธรรมดาได้และนิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมายไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เรื่องเป็นความนั้นอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นนิติบุคคลนั้นก็ย่อมเป็นตัวแทนฟ้องความตามที่ได้รับมอบอำนาจได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม ทางเดินร่วม การสร้างโรงรถบนที่ดินโต้แย้ง และกรรมสิทธิ์รวมในสิ่งปลูกสร้าง
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องมีใจความว่า ทางเดินพื้นคอนกรีตที่ได้ขยายขึ้นใหม่เพื่อเป็นทางคนและรถยนต์ผ่านเข้าออกระหว่างตัวบ้านกับถนนอรุณอัมรินทร์ภายในเส้นสีเขียวตามคำฟ้องข้อ 3 แผนที่ท้ายฟ้องหมายเลข 4ซึ่งเกิดขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยทั้งสองนั้น บัดนี้ได้ใช้ร่วมกันตลอดมาเป็นเวลาเกินสิบปีแล้วโจทก์จึงได้ภารจำยอมทางเดินพิพาทโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แล้วนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วและเป็นประเด็นที่ยกขึ้นใหม่จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม คำร้องขอเพิ่มเติม ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 แม้ในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ศ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ จะไม่มีคำว่า ทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นก็ตาม แต่หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุให้ ศ.มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย ในกรณีที่จำเลยปิดประตูเหล็กห้ามมิให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางไปสู่ที่ดินและบ้านของโจทก์อันหมายถึงปิดทางในที่ดินพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นก็ได้แล้วแต่กรณี การฟ้องคดีตามคำฟ้องของ ศ. เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของการมอบอำนาจของโจทก์ บิดาโจทก์เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3064 เดิม และ ส.เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2670 ได้สละที่ดินซึ่งคั่นกลางระหว่างที่ดินโจทก์กับจำเลยทั้งสองในปัจจุบันให้เป็นทางเดินร่วมกันเพื่อออกไปสู่ถนน ตั้งแต่ปี 2463 แล้ว จากนั้นบิดาโจทก์โจทก์ ญาติพี่น้องพร้อมทั้งบริวารได้ทางเดินดังกล่าวโดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภารจำยอมติดต่อกันมาเกินสิบปี โดยไม่มีผู้ใดทักท้วง เป็นการที่โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทโดยปรปักษ์ มิใช่โดยถือวิสาสะทางพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอม แม้ทางในกรอบสีเขียวที่โจทก์อ้างว่าก่อนตั้งขึ้นโดยสัญญา ระหว่างโจทก์กับ ป. บิดาจำเลยจะมีอยู่ก็ตาม แต่ตามนิติกรรมการก่อตั้งมิได้มีระยะเวลากำหนดไว้ให้ใช้ได้นานเพียงใด ฉะนั้นคู่กรณีหรือผู้รับโอนสิทธิต่อมาย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จากป.ไปปิดประตูเหล็กกั้นมิให้โจทก์และบริวารเข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาก่อตั้งทางภารจำยอมดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการได้มาทั้งยังมิได้สิทธิโดยอายุความ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทในกรอบสีเขียวได้อีกต่อไป โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายให้แก่ป. บิดาจำเลยในการก่อสร้างทำพื้นคอนกรีตโรงรถกับประตูเหล็กเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าก่อสร้างเพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคงถาวรเป็นประโยชน์แก่การใช้ทรัพย์ของโจทก์มิใช่ช่วยออกเงินโดยเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์นั้นโจทก์จึงไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในพื้นคอนกรีตและสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินโจทก์และ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นเป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความและการก่อตั้งทางภาระจำยอมด้วยสัญญา การใช้สิทธิและขอบเขตการฟ้องร้อง
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องมีใจความว่า ทางเดินพื้นคอนกรีตที่ได้ขยายขึ้นใหม่เพื่อเป็นทางคนและรถยนต์ผ่านเข้าออกระหว่างตัวบ้านกับถนนอรุณอัมรินทร์ภายในเส้นสีเขียวตามคำฟ้องข้อ 3 แผนที่ท้ายฟ้องหมายเลข 4 ซึ่งเกิดขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยทั้งสองนั้นบัดนี้ได้ใช้ร่วมกันตลอดมาเป็นเวลาเกินสิบปีแล้ว โจทก์จึงได้ภาระจำยอมทางเดินพิพาทโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา1382 แล้วนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วและเป็นประเด็นที่ยกขึ้นใหม่จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 180
แม้ในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ศ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ จะไม่มีคำว่า ทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นก็ตาม แต่หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุให้ ศ.มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย ในกรณีที่จำเลยปิดประตูเหล็กห้ามมิให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางไปสู่ที่ดินและบ้านของโจทก์ อันหมายถึงปิดทางในที่ดินพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นก็ได้แล้วแต่กรณี การฟ้องคดีตามคำฟ้องของ ศ.เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของการมอบอำนาจของโจทก์
บิดาโจทก์เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3164 เดิม และ ส.เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2670 ได้สละที่ดินซึ่งคั่นกลางระหว่างที่ดินโจทก์กับจำเลยทั้งสองในปัจจุบันให้เป็นทางเดินร่วมกันเพื่อออกไปสู่ถนน ตั้งแต่ปี 2463 แล้ว จากนั้นบิดาโจทก์ โจทก์ ญาติพี่น้องพร้อมทั้งบริวารได้ทางเดินดังกล่าว โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินสิบปี โดยไม่มีผู้ใดทักท้วง เป็นการที่โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทโดยปรปักษ์ มิใช่โดยถือวิสาสะทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอม
แม้ทางในกรอบสีเขียวที่โจทก์อ้างว่าก่อตั้งขึ้นโดยสัญญาระหว่างโจทก์กับ ป.บิดาจำเลยจะมีอยู่ก็ตาม แต่ตามนิติกรรมการก่อตั้งมิได้มีระยะเวลากำหนดไว้ให้ใช้ได้นานเพียงใด ฉะนั้นคู่กรณีหรือผู้รับโอนสิทธิต่อมาย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จาก ป.ได้ปิดประตูเหล็กกั้นมิให้โจทก์และบริวารเข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาก่อตั้งทางภาระจำยอมดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการได้มาทั้งยังมิได้สิทธิโดยอายุความ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทในกรอบสีเขียวได้อีกต่อไป
โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายให้แก่ ป.บิดาจำเลยในการก่อสร้างทำพื้นคอนกรีตโรงรถกับประตูเหล็กเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าก่อสร้างเพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคงถาวรเป็นประโยชน์แก่การใช้ทรัพย์ของโจทก์ มิใช่ช่วยออกเงินโดยเจตนาเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์นั้น โจทก์จึงไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในพื้นคอนกรีตและสิ่งปลูกสร้างนั้น
ที่โจทก์ฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินโจทก์และ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
แม้ในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ศ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ จะไม่มีคำว่า ทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นก็ตาม แต่หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุให้ ศ.มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย ในกรณีที่จำเลยปิดประตูเหล็กห้ามมิให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางไปสู่ที่ดินและบ้านของโจทก์ อันหมายถึงปิดทางในที่ดินพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นก็ได้แล้วแต่กรณี การฟ้องคดีตามคำฟ้องของ ศ.เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของการมอบอำนาจของโจทก์
บิดาโจทก์เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3164 เดิม และ ส.เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2670 ได้สละที่ดินซึ่งคั่นกลางระหว่างที่ดินโจทก์กับจำเลยทั้งสองในปัจจุบันให้เป็นทางเดินร่วมกันเพื่อออกไปสู่ถนน ตั้งแต่ปี 2463 แล้ว จากนั้นบิดาโจทก์ โจทก์ ญาติพี่น้องพร้อมทั้งบริวารได้ทางเดินดังกล่าว โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินสิบปี โดยไม่มีผู้ใดทักท้วง เป็นการที่โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทโดยปรปักษ์ มิใช่โดยถือวิสาสะทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอม
แม้ทางในกรอบสีเขียวที่โจทก์อ้างว่าก่อตั้งขึ้นโดยสัญญาระหว่างโจทก์กับ ป.บิดาจำเลยจะมีอยู่ก็ตาม แต่ตามนิติกรรมการก่อตั้งมิได้มีระยะเวลากำหนดไว้ให้ใช้ได้นานเพียงใด ฉะนั้นคู่กรณีหรือผู้รับโอนสิทธิต่อมาย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จาก ป.ได้ปิดประตูเหล็กกั้นมิให้โจทก์และบริวารเข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาก่อตั้งทางภาระจำยอมดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการได้มาทั้งยังมิได้สิทธิโดยอายุความ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทในกรอบสีเขียวได้อีกต่อไป
โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายให้แก่ ป.บิดาจำเลยในการก่อสร้างทำพื้นคอนกรีตโรงรถกับประตูเหล็กเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าก่อสร้างเพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคงถาวรเป็นประโยชน์แก่การใช้ทรัพย์ของโจทก์ มิใช่ช่วยออกเงินโดยเจตนาเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์นั้น โจทก์จึงไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในพื้นคอนกรีตและสิ่งปลูกสร้างนั้น
ที่โจทก์ฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินโจทก์และ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจช่วง: การกำหนดจำนวนอากรแสตมป์สำหรับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแพ่ง
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจช่วงซึ่งระบุข้อความว่า "...ขอมอบอำนาจช่วงให้ พ. และ/หรือ ส. ...เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องช. ที่ 1 ว. ที่ 2 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในข้อหาหรือฐานความผิดเรื่องสัญญากู้ยืมเงินเบิกเงินเกินบัญชี (บัญชีเดินสะพัด) สัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกัน บังคับจำนำ บังคับจำนอง ตั๋วเงิน เรียกดอกเบี้ยค้าง เรียกค่าเสียหาย เบี้ยปรับ และค่าขาดประโยชน์อันเกิดจากการผิดสัญญาต่าง ๆ แทนบริษัท และให้มีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีและแก้ต่างคดีของบริษัท ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร และคดีล้มละลาย มีอำนาจทวงถาม บอกกล่าวจำนอง ดำเนินการบังคับจำนอง ตลอดจนดำเนินการใด ๆ ในชั้นบังคับคดีจนเสร็จการ ขอรับเงินหรือเอกสารจากศาลหรือองค์การของรัฐตลอดจนคู่ความ รวมทั้งให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิของบริษัทได้ เช่นการยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายเรียกร้อง การถอนฟ้องการประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ การมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจมอบอำนาจช่วงต่อไปให้บุคคลอื่นเข้ากระทำการแทนอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างหรือทุกอย่างตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจนี้..." ดังนี้ ข้อความที่ว่า...มอบอำนาจช่วงให้ พ. และ/หรือ ส.เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้กับมีข้อความอื่นตามที่ระบุข้างต้นนั้น เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท มิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์คนละ 30 บาท เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนบริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ใช้ฟ้องคดีได้, สัญญาค้ำประกัน, การบังคับจำนองเฉพาะส่วนของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกัน สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต และทรัสต์รีชีท เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2534จำเลยที่ 4 ตกลงเข้าค้ำประกันการชำระหนี้จำนวน 35,000,000บาท โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ตามคำฟ้องแสดงให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในหนี้ของจำเลยที่ 1 และขอให้บังคับจำเลยที่ 4 ใช้เงินตามสัญญาค้ำประกันจำนวน 35,000,000 บาท ชัดแจ้งแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์มอบอำนาจให้ ก. เป็นผู้ฟ้องร้องคดีแทนโจทก์หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน ระบุให้มีอำนาจยื่นฟ้องคดีแพ่งได้ทั่วไป แม้จะมิได้ระบุเจาะจงให้ฟ้องจำเลยในคดีนี้ ก็เป็นหนังสือมอบอำนาจที่สมบูรณ์ใช้ฟ้องร้องจำเลยในคดีนี้ได้ จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลย โจทก์ชอบที่จะบังคับจำนองได้เฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินทั้งหมดเป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์, บังคับจำนองเฉพาะส่วน, และความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกัน สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต และทรัสต์รีซีทเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2534จำเลยที่ 4 ได้ตกลงเข้าค้ำประกันการชำระหนี้จำนวน 35,000,000 บาท โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ตามคำฟ้องแสดงให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในหนี้ของจำเลยที่ 1 และขอให้บังคับจำเลยที่ 4 ใช้เงินตามสัญญาค้ำประกันจำนวน35,000,000 บาท ชัดแจ้งแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์มอบอำนาจให้ ก.เป็นผู้ฟ้องร้องคดีแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน ระบุให้มีอำนาจยื่นฟ้องคดีแพ่งได้ทั่วไป แม้จะมิได้ระบุเจาะจงให้ฟ้องจำเลยในคดีนี้ ก็เป็นหนังสือมอบอำนาจที่สมบูรณ์ใช้ฟ้องร้องจำเลยในคดีนี้ได้
จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลย โจทก์ชอบที่จะบังคับจำนองได้เฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินทั้งหมดเป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มอบอำนาจให้ ก.เป็นผู้ฟ้องร้องคดีแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน ระบุให้มีอำนาจยื่นฟ้องคดีแพ่งได้ทั่วไป แม้จะมิได้ระบุเจาะจงให้ฟ้องจำเลยในคดีนี้ ก็เป็นหนังสือมอบอำนาจที่สมบูรณ์ใช้ฟ้องร้องจำเลยในคดีนี้ได้
จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลย โจทก์ชอบที่จะบังคับจำนองได้เฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินทั้งหมดเป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ใช้ฟ้องได้, สัญญาค้ำประกัน, การบังคับจำนองเฉพาะส่วนของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คตั๋วสัญญาใช้เงินสัญญาค้ำประกันสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีชีทเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1เมื่อวันที่9กันยายน2534จำเลยที่4ตกลงเข้าค้ำประกันการชำระหนี้จำนวน35,000,000บาทโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่1จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงตามคำฟ้องแสดงให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่4รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในหนี้ของจำเลยที่1และขอให้บังคับจำเลยที่4ใช้เงินตามสัญญาค้ำประกันจำนวน35,000,000บาทชัดแจ้งแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์มอบอำนาจให้ก. เป็นผู้ฟ้องร้องคดีแทนโจทก์หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนระบุให้มีอำนาจยื่นฟ้องคดีแพ่งได้ทั่วไปแม้จะมิได้ระบุเจาะจงให้ฟ้องจำเลยในคดีนี้ก็เป็นหนังสือมอบอำนาจที่สมบูรณ์ใช้ฟ้องร้องจำเลยในคดีนี้ได้ จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยโจทก์ชอบที่จะบังคับจำนองได้เฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินทั้งหมดเป็นการไม่ชอบและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุถึง อ.มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นคดีนี้เท่านั้นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2แม้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้ามาในคดีเดียวกันและหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 แทนโจทก์ด้วยก็ตาม ก็หามีผลทำให้การมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์ที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปไม่ ปัญหาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์เป็นหลักว่าคำฟ้องของโจทก์เป็นหลักว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้วหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ ส่วนปัญหาว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมกับที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่เพื่อวินิจฉัยข้อแพ้ชนะในประเด็นข้อพิพาทนั้นต่อไป ในประเด็นที่ว่าสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางและเป็นการโอนสิทธิโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 และไม่มีค่าตอบแทนจึงตกเป็นโมฆะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอุทธรณ์หรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและจำเลยที่ 1 ก็มิได้คัดค้านโดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจในประเด็นที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์มาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ส่วนข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่นั้น ย่อมรวมถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อยู่ในตัว เพราะก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ได้นั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อันเป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเสียก่อน หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแล้วนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่รวมอยู่ด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ก็เป็นเพียงความเข้าใจผิดของโจทก์ที่เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เท่านั้น คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพียงใด และแม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบ ถึงค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลก็มีอำนาจ กำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การฟ้องเคลือบคลุม, ประเด็นข้อพิพาท, สัญญาโอนสิทธิ, ความรับผิดทางสัญญา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุให้ อ.มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นคดีนี้เท่านั้น การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 2 แม้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้ามาในคดีเดียวกันและหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 แทนโจทก์ด้วยก็ตาม ก็หามีผลทำให้การมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์ที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปไม่
ปัญหาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์เป็นหลักว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้วหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่
ส่วนปัญหาว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมกับที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่เพื่อวินิจฉัยข้อแพ้ชนะในประเด็นข้อพิพาทนั้นต่อไป
ในประเด็นที่ว่าสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางและเป็นการโอนสิทธิโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2และไม่มีค่าตอบแทนจึงตกเป็นโมฆะ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นอุทธรณ์หรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและจำเลยที่ 1 ก็มิได้คัดค้านโดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจในประเด็นที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์มาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ส่วนข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่นั้น ย่อมรวมถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อยู่ในตัว เพราะก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ได้นั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อันเป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเสียก่อนหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแล้วนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อคดีมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่รวมอยู่ด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ก็เป็นเพียงความเข้าใจผิดของโจทก์ที่เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เท่านั้น คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพียงใด และแม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบถึงค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่เห็นสมควรได้
ปัญหาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์เป็นหลักว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้วหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่
ส่วนปัญหาว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมกับที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่เพื่อวินิจฉัยข้อแพ้ชนะในประเด็นข้อพิพาทนั้นต่อไป
ในประเด็นที่ว่าสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางและเป็นการโอนสิทธิโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2และไม่มีค่าตอบแทนจึงตกเป็นโมฆะ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นอุทธรณ์หรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและจำเลยที่ 1 ก็มิได้คัดค้านโดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจในประเด็นที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์มาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ส่วนข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่นั้น ย่อมรวมถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อยู่ในตัว เพราะก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ได้นั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อันเป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเสียก่อนหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแล้วนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อคดีมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่รวมอยู่ด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ก็เป็นเพียงความเข้าใจผิดของโจทก์ที่เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เท่านั้น คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพียงใด และแม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบถึงค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9695/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมอบคดีเช็ค & ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค: การมอบอำนาจก่อนเกิดความผิด & ขอบเขตอำนาจ
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็ครวม 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้เพราะจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค คำฟ้องดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิด ผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม.แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังนั้นเมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับ ก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม.ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ทีมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิด ผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม.แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังนั้นเมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับ ก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม.ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ทีมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4