คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 801

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ถูกต้องและผลของการไม่คัดค้านเอกสารพยานหลักฐาน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "....ฯลฯ.... ข้าพเจ้า อ.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 1/11 ซอยวัฒนโยธิน ถนนราชวิถี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ขอมอบอำนาจให้ ม. ....ฯลฯ....เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้าในกิจการดังต่อไปนี้ ข้อ 1.ให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ว.ผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจแก้ฟ้องแย้งของจำเลย และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนข้าพเจ้าได้ทุกประการ...." การมอบอำนาจตามข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว มิใช่มอบอำนาจทั่วไปให้แก่ ม. จึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ก) ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ได้ปิดอากรแสตมป์10 บาท ครบถ้วนแล้วในวันยื่นฟ้อง ศาลจึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ภายหลังโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปติดอากรแสตมป์เพิ่มอีก 20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขออนุญาตปิดอากรแสตมป์จากศาล ก็หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นกลับเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาศัยหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการที่ระบุประเภทคดีชัดเจน แม้ไม่ได้ระบุชื่อจำเลย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความว่าโจทก์ขอมอบอำนาจให้ม.เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดราชบุรีเป็นคดีแพ่งเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายกับทั้งมีอำนาจลงลายมือชื่อแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีในศาลแทนโจทก์ได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดเจนให้ม. มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายต่อศาลจังหวัดราชบุรีแทนโจทก์ได้จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60เพื่อให้ม. ฟ้องคดีเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายต่อศาลจังหวัดราชบุรีแทนโจทก์ไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใดดังนั้นแม้หนังสือมอบอำนาจไม่มีข้อความระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ม. ฟ้องจำเลยที่1และที่3หรือผู้ใดแต่เมื่อมีข้อความระบุไว้แล้วว่าโจทก์มอบอำนาจให้ม. ฟ้องคดีแพ่งและเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายต่อศาลจังหวัดราชบุรีแทนโจทก์ได้ม. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาบัตรเครดิต: การพิสูจน์หนี้และการใช้สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องในส่วนที่คิดอัตราดอกเบี้ยถึงวันฟ้องให้ตรงกับวันที่ที่โจทก์ยื่นคำฟ้องตามความเป็นจริงไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่อย่างใดส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องคำนวณให้ถูกต้องอีกขั้นตอนหนึ่ง หนังสือมอบอำนาจเป็นกรณีที่ตัวการมอบหมายให้ตัวแทนทำกิจการใดๆที่มิใช่กิจการเฉพาะตัวแทนตัวการตัวการย่อมมอบอำนาจให้ตัวแทนทำกิจการใดๆล่วงหน้ารวมทั้งการฟ้องคดีได้โดยไม่จำกัดเวลาและไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใดส่วนตัวการจะมีอำนาจฟ้องบุคคลใดได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาในขณะยื่นคำฟ้องว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของตัวการตามกฎหมายแพ่งหรือไม่โจทก์มอบอำนาจให้ ย. มีอำนาจทำกิจการต่างๆตามที่ระบุไว้รวมทั้งฟ้องคดีเรียกร้องหนี้สินฯลฯด้วยมิใช่เป็นกรณีที่ ย. ซึ่งเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ใช้บัตรเครดิต วีซ่าที่โจทก์มอบให้ไปใช้จ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่างๆแต่จำเลยไม่นำเงินมาหักทอนบัญชีกับโจทก์จึงเป็นหนี้โจทก์จำนวนหนึ่งจำเลยให้การปฏิเสธว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะก่อภาระหนี้โดยใช้บัตรเครดิต วีซ่าของโจทก์ภาระหนี้ที่โจทก์อ้างเกิดขึ้นจากแหล่งอื่นซึ่งเป็นผู้ทำขึ้นจำเลยจึงไม่เป็นลูกหนี้โจทก์และไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์คำให้การของจำเลยมิได้อ้างเหตุแห่งการนั้นว่าจำเลยมิได้เป็นลูกหนี้และไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เพราะเหตุใดเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, การแก้ไขคำฟ้อง, และคำให้การที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องในส่วนที่คิดอัตราดอกเบี้ยถึงวันฟ้องให้ตรงกับวันที่ที่โจทก์ยื่นคำฟ้องตามความเป็นจริง ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่อย่างใดส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องคำนวณให้ถูกต้องอีกขั้นตอนหนึ่ง ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจเป็นกรณีที่ตัวการมอบหมายให้ตัวแทนทำกิจการใด ๆ ที่มิใช่กิจการเฉพาะตัว แทนตัวการ ตัวการย่อมมอบอำนาจให้ตัวแทนทำกิจการใด ๆ ล่วงหน้า รวมทั้งการฟ้องคดีได้โดยไม่จำกัดเวลา และหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนั้นไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด ส่วนตัวการจะมีอำนาจฟ้องบุคคลใดได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่จะพิจารณาในขณะยื่นคำฟ้องว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของตัวการตามกฎหมายแพ่งหรือไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ย.มีอำนาจทำกิจการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้รวมทั้งฟ้องคดีเรียกร้องหนี้สิน ฯลฯ ด้วย เนื้อหาในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่ ย.ซึ่งเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปจากโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 801 ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตที่โจทก์มอบให้ไปใช้จ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ โจทก์ได้แจ้งรายการใช้บัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายแทนไปให้จำเลยตามกำหนดในแต่ละเดือน จำเลยไม่นำเงินมาหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นเวลาหลายเดือน ภาระหนี้ ณ วันที่ 26 เมษายน 2533 จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 294,702.43 บาท จำเลยให้การปฏิเสธแต่เพียงว่า จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะก่อภาระหนี้โดยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ ภาระหนี้ที่โจทก์อ้างเกิดขึ้นจากแหล่งอื่นซึ่งเป็นผู้ทำขึ้น จำเลยจึงไม่เป็นลูกหนี้โจทก์ และไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยมิได้อ้างเหตุแห่งการนั้นไว้ในคำให้การว่าจำเลยมิได้เป็นลูกหนี้โจทก์ และไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดซึ่งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, สิทธิของโจทก์, การผูกนิติสัมพันธ์, หลักฐานหนี้, คำให้การไม่ชัดเจน
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ที่ทำขึ้นก่อนที่จำเลยผูกนิติสัมพันธ์กับโจทก์ซึ่งเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีล่วงหน้าก็มีผลใช้ได้ โจทก์มอบอำนาจให้ย. มีอำนาจทำกิจการต่างๆตามที่ระบุไว้รวมทั้งฟ้องคดีเรียกร้องหนี้สินเนื้อหาในหนังสือมอบอำนาจจึงมิใช่เป็นกรณีที่ย. ซึ่งเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ย่อมสมบูรณ์มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตที่โจทก์มอบให้ไปใช้จ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่างๆโจทก์ได้แจ้งรายการใช้บัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายแทนไปให้จำเลยตามกำหนดในแต่ละเดือนจำเลยไม่นำเงินมาหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นเวลาหลายเดือนจำเลยเป็นหนี้โจทก์294,702.43บาทจำเลยให้การปฏิเสธแต่เพียงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะก่อภาระหนี้โดยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ภาระหนี้ที่โจทก์อ้างเกิดขึ้นจากแหล่งอื่นซึ่งเป็นผู้ทำขึ้นจำเลยจึงไม่เป็นลูกหนี้โจทก์และไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์คำให้การของจำเลยมิได้อ้างเหตุแห่งการนั้นไว้ในคำให้การว่าจำเลยมิได้เป็นลูกหนี้โจทก์และไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เพราะเหตุใดจึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดซึ่งเหตุแห่งการนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6106/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, หนังสือค้ำประกัน, และความรับผิดของผู้บริหารบริษัทเงินทุน
จำเลยที่ 3 ไม่ได้อ้างเหตุในคำให้การว่า ช. และ ก.ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเพราะเหตุใด ดังนี้คำให้การปฏิเสธของจำเลยที่ 3 ไม่มีเหตุแห่งการนั้นจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวเมื่อโจทก์นำสืบโดยมีหนังสือรับรองของนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาแสดงว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง ช. และก. เป็นกรรมการของโจทก์ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ดำเนินการแทนโจทก์ได้ และมีหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ ซึ่ง ช. และ ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดคดีนี้รวมทั้งแต่งตั้งทนายความได้ด้วย ทั้ง ธ. ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยืนยันว่า ช. และก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ธ.ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจโจทก์ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ประเด็นข้อที่จำเลยฎีกา จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็ถือไมไ่ด้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1เกิดจากความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้บริหารงานของบริษัทเงินทุนโจทก์เพื่อมิให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชนที่นำเงินมาฝากโจทก์ และเพราะเกรงว่าโจทก์จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนจากกระทรวงการคลัง เป็นการเข้าค้ำประกันด้วยความสมัครใจ จึงเป็นการยอมตนเข้าผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันนั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันเพราะได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันแล้วจะไม่ดำเนินคดีอาญา ถ้าไม่ลงลายมือชื่อจะดำเนินคดีอาญา เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระทำการตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่ที่จะทำให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 และ 127 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทน การส่งมอบเงินมัดจำ และสิทธิในการได้รับค่าบำเหน็จเมื่อตัวแทนกระทำผิดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า จำเลยขายสินค้าโจทก์แล้วไม่ส่งมอบเงินมัดจำค่าสินค้าแก่โจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยในฐานะตัวแทนขายได้รับทรัพย์สินไว้แทนตัวการแล้วมิได้ส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เป็นการผิดสัญญาตัวแทนและบรรยายคำขอบังคับ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์โดยมีหลักฐานการสั่งซื้อสินค้าพร้อมหนังสือของจำเลยที่รับทราบการสั่งซื้อสินค้า และยอมรับการเป็นตัวแทนขายสินค้าให้แก่โจทก์ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรของโจทก์ในประเทศไทย จำเลยมีหน้าที่แนะนำผู้ซื้อเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องจักรให้ถูกต้อง ดูแลให้มีการตรวจสอบเครื่องจักรทุกชิ้นก่อนที่จะใช้เครื่องจักรดังกล่าว และจะต้องรับผิดชอบในการให้บริการหลังการขายตามสัญญา จำเลยจึงเป็นตัวแทนของโจทก์มิใช่นายหน้า จำเลยจะต้องส่งมอบเงินมัดจำให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 811 เมื่อสัญญาตัวแทนมีข้อกำหนดว่า ราคาสินค้าที่ตัวแทนจะเสนอแก่ผู้จะซื้อนั้น จะต้องไม่สูงเกินกว่ารายการราคาสินค้าที่ส่งให้แก่ตัวแทน ดังนั้นการขายสินค้าเกินราคาให้แก่ลูกค้า และไม่ส่งเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จึงเป็นการที่ตัวแทนทำมิชอบด้วยหน้าที่ ตัวแทนไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันทุนการศึกษา: อำนาจผู้ลงนาม, การปฏิบัติตามสัญญา, และขอบเขตการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อคัดเลือกบุคคลไปศึกษา รัฐบาลไทยจึงมีส่วนได้เสียในทุนดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้สอบคัดเลือกได้และได้ทำสัญญาการรับทุนกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา จำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องรับผิดตามข้อความในสัญญาที่ทำไว้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชดใช้เงินตามข้อตกลงในสัญญา จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ขณะทำสัญญา ผ. เป็นอธิบดีกรมโจทก์ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ช. รองอธิบดีรักษาราชการแทน ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 44 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทน ช.จึงมีอำนาจมอบให้ ช. ซึ่งเป็นวิทยากรพิเศษลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทน ช. จึงลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ สัญญาค้ำประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาต่อแม้จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการและรับเงินเดือนอยู่ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษาต่อมารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาการรับทุนจะต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญาการรับทุนทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2530 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งทางทะเล: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้าหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือสภาพสินค้า
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นและเพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.ได้แต่งตั้งให้ น. และหรือ ว. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนห้างหุ้นส่วนได้แก่ ฟ้องร้อง ต่อสู้คดี ดำเนินคดี และดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาในศาลทั้งหลายของประเทศไทยหรือองค์การใด ๆ ของรัฐบาลในประเทศไทยต่อจำเลยทั้งห้า ฟ้องร้องดำเนินคดีล้มละลายแก่ลูกหนี้ในประเทศไทยและกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึง 5 ดังนี้ เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ค) ท้ายประมวลรัษฎากร แม้โจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว แต่ก็เป็นการกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.หาใช่โจทก์ทั้งสามต่างคนต่างมอบอำนาจเป็นการเฉพาะตัวไม่ เมื่อเป็นการมอบอำนาจให้บุคคล 2 คน ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์สำหรับผู้รับมอบอำนาจคนละ 30 บาทหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 60 บาท เท่านั้น การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113 และ 114ก็ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในชั้นสืบพยานโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 150 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องปิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้วแม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้เสียเงินเพิ่มอากรศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงที่จำเลยฎีกาเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) คดีพิพาทเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเล ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง กำหนดให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ปรากฏว่าขณะเกิดข้อพิพาทยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขนมาใช้บังคับโดยถือเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 บัญญัติว่าผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นบุบสลายเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการบุบสลายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับขนส่งสินค้าลำไยพิพาทโดยมีหน้าที่ต้องจัดหาตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นสำหรับควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2มอบตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำการขนส่งเพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเรือบรรทุกสินค้า จำเลยที่ 2เป็นผู้ว่าจ้างโดยมีข้อตกลงกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่าเป็นการส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นภายในบรรจุลำไยสดจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงทราบดีว่าสินค้าภายในตู้เป็นผลไม้สดที่ต้องใช้ตู้ทำความเย็นเพื่อรักษาความสดของผลไม้ไว้ เหตุที่จำเลยที่ 3และที่ 4 อ้างว่าสินค้าลำไยพิพาทต้องเสียหายเป็นเพราะความบกพร่องของตู้คอนเทนเนอร์ ท่อน้ำยารั่ว ตู้ดังกล่าวจึงไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ เจ้าหน้าที่เรือไม่อาจซ่อมแซมขณะเรือแล่นอยู่ในทะเลได้นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบุบสลายหรือเสียหายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง ทั้งไม่ปรากฏว่าสินค้าต้องบุบสลายหรือเสียหายเพราะความผิดของผู้ขนส่งหรือผู้รับตราส่งแต่อย่างใด การขนส่งของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดร่วมกันในการบุบสลายหรือเสียหายนั้นต่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ผู้รับตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการดำเนินคดีแทนบริษัท: การมอบอำนาจต้องระบุชัดเจนถึงการยื่นคำร้องในชั้นศาล
ตามหนังสือมอบอำนาจไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทผู้ร้องมอบอำนาจให้ ช.ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีในชั้นศาลเพื่อขอรถยนต์ของกลางคืนช. จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้
of 17