พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105-2106/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง: การตีความขอบเขตอำนาจตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจ ระบุให้ พ. มีอำนาจกระทำการต่างๆ แทนโจทก์รวมทั้งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์และให้มอบอำนาจช่วงได้ด้วย โดยแยกรายละเอียดดังกล่าวเป็นข้อๆ ไว้ ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงไม่ถูกจำกัดอำนาจในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคสอง (5) เพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ไว้แจ้งชัดแล้ว ทั้งเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีแทนโจทก์ มิใช่เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการตามมาตรา 800 ที่จะต้องระบุชื่อผู้ซึ่งจะต้องถูกฟ้องคดีตามที่มอบอำนาจไว้ นอกจากนี้การมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อจำกัดแจ้งชัดจากโจทก์ผู้มอบอำนาจเอง ก็ย่อมหมายถึงให้ดำเนินคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ด้วย ดังนั้น พ. ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์โดยสมบูรณ์ในขณะที่ยื่นฟ้อง จึงมีอำนาจมอบอำนาจช่วงตามหนังสือมอบอำนาจช่วงให้ ม. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจช่วง: การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแพ่งและอาญาต้องจำกัดเฉพาะกิจการเดียวตามหนังสือมอบอำนาจ
ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 โจทก์มอบอำนาจให้ บ. กระทำกิจการตามที่ได้ระบุไว้รวม 15 ข้อ โดยข้อ 15 ระบุว่า "กิจการที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ผู้รับมอบอำนาจจะมอบอำนาจช่วงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของธนาคารคนใดเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงกระทำการแทนก็ได้ แต่การมอบอำนาจช่วงเช่นว่านี้จะทำได้ครั้งหนึ่งเฉพาะกิจการอย่างหนึ่งเท่านั้น จะมอบอำนาจให้กระทำการแทนโดยทั่วไปหรือในกิจการหลายอย่างในการมอบอำนาจช่วงครั้งหนึ่งๆ ไม่ได้" เช่นนี้ ผู้รับมอบอำนาจจะมอบอำนาจช่วงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กระทำการแทนก็ได้แต่ครั้งหนึ่งเฉพาะกิจการอย่างหนึ่ง จะมอบอำนาจให้กระทำกิจการหลายอย่างในการมอบอำนาจช่วงครั้งหนึ่งๆ หรือกระทำกิจการเดียวโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งไม่ได้ หนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารหมาย จ.3 มีข้อความว่า บ. ผู้รับมอบอำนาจ... ขอมอบอำนาจช่วงให้ ป. และ/หรือ พ.... มีอำนาจดำเนินการในกิจการดังต่อไปนี้กับ ธ. และ ศ. เพื่อประโยชน์ของธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) จนเสร็จการ ข้อ 1 ให้มีอำนาจติดตามหนี้สิน... ข้อ 2 มีอำนาจในการดำเนินคดีทางแพ่ง ได้แก่ การออกหนังสือบอกกล่าวและทวงถาม การฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งและการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีจนเสร็จการ เช่น รับเงินและเอกสารต่างๆ จากศาล ข้อ 3 ให้มีอำนาจในการดำเนินคดีอาญา ได้แก่ การแจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ...ฯลฯ ดังนี้จะเห็นได้ว่าการมอบอำนาจเช่นว่านี้เป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงกระทำการแทนหลายอย่าง คือ ฟ้องคดีแพ่ง ฟ้องคดีอาญา ร้องทุกข์กล่าวโทษในคดีอาญาต่อจำเลยทั้งสองโดยไม่จำกัดว่าเป็นกรณีเกี่ยวกับเรื่องใดโดยเฉพาะ จึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาได้ทุกเรื่องโดยมิได้จำกัดให้ฟ้องคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเรื่องเดียว เป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนาของโจทก์ที่แสดงไว้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 การมอบอำนาจช่วงให้ฟ้องตามหนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารหมาย จ.3 จึงเป็นการกระทำที่ผู้รับมอบอำนาจกระทำนอกเหนือขอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ผู้รับมอบอำนาจช่วงไม่มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงก่อน/หลังได้รับมอบอำนาจจากตัวการ และขอบเขตอำนาจฟ้องที่ชัดเจน
การที่ ส. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ภ. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วง แม้ขณะนั้น ส. ยังมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้เป็นผู้ฟ้องคดีแทนก็หาใช่เป็นเรื่องที่มิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้อันจะตกเป็นโมฆะไม่ ผลคงมีเพียงว่า ภ. ยังไม่อาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจช่วงที่ทำกันไว้ในขณะนั้นได้เท่านั้นต่อมาเมื่อ ส. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องคดีแทนแล้วก็มิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือทำหนังสือมอบอำนาจช่วงขึ้นใหม่หนังสือมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ มีผลทำให้ ภ. มีอำนาจแต่งตั้งทนายความยื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ ส. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เป็นต้นไป
ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคสอง (5) ห้ามมิให้ตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปฟ้องคดีแทนตัวการในกรณีที่การมอบอำนาจมิได้ระบุให้ตัวแทนฟ้องคดีแทนตัวการได้เท่านั้นแต่ข้อความในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ โดยให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ ที่กระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ รวมทั้งให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยตรงอยู่แล้ว และไม่จำต้องระบุไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลยที่ 1 หรือบุคคลใด หรือฟ้องข้อหาใด จึงเป็นการมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคสอง (5) ห้ามมิให้ตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปฟ้องคดีแทนตัวการในกรณีที่การมอบอำนาจมิได้ระบุให้ตัวแทนฟ้องคดีแทนตัวการได้เท่านั้นแต่ข้อความในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ โดยให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ ที่กระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ รวมทั้งให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยตรงอยู่แล้ว และไม่จำต้องระบุไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลยที่ 1 หรือบุคคลใด หรือฟ้องข้อหาใด จึงเป็นการมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ข้อพิพาทเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและการตรวจสอบอำนาจอนุญาโตตุลาการ
หนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุมอบอำนาจให้ ว. ยื่นฟ้อง ต่อสู้คดีดำเนินการไปจนสำเร็จในศาลทั้งปวงแทนผู้รับมอบอำนาจ ว. จึงมีอำนาจกระทำการแทนผู้รับมอบอำนาจในการยื่นฟ้องและดำเนินคดีในศาลได้ทุกคดีโดยไม่มีกำหนดเวลาจนกว่าผู้มอบอำนาจจะเพิกถอนการมอบอำนาจนั้น
สัญญาการเป็นหุ้นส่วน เป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับกลุ่มบุคคล กำหนดให้คู่สัญญาก่อตั้งบริษัทขึ้นภายใต้กฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าภายใต้สลากเครื่องหมายการค้าที่ตกลงกัน และในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัทผู้คัดค้าน โดยมีกลุ่มบุคคลลงลายมือชื่อในฐานะส่วนตัว และ อ. ลงลายมือชื่อในฐานะประธานบริษัทผู้คัดค้านซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคต โดยผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้ใบอนุญาตที่อนุมัติโดยผู้ร้องและภายใต้เครื่องหมายการค้าที่กำหนด สัญญาทั้งสองฉบับจึงเป็นสัญญาที่ผู้ริเริ่มก่อการบริษัทผู้คัดค้านได้กระทำไว้เพื่อก่อตั้งบริษัทผู้คัดค้านเพื่อถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเป็นบริษัทตามกฎหมายไทยแล้วก็ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าว โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของผู้ร้อง และได้อ้างข้อตกลงที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นต่อสู้คดีในศาล กับนำเสนอข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่ออนุญาโตตุลการ ดังนี้ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องผูกพันตามสัญญานั้น กรณีถือว่าผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่สัญญาโดยชอบและมิได้บกพร่องในเรื่องความสามารถแต่อย่างใด
สัญญาการเป็นหุ้นส่วน เป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับกลุ่มบุคคล กำหนดให้คู่สัญญาก่อตั้งบริษัทขึ้นภายใต้กฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าภายใต้สลากเครื่องหมายการค้าที่ตกลงกัน และในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัทผู้คัดค้าน โดยมีกลุ่มบุคคลลงลายมือชื่อในฐานะส่วนตัว และ อ. ลงลายมือชื่อในฐานะประธานบริษัทผู้คัดค้านซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคต โดยผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้ใบอนุญาตที่อนุมัติโดยผู้ร้องและภายใต้เครื่องหมายการค้าที่กำหนด สัญญาทั้งสองฉบับจึงเป็นสัญญาที่ผู้ริเริ่มก่อการบริษัทผู้คัดค้านได้กระทำไว้เพื่อก่อตั้งบริษัทผู้คัดค้านเพื่อถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเป็นบริษัทตามกฎหมายไทยแล้วก็ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าว โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของผู้ร้อง และได้อ้างข้อตกลงที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นต่อสู้คดีในศาล กับนำเสนอข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่ออนุญาโตตุลการ ดังนี้ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องผูกพันตามสัญญานั้น กรณีถือว่าผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่สัญญาโดยชอบและมิได้บกพร่องในเรื่องความสามารถแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทนผู้ขนส่ง: ตัวแทนไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้ขนส่งหากไม่ได้รับมอบหมาย
โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ประกอบธุรกิจตัวแทนของผู้ขนส่งในราชอาณาจักร เนื่องจากผู้ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงมอบให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการต่าง ๆ ที่ท่าต้นทางแทน โดยโจทก์จะได้รับบำเหน็จตัวแทนจากจำนวนค่าระวางที่ผู้ส่งชำระให้ โจทก์จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเล ให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 3 โจทก์เป็นตัวแทนสายการเดินเรือ ว. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่คู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางทะเลกับจำเลย ทั้งไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจตัวแทนผู้ขนส่งฟ้องคดีแทนผู้ขนส่งได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยที่สายการเดินเรือ ว. มิได้มอบอำนาจให้ดำเนินการ จึงไม่มีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการกำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการกำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้จัดการกิจการทรัพย์สิน: ศาลจำกัดอำนาจเฉพาะกิจการโรงเรียนเทคโนโลยี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ค่าจ้างก่อสร้างอาคารโรงเรียนเทคโนโลยี ร. การที่ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการกิจการโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. แทนจำเลยผู้ไม่อยู่ชั่วคราว จนกว่าจำเลยจะกลับมา และผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ผู้ร้องมีอำนาจ จัดการแต่เฉพาะในกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. อันเป็นกรณีที่ศาลสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคหนึ่ง หาใช่กรณีที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็น ผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง อันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับ ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่แม้ในเหตุฉุกเฉินผู้ร้องก็ไม่อาจจะก้าวล่วงไปจัดการในกิจการอื่นของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องไม่เคลือบคลุม-การคำนวณหนี้-เอกสารประกอบพยาน-การส่งเอกสารต่อศาล
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ตัวแทนกระทำกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจง ทั้งการฟ้องคดีก็มิได้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นบุคคลใด ย่อมมีผลเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว โจทก์จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องลูกหนี้ของโจทก์ได้ทุกคดีโดยไม่มีจำกัดจำนวนคดีและตัวบุคคล แม้โจทก์จะเคยใช้หนังสือมอบอำนาจฟ้องจำเลยมาแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171-3172/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนและดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาทรัสต์รีซีท: การพิจารณาความชอบธรรมของอัตราดอกเบี้ยและขอบเขตอำนาจตัวแทน
แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปเกี่ยวกับกิจการในสำนักงานสาขาชลบุรีของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 วรรคหนึ่ง แต่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ก็ไม่ถูกจำกัดอำนาจในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 801 วรรคสอง (5) เพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องคดีไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีสำหรับคดีต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นที่สาขาชลบุรีของโจทก์ ไม่ใช่เป็นการมอบอำนาจแต่เฉพาะการตามมาตรา 800 โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวในหนังสือมอบอำนาจโดยระบุชื่อนิติบุคคลหรือบุคคลที่จะต้องถูกดำเนินคดีหรือถูกฟ้องมาด้วย และการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีดังกล่าวย่อมหมายถึงให้ดำเนินคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาชลบุรีของโจทก์ ไม่ว่าคดีนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ดังนั้น ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์โดยสมบูรณ์ในขณะยื่นฟ้องจึงมีอำนาจแต่งตั้ง น. ทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับเงินไทยเท่าใดในวันที่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับถึงกำหนดชำระมาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์ก็ได้แนบสำเนาใบแจ้งการครบกำหนดชำระหนี้และสำเนาบัญชีแสดงยอดหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับมาท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องโดยระบุถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยที่ 1 สามารถตรวจดูเพื่อสู้คดีให้ถูกต้องได้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลาที่กำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นมากน้อยเพียงใดจึงจะเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์ได้มอบหมายให้ น. ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนอง ไปยังจำเลยที่ 1 โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว แม้จำนวนหนี้จำนองที่โจทก์เรียกร้องทวงถามจะสูงถึง 376,479,799.79 บาท แต่หนี้จำนวนดังกล่าวจำเลยที่ 1 ทราบดีว่าจะต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับก่อนหน้าที่ทนายโจทก์จะมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว และหลังจากนั้นอีก 1 ปีเศษ โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งไปให้จำเลยที่ 1 โดยให้เวลาจำเลยที่ 1 ชำระหนี้อันเป็นการไถ่ถอนจำนองได้อีก 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว ตามพฤติการณ์ถือได้ว่ากำหนดเวลาบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นพอสมควรและชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้
ตามสัญญาระบุไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญากับโจทก์ โดยดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่ไม่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราสูงสุดได้แก่ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) และตามสัญญาได้ระบุไว้ด้วยว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ค้างชำระในอัตราตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราเดียว คือ อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อสูงสุดของโจทก์ที่เรียกจากลูกค้าซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไข (ซีแอลอาร์) ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับเงินไทยเท่าใดในวันที่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับถึงกำหนดชำระมาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์ก็ได้แนบสำเนาใบแจ้งการครบกำหนดชำระหนี้และสำเนาบัญชีแสดงยอดหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับมาท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องโดยระบุถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยที่ 1 สามารถตรวจดูเพื่อสู้คดีให้ถูกต้องได้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลาที่กำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นมากน้อยเพียงใดจึงจะเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์ได้มอบหมายให้ น. ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนอง ไปยังจำเลยที่ 1 โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว แม้จำนวนหนี้จำนองที่โจทก์เรียกร้องทวงถามจะสูงถึง 376,479,799.79 บาท แต่หนี้จำนวนดังกล่าวจำเลยที่ 1 ทราบดีว่าจะต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับก่อนหน้าที่ทนายโจทก์จะมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว และหลังจากนั้นอีก 1 ปีเศษ โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งไปให้จำเลยที่ 1 โดยให้เวลาจำเลยที่ 1 ชำระหนี้อันเป็นการไถ่ถอนจำนองได้อีก 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว ตามพฤติการณ์ถือได้ว่ากำหนดเวลาบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นพอสมควรและชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้
ตามสัญญาระบุไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญากับโจทก์ โดยดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่ไม่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราสูงสุดได้แก่ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) และตามสัญญาได้ระบุไว้ด้วยว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ค้างชำระในอัตราตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราเดียว คือ อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคาร (จีแอลอาร์) เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อสูงสุดของโจทก์ที่เรียกจากลูกค้าซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไข (ซีแอลอาร์) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171-3172/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, หนังสือมอบอำนาจ, คำฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาทรัสต์รีซีท, การชำระหนี้
นาย อ. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาไปปฏิบัติราชการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ออกประกาศใช้ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ในฐานะ อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยได้รับคำสั่งจากรัฐมนตรีว่า การกระทรวงยุติธรรมให้ไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 มาตรา 21 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ดังนั้น อ. จึงมีอำนาจออกข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ได้ เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้โดยชอบแล้ว ข้อกำหนดดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้
แม้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จะเป็นตัวแทนซึ่งได้รับมอบหมายอำนาจทั่วไปเกี่ยวกับกิจการในสำนักงานสาขาชลบุรีของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ก็ไม่ถูกจำกัดอำนาจในการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 801 วรรคสอง (5) เพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ฟ้องคดีไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีสำหรับคดีต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นที่สาขาชลบุรีของโจทก์มิใช่เป็นการมอบอำนาจแต่เฉพาะการตามมาตรา 800 โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในหนังสือมอบอำนาจโดยระบุชื่อนิติบุคคลหรือบุคคลที่จะต้องถูกดำเนินคดีหรือถูกฟ้องมาด้วย และการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีดังกล่าวย่อมหมายถึงให้ดำเนินคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาชลบุรีของโจทก์ ไม่ว่าคดีนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจ ดังนั้น แม้หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ระบุชื่อจำเลยทั้งสี่ว่าเป็นผู้จะต้องถูกฟ้องก็ดี ขณะโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจ จำเลยที่ 1 ยังมิได้ทำสัญญาทรัสตรีซีทกับโจทก์และข้อพิพาทคดีนี้เพิ่งเกิดขึ้นหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจก็ดี ก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์โดยสมบูรณ์ในขณะยื่นฟ้องจึงมีอำนาจแต่งตั้ง น. ทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับเงินไทยเท่าใดในวันที่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับถึงกำหนดชำระมาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์ก็ได้แนบสำเนาใบแจ้งการครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องโดยเอกสารดังกล่าวได้ระบุถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยที่ 1 สามารถตรวจดูเพื่อต่อสู้คดีให้ถูกต้องได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6 แล้ว
แม้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จะเป็นตัวแทนซึ่งได้รับมอบหมายอำนาจทั่วไปเกี่ยวกับกิจการในสำนักงานสาขาชลบุรีของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ก็ไม่ถูกจำกัดอำนาจในการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 801 วรรคสอง (5) เพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ฟ้องคดีไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีสำหรับคดีต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นที่สาขาชลบุรีของโจทก์มิใช่เป็นการมอบอำนาจแต่เฉพาะการตามมาตรา 800 โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในหนังสือมอบอำนาจโดยระบุชื่อนิติบุคคลหรือบุคคลที่จะต้องถูกดำเนินคดีหรือถูกฟ้องมาด้วย และการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีดังกล่าวย่อมหมายถึงให้ดำเนินคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาชลบุรีของโจทก์ ไม่ว่าคดีนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจ ดังนั้น แม้หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ระบุชื่อจำเลยทั้งสี่ว่าเป็นผู้จะต้องถูกฟ้องก็ดี ขณะโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจ จำเลยที่ 1 ยังมิได้ทำสัญญาทรัสตรีซีทกับโจทก์และข้อพิพาทคดีนี้เพิ่งเกิดขึ้นหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจก็ดี ก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์โดยสมบูรณ์ในขณะยื่นฟ้องจึงมีอำนาจแต่งตั้ง น. ทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับเงินไทยเท่าใดในวันที่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับถึงกำหนดชำระมาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์ก็ได้แนบสำเนาใบแจ้งการครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องโดยเอกสารดังกล่าวได้ระบุถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยที่ 1 สามารถตรวจดูเพื่อต่อสู้คดีให้ถูกต้องได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลาง และการพิสูจน์ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. และ ธ. กระทำการแทนผู้ร้อง โดยให้มีอำนาจยื่นคำร้องขอรับรถของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1769/2542 ของศาลจังหวัดนราธิวาสคืน อันเป็นการแสดงว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งให้ ป. และ ธ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องได้ ซึ่งหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องไม่ได้จำกัดว่าผู้รับมอบอำนาจแต่ละคนจะต้องกระทำการร่วมกันตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งจึงสามารถยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กระบะที่เช่าซื้อจากผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของผู้เช่าซื้อ ทั้งโจทก์มิได้นำพยานเข้าสืบให้เห็นแตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงต้องคืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กระบะที่เช่าซื้อจากผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของผู้เช่าซื้อ ทั้งโจทก์มิได้นำพยานเข้าสืบให้เห็นแตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงต้องคืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง