พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน การถอนฟ้องเพื่อส่งคืนคดี และการรับฟังพยานผู้ต้องหา
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหม อยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบก กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการ กรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14 (2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14 (2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินของสำนักสงฆ์และวัด: อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงไม่รับ จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ฎีกาข้อเท็จจริงของจำเลยจึงเป็นอันยุติ คงมีปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของวัด/สำนักสงฆ์ในการครอบครองที่ดิน: การพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่ยกให้วัด/สำนักสงฆ์ และสิทธิในการครอบครอง
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงไม่รับ จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ฎีกาข้อเท็จจริงของจำเลยจึงเป็นอันยุติ คงมีปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, ความรับผิดของเจ้าสำนัก, และข้อยกเว้นความรับผิดที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
โรงแรมจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจฟ้องหรือถูกฟ้องคดีได้
หุ้นส่วนทุกคนมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนเป็นผู้จัดการโรงแรมจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจควบคุมและจัดการโรงแรมได้ชื่อว่าเป็นเจ้าสำนัก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
ป้ายประกาศยกเว้นความรับผิดระบุว่าทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินใดๆ ทั้งสิ้นนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา677
รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วๆไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ก็ไม่มีลักษณะเป็นของมีค่าตามความหมายของม.675 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฝากและบอกราคาชัดแจ้งกรณีไม่อยู่ในขอบข่ายที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 500 บาท
หุ้นส่วนทุกคนมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนเป็นผู้จัดการโรงแรมจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจควบคุมและจัดการโรงแรมได้ชื่อว่าเป็นเจ้าสำนัก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
ป้ายประกาศยกเว้นความรับผิดระบุว่าทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินใดๆ ทั้งสิ้นนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา677
รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วๆไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ก็ไม่มีลักษณะเป็นของมีค่าตามความหมายของม.675 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฝากและบอกราคาชัดแจ้งกรณีไม่อยู่ในขอบข่ายที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 500 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง: ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่มีสิทธิฟ้องแทนบริษัท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร. จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมบริษัท ร. แล้วตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสนอรายงานต่อจำเลยที่ 8 ว่าบริษัท ร. ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 8 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทร. ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยเพิกถอนเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการกระทำต่อบริษัท ร. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากโจทก์ทั้งสองผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็คือบริษัทร. ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ร. ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น/กรรมการ: ความเสียหายต้องเกิดต่อนิติบุคคลโดยตรง ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น/กรรมการ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร. จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมบริษัทร. แล้วตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสนอรายงานต่อจำเลยที่ 8 ว่าบริษัท ร. ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 8ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทร. ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยเพิกถอนเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการกระทำต่อบริษัท ร. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากโจทก์ทั้งสองผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็คือบริษัทร. ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ร. ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินของวัดร้าง: การยกฐานะวัดร้างเป็นวัดมีพระสงฆ์ทำให้สิทธิในทรัพย์สินยังคงอยู่และสืบทอดไปยังวัดใหม่
แม้จะยกฐานะวัดโจทก์จากวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ในปี พ.ศ. 2518 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการก็ตามแต่พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มิได้บัญญัติถึงวัดร้าง ฉะนั้นวัดร้างจึงมิได้เสียสภาพจากการเป็นวัดเพราะยังมิได้มีการยุบเลิกวัดร้าง และยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินที่เป็นของวัดได้อยู่ โดยให้พนักงานฝ่ายพระราชอาณาจักรเป็น ผู้ปกครองรักษาไว้แทน ต่อมาวัดโจทก์ได้รับการยกฐานะจากวัดร้าง ขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และเป็นผู้สืบทอดสิทธิต่างๆ ของวัดร้างนั้นมาจึงมีอำนาจเป็นโจทก์และมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของวัดร้างนั้นจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
จำเลยยกข้อต่อสู้ เรื่องการครอบครองปรปักษ์ไว้ในคำให้การแต่เมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถาน มิได้กำหนดปัญหาดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านแต่ ประการใด จึงถือว่าคู่ความได้สละเกี่ยวกับปัญหาข้อนี้แล้ว ศาล จะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยอีกไม่ได้เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
จำเลยยกข้อต่อสู้ เรื่องการครอบครองปรปักษ์ไว้ในคำให้การแต่เมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถาน มิได้กำหนดปัญหาดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านแต่ ประการใด จึงถือว่าคู่ความได้สละเกี่ยวกับปัญหาข้อนี้แล้ว ศาล จะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยอีกไม่ได้เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินของวัดร้าง: การยกฐานะวัดร้างเป็นวัดมีพระสงฆ์ทำให้วัดสืบทอดสิทธิเดิมได้
แม้จะยกฐานะวัดโจทก์จากวัดร้างข้นเป็นวันที่มีพระสงฆ์ในปี พ.ศ. 2518 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการก็ตาม แต่พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มิได้บัญญัติถึงวัดร้าง ฉะนั้นวัดร้างจึงมิได้เสียสภาพจากการเป็นวัด เพราะยังมิได้มีการยุบเลิกวัดร้าง และยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินที่เป็นของวัดได้อยู่ โดยให้พนักงานฝ่ายพระราชอาณาจักรเป็นผู้ปกครองรักษาไว้แทน ต่อมาวัดโจทก์ได้รับการยกฐานะจากวัดร้างขั้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และเป็นผู้สืบทอดสิทธิต่าง ๆ ของวัดร้างนั้นมา จึงมีอำนาจเป็นโจทก์และมีสิทธิติดตามเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของวัดร้างนั้นจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
จำเลยยกข้อต่อสู้ เรื่องการครอบครองปรปักษ์ไว้ในคำให้การ แต่เมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถาน มิได้กำหนดปัญหาดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านแต่ประการใด จึงถือว่าคู่ความได้สละเกี่ยวกับปัญหาข้อนี้แล้ว ศาลจะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยอีกไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
จำเลยยกข้อต่อสู้ เรื่องการครอบครองปรปักษ์ไว้ในคำให้การ แต่เมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถาน มิได้กำหนดปัญหาดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านแต่ประการใด จึงถือว่าคู่ความได้สละเกี่ยวกับปัญหาข้อนี้แล้ว ศาลจะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยอีกไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา