คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 72

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสร้างวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ส่งผลให้ไม่มีอำนาจฟ้องร้องเกี่ยวกับที่ดิน
วัดโจทก์จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2482 ก่อนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505ใช้บังคับ กรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ รัตนโกสินทรศก 121 การจะสร้างวัดขึ้นใหม่ตามกฎหมายดังกล่าวนี้จะต้องมีการขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างเสียก่อนจึงจะสร้างได้ แต่วัดโจทก์นี้ราษฎรพร้อมใจกันจัดสร้างขึ้นโดยไม่มีการขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้าง จึงเป็นการสร้างวัดขึ้นใหม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 9 แห่งกฎหมายดังกล่าว และไม่มีสภาพเป็นวัดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 แห่งกฎหมายฉบับนั้น เพราะฉะนั้นที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่ามีผู้ยกให้ จึงไม่ใช่สมบัติของวัดอันจะถือว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ วัดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องนายอำเภอในฐานะตำแหน่งหน้าที่ แม้ผู้ดำรงตำแหน่งเปลี่ยนไปแล้ว ก็ยังฟ้องได้ตามกฎหมาย
การฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายอันมีตำแหน่งหน้าที่การงานในอำเภอแน่นอนเพียงคนเดียวในอำเภอนั้น ถึงแม้นายอำเภอบ้านค่ายจะไม่ใช่นิติบุคคล หรือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายอำเภออยู่เดิมได้ตายไปแล้วก็ตาม แต่ตำแหน่งนายอำเภออันเป็นตำแหน่งหน้าที่การงานยังคงอยู่ โจทก์จึงฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายในทางตำแหน่งหน้าที่ราชการเป็นจำเลยได้ (อ้างฎีกา 824/2504)
โจทก์ฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายโดย ข. ในฐานะผู้รักษาราชการแทนเป็นจำเลยที่ 3 โดยบรรยายฟ้องว่า นายอำเภอบ้านค่ายขณะ ข. ดำรงตำแหน่งอยู่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 นำเอาที่ดินของสามีจำเลยที่ 1 ซึ่งขายให้โจทก์แล้ว กับที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกันอีกหนึ่งแปลงไปออกใบแทน ส.ค.1 และรังวัดออก น.ส.3 และทำนิติกรรมขายให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ดังนี้ แม้คำฟ้องและคำขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิด 20,000 บาทให้โจทก์ นายอำเภอบ้านค่ายหรือผู้รักษาราชการแทนต่อมาจะไม่ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะนายอำเภอไม่ใช่เทศภิบาลปกครองท้องที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 ไม่ใช่นิติบุคคลก็ตาม แต่ฟ้องและคำขอให้ทำลายใบแทน ส.ค.1 น.ส.3 และนิติกรรมซื้อขายที่นายอำเภอบ้านค่ายโดยฐ. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งได้ทำการจดทะเบียนไว้ก็หาใช่เป็นการมุ่งฟ้อง ฐ. เป็นส่วนตัวไม่ แต่เป็นการฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายในทางตำแหน่งหน้าที่ราชการ การฟ้องเช่นนี้ ข. ในฐานะผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอบ้านค่ายไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 3 ได้ (แม้ ข. จะย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นก็จะพิพากษายกฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ไม่ได้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, อายุความสัญญาสลากกินแบ่ง: การส่งมอบสลากเพื่อขายต่อและข้อยกเว้นอายุความ
จำเลยทำสัญญาซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลกับผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งกระทำในนามของจังหวัด ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากับจังหวัด ดังนั้น จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขาดส่งเงินค่าสลากกินแบ่งรวม 14 งวด แต่บรรยายงวดที่ขาดส่งเพียง 10 งวด ส่วนอีก 4 งวด บรรยายว่าจำเลยนำเงินหลายๆ งวดรวมส่งเข้าบัญชีในคราวเดียวกัน โดยมิได้แยกว่าเป็นเงินงวดใดบ้างนั้นจำเลยพอเข้าใจข้อความแห่งข้อหาแล้ว ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(5) ที่กำหนดให้มีอายุความ 2 ปี นั้น ได้บัญญัติเฉพาะบุคคลจำพวกที่ขายตั๋วสลากกินแบ่งเรียกเอาเงินค่าที่ได้ขายตั๋วแต่ถ้าเป็นการที่ได้ส่งมอบตั๋วเพียงสำหรับให้ขายต่อไปแล้วก็เข้าข้อยกเว้น ไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี แต่มีอายุความ5 ปี ตามวรรคสุดท้าย โจทก์ส่งมอบสลากกินแบ่งให้จำเลยไปขายอีกต่อหนึ่ง กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว เมื่อนับเงินค้างงวดแรกถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 5 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ฟ้องเคลือบคลุม, อายุความสลากกินแบ่ง: สัญญาซื้อสลากกับจังหวัด, การส่งมอบเพื่อขายต่อ, และข้อยกเว้นอายุความ 5 ปี
จำเลยทำสัญญาซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลกับผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งกระทำในนามของจังหวัด ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากับจังหวัด ดังนั้น จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขาดส่งเงินค่าสลากกินแบ่งรวม 14 งวด แต่บรรยายงวดที่ขาดส่งเพียง 10 งวด ส่วนอีก 4 งวด บรรยายว่าจำเลยนำเงินหลายๆ งวดรวมส่งเข้าบัญชีในคราวเดียวกัน โดยมิได้แยกว่าเป็นเงินงวดใดบ้างนั้น จำเลยพอเข้าใจข้อความแห่งข้อหาแล้ว ไม่เป็นห้องที่เคลือบคลุม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (5) ที่กำหนดให้มีอายุความ 2 ปีนั้น ได้บัญญัติเฉพาะบุคคลจำพวกที่ขายตั๋วสลากกินแบ่งเรียกเอาเงินค่าที่ได้ขายตั๋ว แต่ถ้าเป็นการที่ได้ส่งมอบตั๋วเพียงสำหรับให้ขายต่อไปแล้วก็เข้าข้อยกเว้น ไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี แต่มีอายุความ 5 ปีตามวรรคสุดท้าย โจทก์ส่งมอบสลากกินแบ่งให้จำเลยไปขายอีกต่อหนึ่ง กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว เมื่อนับเงินค้างงวดแรกถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 5 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดหุ้นส่วน-อำนาจฟ้อง-ค่าทนายความ
โจทก์มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากจำเลยได้ตามสัญญา เมื่อธนาคารผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้ชำระเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวนที่ยังเหลือได้ หาใช่เป็นการเรียกค่าปรับซ้อนกันไม่
แม้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาในฐานะตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มิใช่ในฐานะส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
กรมตำรวจเป็นกรมในรัฐบาลย่อมเป็นนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องหรือเป็นโจทก์ได้ ไม่จำต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นโจทก์ ทั้งมีอำนาจมอบให้หัวหน้ากองพลาธิการ กรมตำรวจฟ้องคดีได้ด้วย
แม้ในใบมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ประเภทไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงถูกต้องตามใบมอบอำนาจแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับหรือนัยหนึ่งค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคู่สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีกว่าเสียหายอะไร อย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความเสียหายที่คู่กรณีได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นค่าปรับในสัญญาแล้วนั้น การปรับตามสัญญาไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ในการส่งทรัพย์สินล่าช้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงการไม่ส่งด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว สิทธิ์ของโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยย่อมมีขึ้นหากจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาล่าช้า และศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระได้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3)
คดีแพ่งและทนายโจทก์เป็นข้าราชการกรมอัยการ เมื่อจำเลยแพ้คดี ศาลก็มีอำนาจให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ได้ เป็นการชำระให้แก่คู่ความที่ชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้มูลนิธิที่ยังมิได้จดทะเบียน: ศาลยืนตามเจตนาเดิมของผู้บริจาค
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรมมูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงรับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค.เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้นยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผลเพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์ให้มูลนิธิยังไม่จดทะเบียน: พินัยกรรมไม่ไร้ผล ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการให้มูลนิธิจดทะเบียน
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรม มูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงได้รับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค. เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้น ยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผล เพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: สิทธิครอบครองของผู้บุกรุก vs. การครอบครองของโรงเรียน
เมื่อ พ.ศ.2496 ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลจับจองที่พิพาทอันเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเพื่อใช้ในกิจการของโรงเรียน ได้เข้าครอบครองที่พิพาทเพื่อกิจการของโรงเรียนแล้ว และยังได้ขึ้นทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้เป็นทรัพย์สินของโรงเรียน โดยมีศึกษาธิการอำเภอรับรองว่าเป็นทรัพย์สินของโรงเรียนครั้น พ.ศ.2498 ครูใหญ่ก็ได้แจ้ง ส.ค.1 ที่พิพาทไว้ในฐานะแทนโรงเรียน ดังนี้แม้โรงเรียนประชาบาลดังกล่าวจะไม่เป็นนิติบุคคลแต่เป็นโรงเรียนที่นายอำเภอตั้งขึ้นจึงเป็นส่วนราชการของรัฐและพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าทางราชการอำเภอได้รับเอาที่พิพาทมาเป็นทรัพย์สินของทางราชการแล้วที่พิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ พ.ศ.2496 เป็นต้นมา โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลัง พ.ศ.2496 จึงไม่อาจจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ โจทก์ไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
กรณีดังกล่าวข้างต้น เมื่อต่อมาโรงเรียนประชาบาลนั้นได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโอนโรงเรียนประถมศึกษาบางประเภทไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2509 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติให้โอนบรรดากิจการและทรัพย์สินไปเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนด้วย เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลที่พิพาทจึงโอนมาเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การได้มาของที่ดินโดยโรงเรียนและโอนไปยัง อบจ. ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง
เมื่อ พ.ศ. 2496 ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลจับจองที่พิพาทอันเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเพื่อใช้ในกิจการของโรงเรียน ได้เข้าครอบครองที่พิพาทเพื่อกิจการของโรงเรียนแล้ว และยังได้ขึ้นทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้เป็นทรัพย์สินของโรงเรียน โดยมีศึกษาธิการอำเภอรับรองว่าเป็นทรัพย์สินของโรงเรียน ครั้น พ.ศ. 2498 ครูใหญ่ก็ได้แจ้ง ส.ค.1 ที่พิพาทไว้ในฐานะแทนโรงเรียน ดังนี้แม้โรงเรียนประชาบาลดังกล่าวจะไม่เป็นนิติบุคคล แต่เป็นโรงเรียนที่นายอำเภอตั้งขึ้น จึงเป็นส่วนราชการของรัฐ และพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าทางราชการอำเภอได้รับเอาที่พิพาทมาเป็นทรัพย์สินของทางราชการแล้ว ที่พิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2496 เป็นต้นมา โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลัง พ.ศ. 2496 จึงไม่อาจจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ โจทก์ไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
กรณีดังกล่าวข้างต้น เมื่อต่อมาโรงเรียนประชาบาลนั้นได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโอนโรงเรียนประถมศึกษาบางประเภทไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2509 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติให้โอนบรรดากิจการและทรัพย์สินไปเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนด้วย เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล ที่พิพาทจึงโอนมาเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเจ้าอาวาส: การพิสูจน์สถานะและการมีกฎมหาเถรสมาคมที่ชัดเจน
กฎมหาเถรสมาคมตราขึ้นโดยมหาเถรสมาคมอันประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกันย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร
of 10