พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการแสดงกรรมสิทธิ์บ้านบนที่ดินของผู้อื่น ต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจน จึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้
บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้นๆ ได้ แต่กรณีตามคำร้องขอของผู้ร้องซึ่งร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่ในที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำเช่นนั้นได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้อย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ส่วน ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่นำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ การขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดินผู้อื่นมิได้เป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาต
กรณีบุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนหรือรับรองว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่บนที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าวประการใด ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 สำหรับ ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดินฯ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่ได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่อาจนำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคู่ความ การงดสืบพยานชอบด้วยกฎหมาย และการดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ดังนั้น ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา นับแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ซึ่งตามคำให้การของจำเลยทั้งสามในคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 และจำเลยที่ 3 ก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโจทก์แต่ประการใด กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดีไปกว่าโจทก์ คดีจึงสามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจึงชอบแล้ว แต่การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งแยกนั้นประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งโจทก์สามารถนำคำพิพากษาไปดำเนินการตามขั้นตอนได้อยู่แล้วโดยไม่จำต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินให้แต่อย่างใดจึงต้องยกคำขอในส่วนนี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินหลังได้มาจากการครอบครองปรปักษ์: เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมมีหน้าที่จดทะเบียนตามคำสั่งศาล
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 722 เนื้อที่ 2 ไร่ 80 ตารางวามีชื่อเด็กหญิง ส. กับพวกรวม 11 คน เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 495/2528 โดยระบุไว้แล้วว่าที่ดินส่วนของเด็กหญิง ส. ในโฉนดดังกล่าวจำนวน 35 ตารางวา ทิศใดมีความกว้างยาวและเขตติดต่ออย่างไร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ศาลชั้นต้นระบุไว้ดังกล่าวแยกต่างหากจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ มิใช่เป็นการได้มาในลักษณะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ จำเลยที่ 1 คือ กรมที่ดินจึงต้องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำนวนเนื้อที่ 35 ตารางวา ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 78 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 8(3)วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์และการแบ่งแยกที่ดิน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 722 เนื้อที่ 2 ไร่ 80 ตารางวามีชื่อเด็กหญิง ส. กับพวกรวม 11 คน เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ต่อมาศาล-ชั้นต้นมีคำสั่งในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 495/2528 โดยระบุไว้แล้วว่าที่ดินส่วนของเด็กหญิง ส.ในโฉนดดังกล่าวจำนวน 35 ตารางวา ทิศใดมีความ-กว้างยาวและเขตติดต่ออย่างไร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ศาลชั้นต้นระบุไว้ดังกล่าวแยกต่างหากจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ มิใช่เป็นการได้มาในลักษณะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ จำเลยที่ 1 คือ กรมที่ดินจึงต้องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำนวนเนื้อที่ 35ตารางวา ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 78 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ.2497) ออกตามความใน พ.ร.บ. ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 ข้อ 8(3) วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์: จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนแบ่งแยกตามคำสั่งศาล
ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ระบุไว้แล้วว่าที่ดิน ที่โจทก์ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มีเนื้อที่เท่าใดทิศใดมีความกว้างยาวและเขตติดต่อ อย่างไร โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ศาลชั้นต้นระบุไว้ ดังกล่าวแยกต่างหากจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ มิใช่ เป็นการได้มาในลักษณะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ๆ กรมที่ดินจำเลยจึงต้องจดทะเบียน แบ่งแยกที่ดินใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามจำนวนเนื้อที่ดิน ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 ประกอบด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความใน พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 8(3) วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โดยครอบครอง & เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่ไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ ท. มารดาโจทก์และ ท. ได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ต่อมา ท.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ แม้การซื้อขายที่ดินระหว่าง ท.กับจำเลยที่ 1 และการที่ ท.ยกที่ดินพิพาทต่อให้โจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ท.เป็นเวลากว่า20 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ตามพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 จำเลยที่ 2 ซึ่งได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน และโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 การที่โจทก์จะมีชื่อในโฉนดที่ดินได้อย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งโจทก์สามารถที่จะปฏิบัติตาม และได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ศาลฎีกายกคำขอในส่วนนี้
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ตามพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 จำเลยที่ 2 ซึ่งได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน และโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 การที่โจทก์จะมีชื่อในโฉนดที่ดินได้อย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งโจทก์สามารถที่จะปฏิบัติตาม และได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ศาลฎีกายกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง และการเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนที่ไม่สุจริต
หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วมารดาโจทก์ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเลย ต่อมามารดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 1และการยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับโจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจากมารดาโจทก์เป็นเวลากว่า 20 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยตามพฤติการณ์ ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 คำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์นั้นตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) บัญญัติไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรโจทก์สามารถปฏิบัติตามและได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงต้องยกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง และการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินที่ไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ ท. มารดาโจทก์และ ท.ได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาต่อมาท.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ แม้การซื้อขายที่ดินระหว่าง ท. กับจำเลยที่ 1 และการที่ ท. ยกที่ดินพิพาทต่อให้โจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ท. เป็นเวลากว่า 20 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ตามพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จำเลยที่ 2 ซึ่งได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน และโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การที่โจทก์จะมีชื่อในโฉนดที่ดินได้อย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ซึ่งโจทก์สามารถที่จะปฏิบัติตาม และได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่อย่างใดศาลฎีกายกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: อำนาจฟ้องคดีมีข้อพิพาท vs. คดีไม่มีข้อพิพาท และการโต้แย้งสิทธิ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดชี้สองสถานว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดการชี้สองสถาน แล้ววินิจฉัยว่า การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ผู้ได้กรรมสิทธิ์ต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(1) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเช่นนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง แม้โจทก์ไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณืได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24,227
โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ซึ่งได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยได้ให้คนงานของจำเลยมารื้อรั้วสังกะสีซึ่งล้อมที่ดินพิพาทออกทั้งสี่ด้านและทำลายลานคอนกรีตในที่พิพาทของโจทก์บางส่วนเสียหาย ดังนี้แม้ขณะโจทก์ฟ้องศาลยังมิได้มีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ก็ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ซึ่งได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยได้ให้คนงานของจำเลยมารื้อรั้วสังกะสีซึ่งล้อมที่ดินพิพาทออกทั้งสี่ด้านและทำลายลานคอนกรีตในที่พิพาทของโจทก์บางส่วนเสียหาย ดังนี้แม้ขณะโจทก์ฟ้องศาลยังมิได้มีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ก็ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)