พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8947/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งในสัญญาขนส่งทางทะเลและทางบก, ข้อจำกัดความรับผิด, และอำนาจศาล
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้บรรจุสินค้าที่ขนส่งเข้าตู้คอนเทนเนอร์แล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้รับมอบหมายให้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จากลานบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ไปยังท่าเรือกรุงเทพ พฤติการณ์ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้วเมื่อความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างความดูแลของจำเลยทั้งสองและเกิดจากความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองในฐานะ ผู้ขนส่งร่วมย่อมต้องรับผิดร่วมกันในความเสียหายดังกล่าว
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 บัญญัติว่า "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำดับได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่ใช้เรียกชื่ออย่างอื่น สินค้าที่ขนส่งเป็นขดลวดสแตนเลสและแยกบรรจุใส่ไว้ในลังไม้ รวมทั้งหมดจำนวน 130 ลัง แต่ละลังย่อมถือเป็นหน่วยการขนส่ง แม้สินค้าทั้งหมดจะแยกบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์จำนวนรวม 5 ตู้ ก็ไม่ถือว่าตู้คอนเทนเนอร์เป็นหน่วยการขนส่ง
ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางบก จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในส่วนที่ เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งและการคิดค่าเสียหายตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล มาใช้คำนวณค่าเสียหายของสินค้าได้ แต่ต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 625 ว่าด้วย การรับขนของมาใช้บังคับ เมื่อไม่ปรากฏตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกหรือในเอกสารหลักฐานแห่งสัญญารับขนอื่นใดว่ามีข้อตกลงจำกัดความรับผิด ของผู้ขนส่ง และผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดนั้นด้วยแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงต้อง รับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเต็มจำนวน
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาพิจารณาจนมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ในระหว่างการพิจารณาไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างว่าศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งหยิบยกปัญหา ดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์จึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะหยิบยกปัญหาเกี่ยวกับอำนาจพิจารณาพิพากษาขึ้นมาเป็นข้ออุทธรณ์
แม้หากคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่จำเลยทั้งสองได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ร่วมกับโจทก์และจำเลยร่วมร้องขอให้โอนคดีนี้และสืบพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมาจนเสร็จสิ้นโดยมิได้ยก เรื่องอำนาจศาลขึ้นโต้แย้ง ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาผิดศาล ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกปัญหาเรื่องอำนาจศาลขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 บัญญัติว่า "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำดับได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่ใช้เรียกชื่ออย่างอื่น สินค้าที่ขนส่งเป็นขดลวดสแตนเลสและแยกบรรจุใส่ไว้ในลังไม้ รวมทั้งหมดจำนวน 130 ลัง แต่ละลังย่อมถือเป็นหน่วยการขนส่ง แม้สินค้าทั้งหมดจะแยกบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์จำนวนรวม 5 ตู้ ก็ไม่ถือว่าตู้คอนเทนเนอร์เป็นหน่วยการขนส่ง
ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางบก จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในส่วนที่ เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งและการคิดค่าเสียหายตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล มาใช้คำนวณค่าเสียหายของสินค้าได้ แต่ต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 625 ว่าด้วย การรับขนของมาใช้บังคับ เมื่อไม่ปรากฏตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกหรือในเอกสารหลักฐานแห่งสัญญารับขนอื่นใดว่ามีข้อตกลงจำกัดความรับผิด ของผู้ขนส่ง และผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดนั้นด้วยแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงต้อง รับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเต็มจำนวน
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาพิจารณาจนมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ในระหว่างการพิจารณาไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างว่าศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งหยิบยกปัญหา ดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์จึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะหยิบยกปัญหาเกี่ยวกับอำนาจพิจารณาพิพากษาขึ้นมาเป็นข้ออุทธรณ์
แม้หากคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่จำเลยทั้งสองได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ร่วมกับโจทก์และจำเลยร่วมร้องขอให้โอนคดีนี้และสืบพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมาจนเสร็จสิ้นโดยมิได้ยก เรื่องอำนาจศาลขึ้นโต้แย้ง ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาผิดศาล ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกปัญหาเรื่องอำนาจศาลขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีสินค้าเสียหาย
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 54 บัญญัติว่า ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า อันเป็นผลจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เว้นแต่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องจะพิสูจน์ได้ว่า เป็นความผิดหรือประมาทเลินเล่อของ ผู้ขนส่ง? ในการใช้มาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้ขนส่งจึงมีภาระการพิสูจน์ในเบื้องต้นว่า ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เพื่อเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดใน ความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลในกรณีสินค้าสูญหายจากการเปลี่ยนตราผนึกตู้สินค้า
การขนส่งสินค้าระบบ ซีวาย/ซีวาย เป็นการขนส่งที่ผู้ส่งสินค้าต้นทางจะเป็นผู้ไปรับตู้สินค้าจากผู้ขนส่งไปบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าที่โกดังของผู้ส่งสินค้า แล้วนำตู้สินค้ามามอบให้แก่ผู้ขนส่ง เมื่อขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วผู้รับตราส่งจะเป็นผู้รับตู้สินค้าไปเปิดตรวจนับสินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเอง เมื่อใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกระบุไว้ว่าสถานที่รับสินค้า โตเกียว ซีวาย สถานที่ส่งมอบสินค้า กรุงเทพ ซีวาย แสดงว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับตู้สินค้าจากบริษัท ค. ที่ท่าเรือโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนถึงท่าเรือกรุงเทพ แล้ว บริษัท ค. จะเป็นผู้รับสินค้าไปตรวจนับสินค้าเอง หากสภาพตู้สินค้าและตราผนึกประตูตู้สินค้าอยู่ในสภาพปกติก็ย่อมแสดงว่าสินค้ามิได้สูญหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าก็หาต้องรับผิดในกรณีสินค้าใน ตู้สินค้าสูญหายไปไม่ แต่ตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่งได้ความว่า ตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าพิพาทที่โจทก์รับประกันภัยระบุตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล 27209 ครั้นจำเลยร่วมขนส่งตู้สินค้า ดังกล่าวมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ปรากฏว่าตู้สินค้ามีตราผนึกประตูตู้สินค้าเป็นหมายเลข เอสพีไอซี 051682 ซึ่งไม่ปรากฏว่าเหตุใดตราผนึกประตูตู้สินค้าที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น การที่จำเลยร่วมออก ใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อรับมอบตู้สินค้า แม้จะได้ระบุหมายเลขตู้สินค้า แต่มิได้ระบุว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าคือหมายเลขใด กรณีที่ยังไม่แน่ชัดว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล 27209 ถูกเปลี่ยนเป็นหมายเลข เอสพีไอซี 051682 ก่อนหรือภายหลังจากที่จำเลยร่วมรับมอบตู้สินค้าจากท่าเรือสิงคโปร์ เมื่อประตูตู้สินค้าได้ถูกเปิดออกในระหว่างการขนส่งสินค้าจากท่าเรือโตเกียวช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่จะถึงท่าเรือกรุงเทพและสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้รับประกันภัยสูญหายไป จึงถือได้ว่าความสูญหายเกิดขึ้นขณะที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชอบในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ให้คำนิยาม "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และให้คำนิยาม "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง แต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อันหรือหน่วยที่เรียกอย่างอื่น ดังนั้น คำว่า "ตู้" ที่ยกตัวอย่างในคำนิยาม ย่อมหมายความรวมถึงตู้สำหรับบรรจุสินค้าหรือของอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กต่างจากตู้สินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและสามารถบรรจุภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าขนาดเล็กดังกล่าวได้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ดังนั้น ตู้สินค้าซึ่งเรียกกันในวงการว่า ตู้คอนเทนเนอร์ จึงเป็นภาชนะขนส่ง ส่วน ตู้ เป็นหน่วยการขนส่งดังมาตรา 3 บัญญัติให้คำนิยามไว้โดยชัดแจ้งแล้ว มิใช่ว่า ตู้ หรือ ตู้สินค้ามีความหมายเป็นได้ทั้งหน่วยการขนส่งและภาชนะขนส่ง เมื่อ ตู้สินค้า ไม่ใช่หน่วยการขนส่ง 1 หน่วย จึงไม่อาจที่จะจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่เกิน 10,000 บาท ได้
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ให้คำนิยาม "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และให้คำนิยาม "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง แต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อันหรือหน่วยที่เรียกอย่างอื่น ดังนั้น คำว่า "ตู้" ที่ยกตัวอย่างในคำนิยาม ย่อมหมายความรวมถึงตู้สำหรับบรรจุสินค้าหรือของอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กต่างจากตู้สินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและสามารถบรรจุภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าขนาดเล็กดังกล่าวได้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ดังนั้น ตู้สินค้าซึ่งเรียกกันในวงการว่า ตู้คอนเทนเนอร์ จึงเป็นภาชนะขนส่ง ส่วน ตู้ เป็นหน่วยการขนส่งดังมาตรา 3 บัญญัติให้คำนิยามไว้โดยชัดแจ้งแล้ว มิใช่ว่า ตู้ หรือ ตู้สินค้ามีความหมายเป็นได้ทั้งหน่วยการขนส่งและภาชนะขนส่ง เมื่อ ตู้สินค้า ไม่ใช่หน่วยการขนส่ง 1 หน่วย จึงไม่อาจที่จะจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่เกิน 10,000 บาท ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขน: ผู้รับใบตราส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ขนส่งได้ แม้ของไม่ถึงปลายทาง
ขณะเกิดข้อพิพาท พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ที่กำหนดว่าเมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบ แล้ว นับแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญา รับขนนั้นย่อมตกแก่ผู้รับตราส่ง แสดงให้เห็นว่าสัญญารับขน มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกถ้อยคำที่ว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง" มีความหมายเป็นเพียงเวลาที่กฎหมายกำหนดว่าผู้รับตราส่งจะแสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนได้เมื่อใดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งซึ่งหากไม่มีของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งแล้วจะเป็นเหตุ ให้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ตกแก่ผู้รับตราส่งไม่ เมื่อโจทก์เป็น ผู้ทรงใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ขายและเป็นผู้มี กรรมสิทธิ์ในสินค้าพิพาทตามใบตราส่งนั้น แม้โจทก์ไม่อาจ แสดงเจตนารับเอาประโยชน์จากสัญญารับขนโดยเรียกให้ส่งมอบ ของได้เพราะไม่มีกำหนดเวลาที่จะเรียกให้ส่งมอบของได้ ตามมาตรา 627 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย เพราะเหตุที่สินค้าพิพาทต้องสูญหายเนื่องจากการขนส่งนั้น โดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทย่อม มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท ให้รับผิดตามสัญญารับขนได้ เมื่อพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งของทางทะเลตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเลฯมาปรับแก่คดีได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจยกเอาข้อจำกัดความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวมาอ้างเพื่อให้รับผิดน้อยลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อเกิดความเสียหายต่อสินค้า โดยพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาทำสัญญา
สัญญารับขนสินค้าพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2534ซึ่งในวันดังกล่าว พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับแม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ในวันที่ 20 มกราคม 2536 หลังจากที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับแล้ว ในการพิจารณาถึงสิทธิเรียกร้องและความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของสินค้าที่ขนส่งทางทะเล จึงต้องนำเอากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญามาปรับใช้แก่คดี เพราะหากนำเอาพ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ซึ่งมีผลใช้บังคับในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีมาปรับใช้แก่คดีแล้วย่อมเป็นช่องทางให้คู่กรณีเลือกใช้กฎหมายที่จะปรับแก่คดีได้ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นมาปรับใช้แก่คดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสองและมาตรา 4 วรรคสอง
บริษัท บ.ผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีตัวแทนในประเทศไทยชื่อบริษัท ล. และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งมีบริษัท อ.เป็นตัวแทนในประเทศไทยขนส่งสินค้าดังกล่าวจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานครอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับสินค้าแล้วก็ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ใช้เรือชื่อ ดาร์ยา ชัน บรรทุกสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังประเทศไทยและมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีแม้ใบตราส่งดังกล่าวในช่องผู้ออกใบตราส่งจะลงนามโดยบริษัท อ.ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเป็นการลงนามในฐานะตัวแทนผู้ขนส่งเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกใบตราส่งดังกล่าว
สัญญาเช่าเรือแม้จะมีข้อความระบุว่าเรืออยู่ในอำนาจการสั่งการของผู้เช่าเรือ แต่ในสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุให้เจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2มีหน้าที่จัดเรือให้ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำเรือ กะลาสี ช่างกล ช่างไฟ ซึ่งเพียบพร้อมสำหรับเรือในขณะนั้น และเจ้าของเรือจะจัดหาและจ่ายค่าเสบียงอาหารทั้งหมด ค่าจ้างและค่าธรรมเนียมกงสุลเกี่ยวกับเรือและค่าขนถ่ายสินค้าสำหรับลูกเรือและในสัญญาเช่าเรือข้อ 8 ก็กำหนดไว้ว่าผู้เช่าเรือทำการบรรทุก จัดเรียงและทำให้เรือสมดุล การผูกรัดสินค้าและการปลดเปลื้อง การตรึงแน่น การปลดจาก การตรึง...ภายใต้การควบคุมดูแลและรับผิดชอบของนายเรือ ซึ่งตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรือยังมีอำนาจในการควบคุมเรือและเป็นผู้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกเรือ นอกจากนั้นตามข้อตกลงสัญญาเช่าเรือ ข้อ 44 ที่ระบุว่านายเรือจะลงนามในใบตราส่งสำหรับสินค้าทั้งหมดที่ได้ขนภายใต้สัญญาเช่าเรือนี้ถ้าผู้เช่าเรือขอร้องหรือผู้เช่าเรือต้องการ ผู้เช่าเรือหรือผู้ตัวแทนของเขาได้รับมอบอำนาจไว้ ณที่นี้ในการลงนามใบตราส่ง ในนามของเจ้าของเรือหรือนายเรือ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าการออกใบตราส่งนายเรือเป็นผู้ลงนามในใบตราส่งตามคำขอของผู้เช่าเรือ และในกรณีที่ผู้เช่าเรือหรือตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้ออกใบตราส่ง การออกใบตราส่งนั้นต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า เห็นได้ว่าการออกใบตราส่งตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นการออกใบตราส่งในนามของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 และต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้ามิใช่ผู้เช่าเรือจะออกใบตราส่งในนามของตนเองหรือตามอำเภอใจได้ ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าเรือดังกล่าวว่ายังรับผิดชอบในการเดินเรือ การขนส่งสินค้ารวมทั้งการออกใบตราส่งเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าในเรือนั้นด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่บริษัท อ.เป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของตนเองและต้องรับผิดตามเนื้อความในใบตราส่งโดยลำพังไม่ และการออกใบตราส่งซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งเช่นนี้หากสินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือเสียหายไป จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ออกใบตราส่งก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งตามเนื้อความในใบตราส่งนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทด้วยแล้ว แม้สินค้าพิพาทจะมิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่สินค้าพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 3 จากเรือดาร์ยา ชัน ของจำเลยที่ 2 จากเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งของทางทะเลเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและเป็นสถานที่ส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งด้วยทอดหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดในการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหายไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ประกอบมาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ขณะทำสัญญารับขนคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 ยังมิได้มีผลบังคับ จึงมิอาจนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ได้ และเมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องปรับใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยการรับขนของอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งแล้วและ ป.พ.พ.มาตรา 616 มิได้บัญญัติจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท ของน้ำหนักสุทธิดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 48 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายเต็มจำนวนแห่งความเสียหายที่แท้จริงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ
เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบริษัท ส.และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่สูญหายไปให้แก่บริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วเป็นเงิน 409,665 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส.ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์
บริษัท บ.ผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีตัวแทนในประเทศไทยชื่อบริษัท ล. และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งมีบริษัท อ.เป็นตัวแทนในประเทศไทยขนส่งสินค้าดังกล่าวจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานครอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับสินค้าแล้วก็ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ใช้เรือชื่อ ดาร์ยา ชัน บรรทุกสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังประเทศไทยและมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีแม้ใบตราส่งดังกล่าวในช่องผู้ออกใบตราส่งจะลงนามโดยบริษัท อ.ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเป็นการลงนามในฐานะตัวแทนผู้ขนส่งเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกใบตราส่งดังกล่าว
สัญญาเช่าเรือแม้จะมีข้อความระบุว่าเรืออยู่ในอำนาจการสั่งการของผู้เช่าเรือ แต่ในสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุให้เจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2มีหน้าที่จัดเรือให้ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำเรือ กะลาสี ช่างกล ช่างไฟ ซึ่งเพียบพร้อมสำหรับเรือในขณะนั้น และเจ้าของเรือจะจัดหาและจ่ายค่าเสบียงอาหารทั้งหมด ค่าจ้างและค่าธรรมเนียมกงสุลเกี่ยวกับเรือและค่าขนถ่ายสินค้าสำหรับลูกเรือและในสัญญาเช่าเรือข้อ 8 ก็กำหนดไว้ว่าผู้เช่าเรือทำการบรรทุก จัดเรียงและทำให้เรือสมดุล การผูกรัดสินค้าและการปลดเปลื้อง การตรึงแน่น การปลดจาก การตรึง...ภายใต้การควบคุมดูแลและรับผิดชอบของนายเรือ ซึ่งตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรือยังมีอำนาจในการควบคุมเรือและเป็นผู้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกเรือ นอกจากนั้นตามข้อตกลงสัญญาเช่าเรือ ข้อ 44 ที่ระบุว่านายเรือจะลงนามในใบตราส่งสำหรับสินค้าทั้งหมดที่ได้ขนภายใต้สัญญาเช่าเรือนี้ถ้าผู้เช่าเรือขอร้องหรือผู้เช่าเรือต้องการ ผู้เช่าเรือหรือผู้ตัวแทนของเขาได้รับมอบอำนาจไว้ ณที่นี้ในการลงนามใบตราส่ง ในนามของเจ้าของเรือหรือนายเรือ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าการออกใบตราส่งนายเรือเป็นผู้ลงนามในใบตราส่งตามคำขอของผู้เช่าเรือ และในกรณีที่ผู้เช่าเรือหรือตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้ออกใบตราส่ง การออกใบตราส่งนั้นต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า เห็นได้ว่าการออกใบตราส่งตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นการออกใบตราส่งในนามของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 และต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้ามิใช่ผู้เช่าเรือจะออกใบตราส่งในนามของตนเองหรือตามอำเภอใจได้ ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าเรือดังกล่าวว่ายังรับผิดชอบในการเดินเรือ การขนส่งสินค้ารวมทั้งการออกใบตราส่งเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าในเรือนั้นด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่บริษัท อ.เป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของตนเองและต้องรับผิดตามเนื้อความในใบตราส่งโดยลำพังไม่ และการออกใบตราส่งซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งเช่นนี้หากสินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือเสียหายไป จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ออกใบตราส่งก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งตามเนื้อความในใบตราส่งนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทด้วยแล้ว แม้สินค้าพิพาทจะมิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่สินค้าพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 3 จากเรือดาร์ยา ชัน ของจำเลยที่ 2 จากเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งของทางทะเลเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและเป็นสถานที่ส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งด้วยทอดหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดในการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหายไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ประกอบมาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ขณะทำสัญญารับขนคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 ยังมิได้มีผลบังคับ จึงมิอาจนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ได้ และเมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องปรับใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยการรับขนของอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งแล้วและ ป.พ.พ.มาตรา 616 มิได้บัญญัติจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท ของน้ำหนักสุทธิดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 48 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายเต็มจำนวนแห่งความเสียหายที่แท้จริงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ
เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบริษัท ส.และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่สูญหายไปให้แก่บริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วเป็นเงิน 409,665 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส.ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนทางทะเลก่อน พ.ร.บ. 2534 ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ แม้มีข้อตกลงฟ้องศาลต่างประเทศ
การว่าจ้างขนส่งสินค้าทำสัญญาก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ ดังนั้นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าพิพาทต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น อันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งปรับแก่คดีตามมาตรา 4 แม้ผู้ส่งกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งมีข้อตกลงกันว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจะต้องฟ้องคดีต่อศาลตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง แต่เมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยและเป็นผู้เข้ารับช่วงสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากผู้ขนส่ง การรับช่วงสิทธิเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่งหาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ ดังนั้นข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้รับประกันภัย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องข้อจำกัดความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นไว้จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น