คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 459

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานฟ้องคดีไม่ได้ แม้มีลักษณะคล้ายสัญญาซื้อขาย
หนังสือสัญญาใช้ชื่อว่า หนังสือสัญญาขายโดยมีเงื่อนไข คู่สัญญา ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'เจ้าของ' อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'ผู้จะซื้อ' มีข้อความว่าตกลงจะซื้อขายโทรทัศน์สีตามราคาที่กำหนด ชำระเงินในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่ง ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวด และกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า กรรมสิทธิ์ในโทรทัศน์สีจะตกแก่ผู้จะซื้อ เมื่อผู้จะซื้อปฏิบัติตามข้อสัญญาทั้งหมด รวมทั้งได้ชำระเงิน ครบถ้วนแล้ว มีลักษณะเป็น ทำนองเจ้าของเอาโทรทัศน์สี ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะให้โทรทัศน์สีตกเป็นสิทธิแก่ผู้จะซื้อ โดยเงื่อนไขที่ ผู้จะซื้อได้ชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และมี ข้อสัญญาที่มีผลเท่ากับให้ผู้จะซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ด้วยการไม่ชำระราคาต่อไปโดยส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของ กับ ให้ริบเงินที่ได้ใช้มาแล้วได้ด้วย อันเป็นวิธีการของสัญญาเช่าซื้อ ข้อสัญญาที่ว่าให้ผู้จะซื้อชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ครบถ้วนแล้ว จึงให้กรรมสิทธิ์ตกเป็น ของผู้จะซื้อมิใช่เป็นเพียงเงื่อนไข การโอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อที่มิได้ปิดอากรแสตมป์จะใช้เป็นหลักฐานฟ้อง คดีมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่มิได้ปิดอากรแสตมป์เป็นหลักฐานฟ้องคดีมิได้ และลักษณะสัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนังสือสัญญาใช้ชื่อว่า หนังสือสัญญาขายโดยมีเงื่อนไข คู่สัญญา ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'เจ้าของ' อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'ผู้จะซื้อ' มีข้อความว่าตกลงจะซื้อขายโทรทัศน์สีตามราคาที่กำหนด ชำระเงินในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่ง ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวด และกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า กรรมสิทธิ์ในโทรทัศน์สีจะตกแก่ผู้จะซื้อ เมื่อผู้จะซื้อปฏิบัติตามข้อสัญญาทั้งหมด รวมทั้งได้ชำระเงิน ครบถ้วนแล้ว มีลักษณะเป็น ทำนองเจ้าของเอาโทรทัศน์สี ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะให้โทรทัศน์สีตกเป็นสิทธิแก่ผู้จะซื้อ โดยเงื่อนไขที่ ผู้จะซื้อได้ชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และมี ข้อสัญญาที่มีผลเท่ากับให้ผู้จะซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ด้วยการไม่ชำระราคาต่อไปโดยส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของ กับ ให้ริบเงินที่ได้ใช้มาแล้วได้ด้วย อันเป็นวิธีการของสัญญาเช่าซื้อ ข้อสัญญาที่ว่าให้ผู้จะซื้อชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ครบถ้วนแล้ว จึงให้กรรมสิทธิ์ตกเป็น ของผู้จะซื้อมิใช่เป็นเพียงเงื่อนไข การโอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อที่มิได้ปิดอากรแสตมป์จะใช้เป็นหลักฐานฟ้อง คดีมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข (ผ่อนส่ง) ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ แม้มีเงื่อนไขเอารถคืนหากผิดสัญญา
สัญญาท้ายฟ้องระบุราคารถยนต์ที่ซื้อขายเป็นเงิน 130,650 บาท โดยตกลงกันในข้อ 2 ว่า ผู้ซื้อจะชำระราคาแก่ผู้ขายเป็นรายเดือน เดือนละ 4,355 บาท รวม 30 เดือนและระบุไว้ในข้อ 10 ว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายยังเป็นของผู้ขายโดยไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผูขายจะได้รับชำระค่าซื้อครบถ้วน ตามสัญญาแล้ว สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ใช่เป็นสัญญาเช่าซื้อ แม้จะมีข้อ 11 ระบุว่าหากผู้ซื้อผิดสัญญา สัญญาเลิกกันทันทีโดยผู้ขายมิต้องบอกกล่าวและมีสิทธิเอารถคืนโดยไม่ต้องคืนเงินที่ผู้ซื้อชำระแล้ว ก็เป็นเพียงการรักษาผลประโยชน์ของผู้ขายเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขาย กลับกลายเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่: แม้ฟ้องระบุที่อยู่ไม่ตรงกับโฉนด แต่จำเลยเข้าใจที่ตั้งทรัพย์สิน และโจทก์มีกรรมสิทธิ์ถูกต้อง
แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ แต่บรรยายฟ้องว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธ์วงศ์ ซึ่งต่างแขวงกันก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทกันนี้เดิมจำเลยเช่าจาก ฉ. แล้วต่อมาได้ซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 พร้อมกับตึกแถวพิพาทจาก ฉ. ดังนี้ เห็นได้ว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่จำเลยเช่าจาก ฉ. มีอยู่ห้องเดียวคือที่ปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ฟ้องขับไล่นั่นเอง ทั้งจำเลยยังได้อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 และตึกแถวเลขที่ 60 ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ประกอบคำให้การของจำเลยอีกด้วย จำเลยจึงเข้าใจฟ้องได้ดีว่าตึกแถวพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ซื้อจาก ฉ. ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธ์วงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ จึงไม่เป็นการเกินคำขอ
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ. ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสด ฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่: ศาลฎีกาวินิจฉัยฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ระบุที่อยู่ต่างแขวง และอำนาจฟ้องมีอยู่เนื่องจากกรรมสิทธิ์โอนแล้ว
แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธวงศ์เขตสัมพันธวงศ์ แต่บรรยายฟ้องว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธ์วงศ์ ซึ่งต่างแขวงกันก็ ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทกันนี้เดิมจำเลยเช่าจาก ฉ. แล้วต่อมาได้ ซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 พร้อมกับตึกแถวพิพาท จาก ฉ. ดังนี้ เห็นได้ว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่จำเลย เช่าจาก ฉ. มีอยู่ห้องเดียวคือที่ปลูกอยู่บนที่ดิน โฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ฟ้องขับไล่นั่นเอง ทั้ง จำเลยยังได้อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 และตึกแถวเลขที่ 60 ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ประกอบ คำให้การของจำเลยอีกด้วย จำเลยจึงเข้าใจฟ้องได้ดีว่า ตึกแถวพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ซื้อ จาก ฉ. ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธ์วงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ จึงไม่เป็นการเกินคำขอ
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ.ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสดฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การ ซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้ โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอม ดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ การบอกเลิกสัญญา และการติดตามเอารถคืน
จำเลยซื้อรถพิพาทจากโจทก์โดยมีเงื่อนไข กรรมสิทธิ์ในรถดังกล่าวยังไม่โอนไปยังจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 459 เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโจทก์บอกเลิกสัญญา แล้วโจทก์และจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนรถพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่คืน โจทก์จึงชอบที่จะติดตามเอาคืนในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 จึงไม่มีอายุความ กรณีหาใช่เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ ได้ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายมีเงื่อนไข สัญญาค้างชำระ การคืนรถและสิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์
จำเลยซื้อรถพิพาทจากโจทก์โดยมีเงื่อนไข กรรมสิทธิ์ในรถดังกล่าวยังไม่โอนไปยังจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 459 เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโจทก์บอกเลิกสัญญา แล้ว โจทก์และจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนรถพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่คืน โจทก์จึงชอบ ที่จะติดตามเอาคืนในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงไม่มีอายุความกรณีหาใช่เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ ได้ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139-1141/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด, กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, การเพิ่มจำเลยร่วม: การพิจารณาความถูกต้องของฟ้อง และอำนาจศาล
โจทก์เคยฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดรายนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัดห้างหนึ่ง แล้วถอนฟ้องไปเพราะฟ้องผิดตัว ต่อมาได้ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดอีกห้างหนึ่งกับพวกเป็นจำเลยใหม่ในคดีนี้ แสดงว่าโจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงหลังจากฟ้องคดีแรกแล้ว นับถึงวันฟ้องคดีใหม่นี้ยังไม่เกิน 1 ปีคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
ตามสัญญาวางมัดจำซื้อรถยนต์ (ชั่วคราว) ระหว่างโจทก์กับอ.ระบุว่า.ในระหว่างที่อ. ยังส่งเงินไม่ครบจะนำทรัพย์สินไปซื้อขายหรือทำนิติกรรมใดกับผู้อื่นไม่ได้หากฝ่าฝืนยอมให้ถือว่าได้ยักยอกทรัพย์สินของโจทก์แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาได้ตกลงให้กรรมสิทธิ์ในรถคันนี้ยังเป็นของโจทก์อยู่จนกว่าจะได้รับชำระราคาครบถ้วนดังนั้น เมื่อโจทก์ผู้ขายยังไม่ได้รับชำระราคาครบถ้วนโจทก์จึงยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้
โจทก์ฟ้องห้างหนึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์เพิ่งทราบว่ารถยนต์ที่ทำละเมิดเป็นของห้างอีกห้างหนึ่งซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ ณ อาคารเดียวกันกับห้างจำเลยที่ 1 บุคคลภายนอกทั่วไปย่อมเข้าใจว่าห้างทั้งสองนี้เป็นห้างเดียวกัน เพราะชื่อของห้างซ้ำและเลียนกัน หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างทั้งสองก็คือจำเลยที่ 2 คนเดียวกันป้ายชื่อก็ติดตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันพนักงานลูกจ้างตลอดจนเครื่องใช้ในสำนักงานก็ใช้ร่วมกัน โจทก์จึงชอบจะขอให้ศาลหมายเรียกห้างอีกห้างหนึ่งนั้นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ และศาลย่อมมีอำนาจที่จะเรียกห้างอีกห้างหนึ่งนั้นเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)(ข) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ยังไม่โอนเมื่อราคายังไม่ครบถ้วน แม้ต่อเติมกระบะก็เป็นส่วนควบ เจ้าของมีสิทธิเอาคืน
โจทก์ขายรถยนต์ซึ่งมีแต่โครงรถยนต์และเครื่องยนต์ให้จำเลยที่ 1 โดยมีเงื่อนไขจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระราคาให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนแล้วจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ต่อเติมกระบะเข้ากับรถยนต์โจทก์ กระบะนั้นเป็นส่วนควบของรถยนต์โจทก์จึงฟ้องขอให้แสดงว่ารถยนต์ทั้งคันเป็นของโจทก์ได้ โจทก์มีสิทธิติดตามและเอาคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิโอนขายรถยนต์ให้จำเลยที่ 5 และขายต่อให้จำเลยที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อซื้อขาย แม้ยังไม่โอนทะเบียน สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าจะชำระเงินและโอนทะเบียนครบถ้วน
ซื้อขายรถยนต์ แม้ไม่โอนทะเบียนเป็นชื่อผู้ซื้อกรรมสิทธิ์ก็โอนไปเป็นของผู้ซื้อตาม มาตรา 458 ผู้ซื้อขายต่อไปโดยมีข้อสัญญาว่า ชำระราคาครบจึงจะโอนทะเบียนรถให้ และให้ถือการโอนชื่อในทะเบียนเป็นเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขตามมาตรา459 กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าจะชำระราคาครบและโอนทะเบียนแล้ว
of 9