พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดกระทบต่อโทษจำเลย และการพิพากษาคดีอาญาโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ไม่เพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันผลิตพืชกระท่อมและร่วมกันมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26, 75, 76 ต่อมาในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 8 และมาตรา 9 ให้ยกเลิกมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และเพิ่มเติมมาตรา 26/2 ฐานผลิตพืชกระท่อม และมาตรา 26/3 ฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยข้อความตามกฎหมายเดิมและที่แก้ไขใหม่ยังเป็นทำนองเดียวกันจึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับในส่วนบทความผิด และมาตรา 17 ให้ยกเลิกมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 โดยให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งบทกำหนดโทษฐานผลิตพืชกระท่อมในมาตรา 75 วรรคสอง ตามกฎหมายเดิม และมาตรา 75 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษเท่ากัน ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ส่วนความผิดฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 76 วรรคสอง ของกฎหมายเดิม มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 76 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทเพียงสถานเดียว กฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายเดิม ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2545/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติการลับของตำรวจต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย หากไม่สืบพยานในชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้การขออนุญาตปฏิบัติการอำพรางตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 7 เป็นมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างหนึ่ง อันเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าได้มีการขออนุญาตปฏิบัติการอำพรางหรือไม่ อันจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายดังที่จำเลยอ้างนั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่มีการนำสืบกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลจะหยิบยกข้อเท็จจริงตามที่จำเลยเพียงอ้างมาในฎีกามารับฟังว่าไม่มีการขออนุญาตปฏิบัติการอำพรางโดยไม่มีการสืบพยานหาได้ไม่ เมื่อคดีนี้จำเลยไม่ได้นำสืบต่อสู้ในประเด็นว่าเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมไม่ได้ขออนุญาตปฏิบัติการอำพรางก่อนการล่อซื้อ ทั้งในขณะโจทก์นำพยานเข้าสืบ ทนายจำเลยไม่ได้ถามค้านในประเด็นดังกล่าวไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสพยานโจทก์เบิกความถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าเป็นเช่นไร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงจำเลยที่เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและการลักลอบนำสิ่งของต้องห้ามเข้าเรือนจำ โดยศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และฐานร่วมกันนำสิ่งของต้องห้ามเข้ามาในเรือนจำ ศาลชั้นต้นรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดคงรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องเช่นกัน แต่กรณีที่มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสาม จำเลยฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา กรณีถือว่าฎีกาของจำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาเฉพาะความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี เมื่อศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว สำหรับความผิดฐานร่วมกันนำสิ่งของต้องห้ามเข้ามาในเรือนจำซึ่งมิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 1 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำคุก 8 เดือน อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และความผิดฐานนี้ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 ก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดจึงให้ยกฟ้องปล่อยจำเลยไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้ไม่ได้ยึดถือครอบครองเองก็เป็นตัวการได้ ศาลแก้ไขคำพิพากษาเรื่องทรัพย์ที่ยึดได้นอกฟ้อง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นของกลาง ทั้งไม่มีคำขอท้ายฟ้องให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ แม้ในทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่จากจำเลยเป็นของกลางด้วย แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวไม่ใช่ของกลางที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องและมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8935/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเตรียมการกระทำผิดยาเสพติด แม้ยังไม่ได้ครอบครอง แต่ถือเป็นความพยายามกระทำผิดได้
พฤติการณ์ที่ ก. กับจำเลยเดินทางร่วมกันไปค้นหาเมทแอมเฟตามีนบริเวณที่เกิดเหตุ บ่งชี้ได้ว่า ก. กับจำเลยมีเจตนาที่จะกระทำความผิดทางอาญามาตั้งแต่แรกและถือว่า ก. กับจำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การที่ชายไม่ทราบชื่อนำเมทแอมเฟตามีนไปซุกซ่อนไว้บริเวณโคนต้นไม้แล้วโทรศัพท์แจ้งให้ ก. กับจำเลยทราบ จากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจพา ก. กับจำเลยไปตรวจค้นบริเวณดังกล่าวจึงพบเมทแอมเฟตามีน จำเลยกับพวกจึงยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจมาพบเห็นและจับกุมได้เสียก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8589/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตามกฎหมายยาเสพติด: ศาลต้องยึดตามคำขอในฟ้อง และตีความข้อยกเว้นใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 อย่างเคร่งครัด
โจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่า จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กับมีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 และขอให้ระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แสดงว่าโจทก์ระบุสถานะจำเลยว่าเป็นบุคคลตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 และขอให้ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวด้วย หาใช่ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ซึ่งการที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 ต้องได้ความว่าเป็นกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แต่จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีสถานะถือเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นกัน แต่เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งแยกต่างจากกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไว้ จึงไม่อาจระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 3
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ถือเป็นข้อยกเว้นของวรรคหนึ่ง จึงต้องตีความวรรคห้าโดยเคร่งครัด เมื่อวรรคห้าระบุว่าเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด จะตีความขยายไปถึงกรณีที่อ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับหาได้ไม่ เพราะถ้ากฎหมายต้องการเช่นนั้นก็คงระบุไว้ว่า โจทก์อ้างบทกฎหมายผิด ซึ่งย่อมครอบคลุมตลอดถึงการอ้างความผิดหรือบทมาตราผิดอยู่ในตัวด้วย ที่โจทก์อ้างว่าคดีนี้อ้างบทมาตราผิดและศาลสามารถลงโทษจำเลยตามบทมาตราของกฎหมายที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไม่ได้ เพราะขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ถือเป็นข้อยกเว้นของวรรคหนึ่ง จึงต้องตีความวรรคห้าโดยเคร่งครัด เมื่อวรรคห้าระบุว่าเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด จะตีความขยายไปถึงกรณีที่อ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับหาได้ไม่ เพราะถ้ากฎหมายต้องการเช่นนั้นก็คงระบุไว้ว่า โจทก์อ้างบทกฎหมายผิด ซึ่งย่อมครอบคลุมตลอดถึงการอ้างความผิดหรือบทมาตราผิดอยู่ในตัวด้วย ที่โจทก์อ้างว่าคดีนี้อ้างบทมาตราผิดและศาลสามารถลงโทษจำเลยตามบทมาตราของกฎหมายที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไม่ได้ เพราะขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8049/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมคบกันจำหน่ายยาเสพติดและการครอบครองเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์บางส่วน
อ. และ พ. ร่วมกันซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยแล้วนำไปเสพและจำหน่ายให้แก่ลูกค้า เมื่อ อ. และ พ. ได้เงินค่าเมทแอมเฟตามีนจากลูกค้าแล้วจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยเพื่อชำระค่าเมทแอมเฟตามีน ลักษณะการตกลงกันเพื่อให้มีการขายและส่งมอบเมทแอมเฟตามีนกันเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการคบคิดร่วมกันอันเป็นความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 และข้อเท็จจริงได้ความว่า ในที่สุดได้มีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ อ. และ พ. รับไว้ในครอบครองแล้ว ถือว่าได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันแล้วอันเป็นความผิดฐานสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามมาตรา 8 วรรคสอง อีกด้วยเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับ อ. และ พ. สมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยตกลงกันเพื่อจัดหาลูกค้า ลําเลียง เก็บรักษา ตกลงราคา ซื้อขาย ส่งมอบ และรับเงินค่าเมทแอมเฟตามีน โดยจำเลยเป็นผู้จัดหาเมทแอมเฟตามีน 50 เม็ด มาส่งมอบให้ อ. นำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าโดยตกลงว่าจะให้ อ. ชำระเงินค่าเมทแอมเฟตามีนผ่านทางบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยหลังจากนำเมทแอมเฟตามีนไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าได้แล้ว วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เวลากลางวัน อ. และ พ. ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่สั่งซื้อมาจากจำเลย 17 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.305 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ดังนั้น จำเลยจึงมีความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีเมทแอมเฟตามีน 17 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.305 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงบทเดียว ตาม ป.อ. มาตรา 90
โจทก์บรรยายฟ้องว่า อ. และ พ. ร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ดหรือหน่วยการใช้น้ำหนัก 0.970 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.196 กรัม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยนำมาส่งมอบให้ไปจำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา 2,000 บาท นั้น แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ อ. และ พ. อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยกับ อ. และ พ. ด้วยกันเอง ไม่เกี่ยวกับสายลับ ทั้งทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏความเชื่อมโยงว่าจำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นในการที่ อ. และ พ. ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องยกฟ้องในความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและได้มีการกระทำความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า อ. และ พ. ร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ดหรือหน่วยการใช้น้ำหนัก 0.970 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.196 กรัม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยนำมาส่งมอบให้ไปจำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา 2,000 บาท นั้น แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ อ. และ พ. อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยกับ อ. และ พ. ด้วยกันเอง ไม่เกี่ยวกับสายลับ ทั้งทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏความเชื่อมโยงว่าจำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นในการที่ อ. และ พ. ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องยกฟ้องในความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและได้มีการกระทำความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7551/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ พิพากษายกฟ้องคดียาเสพติดและอาวุธปืน แต่ให้ริบของกลาง
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายกัญชาเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยฎีกาเฉพาะข้อหาจำหน่ายกัญชา ข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ส่วนข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และไม่ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในข้อหานี้ ซึ่งไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อศาลฎีกาฟังว่า พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าจำเลยมีกัญชาแห้ง จำนวน 4 ถุง และเมล็ดกัญชาแห้ง จำนวน 1 ถุง ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายโดยการขายกัญชาแห้งนั้นให้แก่ ป. จำนวน 1 ถุง และ พ. จำนวน 2 ถุง และมีอาวุธปืนยาวบรรจุปาก (ปืนแก๊ป) และปืนยาวอัดลม ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของนายทะเบียนประทับไว้ และเครื่องกระสุนปืนบรรจุปาก (ดินดำ แก๊ปกระดาษ เม็ดตะกั่ว ใยมะพร้าว) ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แม้ข้อหาความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน และเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด จึงให้ยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2561)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2561)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7526/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อเสพ vs. จำหน่าย: ศาลฎีกาตัดสินจำกัดความผิดฐานจำหน่าย
การที่สายลับซึ่งเป็นคนรักเก่าของจำเลยชักชวนให้จำเลยมาร่วมเสพเมทแอมเฟตามีนที่ห้องพักที่เกิดเหตุ โดยได้มอบธนบัตรจำนวน 1,500 บาท ให้จำเลยเพื่อไปเอาเมทแอมเฟตามีนมาให้ เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนมามอบให้สายลับ 10 เม็ด จากนั้นได้ร่วมกันเสพเมทแอมเฟตามีนไป 4 เม็ด พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยรับหน้าที่ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนมาให้สายลับและพวก และร่วมกันเสพเมทแอมเฟตามีนส่วนหนึ่งนั้น โดยจำเลยไม่ได้ประโยชน์อื่นตอบแทนในการนี้ ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ คงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดที่โจทก์ฟ้อง ย่อมลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215, 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7301/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมคบกันพยายามครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การกระทำที่เป็นขบวนการและบทลงโทษ
การที่จำเลยที่ 2 ร่วมเดินทางไปกับจำเลยที่ 1 โดยเป็นคนขับรถยนต์ให้จำเลยที่ 1 และไปจอดรถยนต์เพื่อรอรับกัญชาของกลางจาก ว. เป็นจำนวนถึง 7.95 กิโลกรัม ในบริเวณที่จำเลยที่ 1 นัดหมายกับ ว. ทางโทรศัพท์ในระหว่างการเดินทาง ตามพฤติการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 โดยช่วยทำหน้าที่ขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 ไปรับกัญชาที่สั่งซื้อจาก ว. อันเป็นการกระทำที่เป็นขบวนการโดยแบ่งหน้าที่กันทำ ถือเป็นการร่วมคบคิดกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสมคบกับจำเลยที่ 1 และ ว. เพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่ายผู้ซื้อยังไม่ได้รับมอบกัญชาจาก ว. ฝ่ายผู้ขาย จำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นตัวการร่วมกับ ว. ครอบครองกัญชาของกลาง เพราะจำเลยทั้งสองฝ่ายผู้ซื้อไม่อาจครอบครองกัญชาของกลางร่วมกับ ว. ฝ่ายผู้ขายได้ในขณะเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเมื่อการซื้อขายกัญชาของกลางไม่สำเร็จ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคสอง แต่การที่จำเลยทั้งสองไปรอรับกัญชาของกลางจาก ว. ที่จุดนัดหมายถือเป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จเข้าขั้นลงมือกระทำความผิดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ก็เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3