คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 15

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13129/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแบ่งมรดก: ทายาทถึงแก่ความตายพร้อมกัน ไม่มีสิทธิรับมรดก
ธ. ซึ่งเป็นบุตรของ ก. และ ก. ตายพร้อมกัน ต่างไม่เป็นทายาทที่จะรับมรดกของกันและกัน เพราะในขณะที่บุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายอีกบุคคลหนึ่งไม่มีสภาพบุคคลที่มีความสามารถที่จะมีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 15 และมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1639 เนื่องจาก ธ. ทายาทไม่ได้ตายก่อน ก. เจ้ามรดกอันจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ธ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ธ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ก. ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการซื้อขายทรัพย์มรดกหลังนางอรทัยถึงแก่กรรม และประเด็นอายุความ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 บิดาโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. มารดาโจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว จึงเป็นการเรียกให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ แม้ที่ดินพิพาทจะกล่าวอ้างว่าเป็นสินสมรสก็ตามก็เป็นเพียงข้อที่นำไปสู่การวินิจฉัยถึงการแบ่งส่วนของที่ดินในฐานะที่เป็นสินสมรสเพื่อจัดการทรัพย์มรดกของ อ. เท่านั้น คดีของโจทก์จึงมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว แต่เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินนั้น เมื่อโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนหากไม่สามารถทำได้ให้ชำระเงินจำนวน 186,750 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทที่โจทก์เรียกร้องจึงไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อ อ. ถึงแก่กรรม การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และ อ. ย่อมสิ้นสุดลงด้วยเหตุการณ์ตายของ อ. ทรัพย์มรดกส่วนของ อ. ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทันที ด้วยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 ประกอบมาตรา 1599 และ 1629 ที่ดินในส่วนที่เป็นสินสมรสของ อ. ย่อมกลายเป็นมรดก การที่ที่ดินเคยเป็นสินสมรสจึงเป็นเพียงข้อที่นำไปสู่การวินิจฉัยถึงการแบ่งส่วนของที่ดินในฐานะที่เป็นสินสมรสเพื่อจัดการทรัพย์มรดกของ อ. เท่านั้น นิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจาก อ. ถึงแก่กรรมแล้วประมาณ 5 ปี อ. สิ้นสภาพบุคคลเมื่อตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 15 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมิใช่เรื่องการจัดการสินสมรสที่สามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง มิฉะนั้นคู่สมรสที่มิได้ให้ความยินยอมมีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 และ 1480 ทั้ง อ. ไม่อาจใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เนื่องจากสิ้นสภาพบุคคลด้วยเหตุการตาย แต่กรณีเป็นเรื่องว่าด้วยวิธีการจัดการแบ่งทรัพย์ถึงสิทธิในที่ดินกึ่งหนึ่งของ อ. ที่เป็นมรดก โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่แบ่งสินสมรสในส่วนที่ดินครึ่งหนึ่งให้แก่ อ. โจทก์คงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ อ. ให้แก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น
โจทก์ผู้เป็นทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกดังกล่าวเสียภายในกำหนด 1 ปี จากจำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองแต่เพียงผู้เดียวในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ทรัพย์ในส่วนมรดกนั้นย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 1 ทายาทผู้ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์ซึ่งรวมส่วนมรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ย่อมใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทอื่นได้ด้วยแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ย่อมถือว่าการยกอายุความเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 เป็นการทำแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนี้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น และประเด็นฎีกาไม่เคยถูกยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานรับของโจรแต่โทษจำคุกรอการลงโทษไว้ โจทก์อุทธรณ์ไม่ให้รอการลงโทษ ส่วนจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแต่ประการใด และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษ ข้อเท็จจริงในความผิดฐานนี้จึงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานรับของโจรจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7144/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพ, พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์, และการข่มขืนจนถึงแก่ความตาย: การพิสูจน์ความผิดและเหตุบรรเทาโทษ
คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนที่รับสารภาพว่าเป็นผู้ฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ใช้ยันจำเลยเพื่อพิสูจน์การกระทำผิดของจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134
จำเลยให้การรับสารภาพแล้วยังนำพนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและให้ถ่ายรูปไว้ด้วย โดยจำเลยมิได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น และจากการตรวจกางเกงชั้นในของจำเลยที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาจากจำเลยที่นุ่งอยู่ในวันถูกจับกุมส่งไปตรวจหารหัสพันธุ์กรรม(ดีเอ็นเอ)ได้ความว่าได้รหัสพันธุ์กรรมตรงกับคราบเลือดของผู้ตาย น่าเชื่อว่าคราบเลือดที่ติดอยู่กับกางเกงชั้นในของจำเลยเป็นของผู้ตาย พฤติการณ์ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนักพอที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งแล้ว
เมื่อผู้ตายได้ตายไปแล้วแต่จำเลยคิดว่าผู้ตายสลบไป จึงข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย เพราะผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพบุคคลและอำนาจฟ้อง: สำนักงานที่ไม่มีสภาพนิติบุคคล ไม่อาจเป็นคู่ความได้
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่า บุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำนักกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาย เป็นเพียงสำนักที่มีคณะบุคคลเป็นผู้บริหาร จึงมิใช่บุคคลตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยแจ้งภาษีเงินได้ในนามของโจทก์ หรือการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ในนามของโจทก์ ไม่ทำให้โจทก์ซึ่งไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย กลับกลายเป็นมีสภาพบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะคู่ความ: สำนักงานที่ไม่มีสภาพบุคคล ไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และคำว่าบุคคล นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำนักงานกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวเป็นเพียงสำนักงานที่มีคณะบุคคลเป็นผู้บริหาร จึงมิใช่บุคคลตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยแจ้งภาษีเงินได้ในนามของโจทก์ หรือการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ในนามของโจทก์ ไม่ทำให้โจทก์มีสภาพเป็นบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีทายาท: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีจากผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ยื่นรายการเดิมถึงแก่ความตาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไปยัง อ. ซึ่ง เป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีเพื่อจะทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แต่ ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบไต่สวนเสร็จและแจ้งการประเมินไปให้ อ. ทราบ อ. ได้ถึง แก่ความตายเสียก่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์ซึ่ง เป็นภรรยาของ อ. ในฐานะ ทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ.แล้วแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ ในชั้น อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้อง เสียภาษีเงินได้ของ อ.แต่ เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดย ไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้ วิธีคำนวณตาม ที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตาม นั้น ดังนี้โจทก์จะอุทธรณ์ต่อ ศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต: อำนาจฟ้องของกรมสรรพากรและการดำเนินการตามกฎหมาย
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต เจ้าพนักงานต้องแจ้งทายาท และการฟ้องขาดอายุความ
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะบุคคลไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่คณะบุคคลกรุงเทพฯ กรีฑา จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคล มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้ภาษีการค้าได้
of 2