คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1713 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีพินัยกรรมถูกโต้แย้งและผู้จัดการมรดกต้องขอศาลตั้งตามกฎหมาย
คดีนี้ผู้ตายทำพินัยกรรมโดยระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่การตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมกรณีนี้หามีผลสมบูรณ์โดยเด็ดขาดไม่ เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้ว่า ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรม ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตาย จึงเป็นพินัยกรรมปลอม กรณีจึงถือว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย จึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม: ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ (บุคคลธรรมดา) กับข้อโต้แย้งเรื่องพินัยกรรมปลอม
สถานสงเคราะห์คนชรา ฉ. มิได้เป็นนิติบุคคล แต่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด น. การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมระบุให้ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนชรา ฉ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นการแต่งตั้งบุคคลธรรมดามีตำแหน่งเป็นผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ให้เป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่เป็นการแต่งตั้งสถานสงเคราะห์แต่อย่างใดเมื่อผู้ร้องซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนชรา ฉ. ในภายหลังได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย แต่การแต่งตั้งผู้ร้องหามีผลสมบูรณ์โดยเด็ดขาดไม่ เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านว่าพินัยกรรมปลอม กรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ทั้งผู้คัดค้านยังขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายด้วย ศาลชั้นต้นจะสั่งงดไต่สวนแล้วสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องไม่ได้ แต่ต้องไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องกับผู้คัดค้าน และมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาเจตนาเจ้ามรดกและความสัมพันธ์กับทายาท
กฎหมายบัญญัติเรื่องการตั้งผู้จัดการมรดกไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง ว่า การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร เมื่อได้ความว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรคนโตของผู้ตายไม่ค่อยได้ติดต่อกับผู้ตาย รวมทั้งไม่ได้ไปร่วมในงานบำเพ็ญกุศลของผู้ตาย โดยผู้ร้องพักอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่เล็กและแต่งงานแยกครอบครัวไปตั้งแต่ปี 2509 แสดงว่าผู้ร้องค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกับผู้ตาย การที่จะให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกน่าจะไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกผู้ตาย กอปรกับผู้ร้องก็รับว่าทายาทผู้ตายมีความเห็นแตกต่างเป็นสองฝ่าย อีกทั้งผู้ร้องมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและไม่น่าไว้วางใจ ทำให้มีเหตุเชื่อว่าหากตั้งผู้ร้องให้ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว การจัดการมรดกน่าจะไม่ราบรื่นและไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดก การตั้งผู้คัดค้านแต่ฝ่ายเดียวให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงน่าจะเหมาะสมกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9165/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม: ศาลต้องตั้งตามพินัยกรรม หากมีข้อโต้แย้งต้องวินิจฉัยความสมบูรณ์ของพินัยกรรม
การตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีพินัยกรรม ศาลอาจต้องตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคสอง เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเอกสารพิพาท จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยถึงความสมบูรณ์ของพินัยกรรมตามคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านเอง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้