คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 179

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย การวินิจฉัยประเภทคดีและการคำนวณค่าขึ้นศาล
เจ้าพนักงานพิทักษ์มีหนังสือยืมยันหนี้ให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ เนื่องจากไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวเท่ากับให้ศาลวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์แจ้งยืนยันไป หากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระหนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้ายต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องเพิกเฉย จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าธรรมเนียม
คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้เนื่องจากผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ผู้ร้องไม่ชำระภายในกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: จำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น
กรณีที่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153 การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยถึงแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: จำนวนหนี้ต่ำกว่าสองหมื่นบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
กรณีที่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153 การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยถึงแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว เจ้าหนี้ไม่มีหน้าที่รับผิดค่าใช้จ่ายโดยตรง
เดิมศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลาย ลูกหนี้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ในระหว่างฎีกา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวตามคำขอของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ หลังจากนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันและได้ยื่นคำขอรับประกันหนี้ไว้แล้ว ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอทำการแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ขอนำยึดทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งหมดและรับรองจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ครั้งนี้ ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการยึดทรัพย์ตามคำขอของผู้ร้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวและให้ถอนการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจัดการถอนการยึดคืนทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ และแจ้งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมถอนการยึดไปชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนี้ อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามธรรมดาผู้หนึ่งไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆ เป็นส่วนตัวโดยตรง ตามกฎหมายล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจทำการยึดทรัพย์เองโดยเชื่อตามคำเสนอแนะของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการถอนการยึดมาชำระได้ ส่วนปัญหาที่ว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดตามสัญญาหรือไม่นั้น หากจะฟังว่ามีผลบังคับได้ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการขอให้ศาลบังคับผู้ร้องตามสัญญาเสียก่อน ศาลจะบังคับผู้ร้องไปทันทีในคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466-467/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: พิจารณาตามทุนทรัพย์หรืออัตราธรรมดา
ผู้ร้องร้องคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยอ้างว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของผู้ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ถอนการยึด ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการยึดดังนี้ เป็นคดีที่จะต้องเสียค่าขึ้นศาลร้อยละสองครึ่งในจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 179 วรรคสุดท้ายไม่ใช่ว่าต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 50 บาท ตามมาตรา 179(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินเพื่อลงทุนโดยผิดกฎหมายธนาคารพาณิชย์ สัญญาไม่เป็นโมฆะหากผู้ฝากไม่รู้เห็น
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย. และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก. หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย.
การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย. ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น.ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย. โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย. จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่.
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต. แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้.ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย. ดังนี้นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ. ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้.
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ใช้บังคับ. และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์. แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว. ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลกระทบต่อสิทธิผู้ฝาก เงินฝากไม่เป็นโมฆะหากผู้ฝากไม่รู้
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้นถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาตแต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินกับผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต สิทธิการเรียกร้องเงินฝากของผู้ฝากที่ไม่ร่วมรู้
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การใดอันมีวัตถุที่ประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย พิจารณาจากสิทธิยึดหน่วงตามกฎหมาย และอำนาจอุทธรณ์คำสั่งศาล
เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้เงินโดยลูกหนี้มอบโฉนดให้ยึดไว้เป็นประกันนั้น ไม่มีสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 6 เมื่อลูกหนี้ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกิน 2 เดือนไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำขอเจ้าหนี้จึงยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเจ้าของคดีล้มละลาย เมื่อศาลแพ่งมีคำสั่งอย่างใดแล้ว คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ได้
of 4