พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11212/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีครอบครัวต้องวินิจฉัยโดยประธานศาลฎีกาเท่านั้น ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจ
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีแพ่งที่ฟ้องเกี่ยวกับครอบครัวซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นคดีครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ศาลชั้นต้นจึงไม่มีเขตอำนาจรับฟ้องของโจทก์คดีนี้ไว้พิจารณานั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงมิชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายให้ครบถ้วนก่อน
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องถูกบังคับให้อยู่รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ซึ่งอาจขยายหรือลดระยะเวลาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามความเหมาะสมตามมาตรา 25 หากผู้ใดหลบหนีจากการตรวจพิสูจน์หรือหลบหนีออกนอกศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดถือว่าผู้นั้นหนีการคุมขัง พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้นได้ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้ด้วย จึงมีวัตถุประสงค์แก้ไขฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดทุกคนเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวม พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามมาตราดังกล่าวก่อน แล้วคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงจะมีสิทธิพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แม้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งว่า จำเลยไม่ไปรับทราบคำวินิจฉัย ทั้ง ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีหนังสือเตือนให้ไปพบ แต่ไม่ไปพบ แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีความตั้งใจจริงในการบำบัดและวินิจฉัยว่าผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่น่าพอใจ ให้แจ้งพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีต่อไป จะเป็นดุลพินิจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดก็ตาม แต่เมื่อมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นเมื่อผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการฟื้นฟูครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้วและผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ การที่ได้ตัวจำเลยมาหลังจากที่จำเลยหลบหนีไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยจากการไม่ได้รับแจ้งคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกวันที่ 24 มีนาคม 2552 โดยผ่านทัณฑสถานหญิงกลาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 โดยไม่ได้มีคำสั่งให้แจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ต่อมาผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาล มีหนังสือลงวันที่ 8 เมษายน 2552 ถึงผู้อำนวยการสำนักทัณฑสถานหญิงกลาง ให้แจ้งคำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ทราบ แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนไม่ปรากฏว่ามีหนังสือของผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลางแจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลทราบว่าได้แจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 ทราบตั้งแต่เมื่อใด เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ได้ กรณีดังกล่าวถือว่ามีเหตุสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษและดำเนินการภายในกรอบเวลาที่ศาลอนุญาต หากไม่ดำเนินการตามขั้นตอน ศาลไม่รับวินิจฉัย
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย เมื่อคดีนี้ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์ร่วมประสงค์จะให้อัยการสูงสุดรับรองให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมชอบที่จะดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ทันที แต่โจทก์ร่วมก็ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด เมื่อใกล้วันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์โจทก์ร่วมกลับยื่นคำร้องให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น ภายหลังเมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อ้างว่า เพื่อจะดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นความบกพร่องของโจทก์ร่วมเอง ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมและให้โอกาสโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้อย่างเต็มที่นั้น เมื่อตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมอ้างเหตุเพื่อขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมและให้โอกาสโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้อย่างเต็มที่นั้น เมื่อตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมอ้างเหตุเพื่อขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บรักษาสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดเข้าไปในเรือนจำโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ดี หรือบังอาจรับจาก หรือส่งมอบแก่ผู้ต้องขัง นำเข้ามาหรือเอาออกไปจากเรือนจำซึ่งเงินหรือสิ่งของต้องห้ามโดยทางใดๆ อันฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำก็ดี ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษ..." บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติให้การเก็บรักษาสิ่งของต้องห้ามเป็นความผิดด้วย แม้จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้เก็บรักษาสิ่งของต้องห้ามตามฟ้องจริง การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิด