พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ชอบธรรมจากความจงใจทำร้ายประโยชน์นายจ้าง และสิทธิในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
งานเชื่อมโครงหลังคาเหล็กบ้านพักคนงานของจำเลยเป็นหน้าที่ของ ก. ผู้รับเหมาจากจำเลยต้องดำเนินการ โจทก์ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง การที่โจทก์สั่งคนงานของจำเลย 44 คน ไปช่วยผู้รับเหมาทำงานเชื่อมโครงสร้างเหล็กหลังคาโดยที่จำเลยเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้คนงานรวม 172,040 บาท เป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของโจทก์ ทำให้จำเลยขาดประโยชน์จากแรงงานของคนงานเหล่านั้น เป็นกรณีโจทก์จงใจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67, 119 (2), 17 วรรคห้า ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ และ ป.พ.พ. มาตรา 583
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีมีการจดทะเบียนก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด และบริษัทในเครือซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินจากกองทุนให้โจทก์หากโจทก์มีสิทธิได้รับตามมาตรา 23 จำเลยไม่มีอำนาจจัดการกองทุน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสมทบส่วนของจำเลยในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีมีการจดทะเบียนก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด และบริษัทในเครือซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินจากกองทุนให้โจทก์หากโจทก์มีสิทธิได้รับตามมาตรา 23 จำเลยไม่มีอำนาจจัดการกองทุน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสมทบส่วนของจำเลยในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2035/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขัดคำสั่งนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ไล่ออกได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
เมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยมีคำสั่งบริษัท ส. เรื่อง การลงบันทึกเวลาในระดับผู้บริหารที่ไปจัดการธุรกิจให้บริษัทซึ่งเป็นคำสั่งในหน้าที่เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิสูจน์เจตนาทำร้ายและความผิดหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน
กรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (2) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมายถึงลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างกระทำโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่นายจ้าง
การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปตรวจเช็คเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียพบว่ามีเสียงดังผิดปกติ จึงรายงานให้โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานทราบ แต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู จนกระทั่งพนักงานดังกล่าวเห็นว่าหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงหยุดเครื่อง แล้วโจทก์จึงสั่งให้พนักงานไปถอดมาซ่อม ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อหน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า
การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปตรวจเช็คเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียพบว่ามีเสียงดังผิดปกติ จึงรายงานให้โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานทราบ แต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู จนกระทั่งพนักงานดังกล่าวเห็นว่าหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงหยุดเครื่อง แล้วโจทก์จึงสั่งให้พนักงานไปถอดมาซ่อม ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อหน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า