พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3374/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.3(1) กรณีโทษเดิมขัดแย้งกับกฎหมายใหม่ (ยาเสพติด)
ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัด การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีและมีคำสั่งยกคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ของจำเลยโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 26 เนื่องจากการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องและมีผลให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 อย่างไรก็ตามคดีนี้เป็นชั้นขอให้กำหนดโทษใหม่ เนื่องจากกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดโดยจำเลยกำลังรับโทษอยู่ แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วถือว่าสำนวนความตามคำร้องของจำเลยปรากฏแก่ศาลฎีกาตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังหรือไม่โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่โดยให้ผู้พิพากษาครบองค์คณะและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาใหม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีอาญา: การสอบจำเลย การสืบพยาน และการอ่านคำพิพากษา
การสอบจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง เป็นการที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดีจึงเป็นการนั่งพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (9) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งจะต้องอยู่ในบังคับของพระธรรมนูญศาลยุติธรรมว่าด้วยองค์คณะผู้พิพากษา แต่เมื่อการดำเนินการดังกล่าวมิใช่การชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี จึงเป็นอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นคนเดียวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นคนเดียวได้สอบจำเลยเรื่องทนายความและลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาจึงชอบแล้ว ส่วนการสืบพยานประเด็นโจทก์ที่ศาลอาญามีผู้พิพากษาสองคนนั่งพิจารณาครบองค์คณะแล้ว แม้มีผู้พิพากษาอีกคนมาร่วมลงลายมือชื่อโดยที่ไม่ได้นั่งพิจารณาก็เป็นเพียงการดำเนินกระบวนพิจารณาเกินไปกว่าที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น หามีผลให้การนั่งพิจารณาที่ถูกต้องกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ส่วนการสืบพยานในศาลชั้นต้นทุกครั้งก็ปรากฏตามบันทึกคำเบิกความและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าในแต่ละครั้งมีลายมือชื่อผู้พิพากษาสองคนลงลายมือชื่อไว้จึงต้องฟังตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าในวันเวลาดังกล่าวมีผู้พิพากษาสองคนของศาลชั้นต้นนั่งพิจารณาคดีอันเป็นการนั่งพิจารณาครบองค์คณะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 หาได้เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 236 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ส่วนการอ่านคำพิพากษาเป็นการดำเนินการหลังคดีเสร็จการพิจารณา ทั้งผู้พิพากษาได้ลงชื่อในคำพิพากษาครบองค์คณะตามกฎหมายแล้ว การอ่านคำพิพากษาย่อมกระทำได้โดยผู้พิพากษาคนเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาด & อำนาจศาลในการออกคำสั่งระหว่างพิจารณา
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดและได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาททางทะเบียนโดยชอบแล้ว แต่โจทก์ไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากจำเลยทั้งสองและบริวารขัดขวางโต้แย้ง โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. และครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าบ้านพิพาทจากทายาทของ ส. ซึ่งเป็นการอาศัยสิทธิของ ส. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเดิมนั่นเอง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทโดยชอบย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองซึ่งอยู่ในฐานะบริวารของ ส. ได้
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) บัญญัติว่า ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้... (2) ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ในการพิจารณาคดีของศาลทุกชั้นศาล หากผู้พิพากษาคนเดียวจะมีคำสั่งใดซึ่งมิใช่เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบ แม้คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นจะต้องมีองค์คณะผู้พิพากษาสองคน แต่ในการพิจารณาของศาลในวันที่ 20 มกราคม 2548 เป็นการสั่งเลื่อนการสืบพยานและระบุรายละเอียดการส่งเอกสารไปสืบพยานประเด็นจำเลยที่ 1 ยังศาลชั้นต้นอื่น ซึ่งล้วนเป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ออกคำสั่งที่มิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี คำสั่งและการพิจารณาของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นตามรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 20 มกราคม 2548 จึงชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแล้ว
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) บัญญัติว่า ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้... (2) ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ในการพิจารณาคดีของศาลทุกชั้นศาล หากผู้พิพากษาคนเดียวจะมีคำสั่งใดซึ่งมิใช่เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบ แม้คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นจะต้องมีองค์คณะผู้พิพากษาสองคน แต่ในการพิจารณาของศาลในวันที่ 20 มกราคม 2548 เป็นการสั่งเลื่อนการสืบพยานและระบุรายละเอียดการส่งเอกสารไปสืบพยานประเด็นจำเลยที่ 1 ยังศาลชั้นต้นอื่น ซึ่งล้วนเป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ออกคำสั่งที่มิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี คำสั่งและการพิจารณาของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นตามรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 20 มกราคม 2548 จึงชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11417/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากองค์คณะไม่ครบถ้วนในการวินิจฉัยอำนาจการยื่นคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่อายัดจำนวน 15,875,688.13 บาท ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขอแล้วสั่งว่า ผู้ร้องไม่อาจร้องขอเพิกถอนให้ปล่อยทรัพย์ที่อายัด ไม่รับคำร้อง เป็นการวินิจฉัยอำนาจในการยื่นคำร้องขอของผู้ร้องว่าไม่มีอำนาจตามกฎหมาย อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) แล้ว ซึ่งมีผลเป็นการพิพากษายกคำร้องขอของผู้ร้องทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้ก่อน กรณีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อปรากฏว่าในการสั่งคำร้องขอของศาลชั้นต้นมีผู้พิพากษาคนเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาไม่ครบตามกฎหมาย ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้นั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะซึ่งไม่อยู่ในอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6119/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอนุญาตให้จ่ายเงินจากการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้พิพากษาคนแรกไม่อนุญาต เหตุจำเลยไม่วางเงินประกันตามกำหนด
จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 2 แล้วนำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีและมีคำขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ เป็นคำสั่งงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) โดยเหตุผลที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็เพื่อที่จะรอฟังผลการไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีของจำเลยที่ 2 แล้วเนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่วางเงินประกันภายในเวลาที่กำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า มูลเหตุที่ทำให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ย่อมสิ้นสุดลง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรที่จะให้งดการบังคับคดีของโจทก์ไว้แล้วก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดแก่โจทก์ตามคำร้องของโจทก์ได้ หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่ประการใดไม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดี ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นเป็นองค์คณะมีอำนาจกระทำได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (1) และมิใช่เป็นการเปลี่ยนผู้พิพากษาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้หรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดี ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นเป็นองค์คณะมีอำนาจกระทำได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (1) และมิใช่เป็นการเปลี่ยนผู้พิพากษาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาคดี: ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาสองคนขึ้นไปในการพิจารณาคำร้องขอคืนของกลาง
คดีนี้ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัด การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้และมีคำสั่งยกคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 26 เนื่องจากการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225