คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ม. 104 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลสั่งการใช้วิธีการตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ในคดีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา104ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้วย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีสำหรับเด็กและเยาวชนและคู่ความจะอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวได้เท่านั้นทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา121,122 สำหรับการฎีกาพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา124บัญญัติว่าคดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดาเว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา121ซึ่งมีความหมายว่าคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา121นั้นย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วยโดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาลงโทษจำเลยที่3จำคุก4ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนด3ปีนับแต่วันพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา104(2)คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเมื่อจำเลยที่3อุทธรณ์ขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ได้และศาลอุทธรณ์ภาค3แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา124ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา122และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา6มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้การที่จำเลยที่3ฎีกาขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยที่3โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่3มานั้นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมเป็นเหตุให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง มิได้เป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 โดยจำคุกเกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 124ที่จำเลยฎีกาว่า ผู้เสียหายจำหน้าจำเลยไม่ได้ คำเบิกความของผู้เสียหายและเอกสารพยานโจทก์มีพิรุธ คำเบิกความของผู้เสียหายคดีนี้แตกต่างกับคำเบิกความอีกคดีหนึ่งในข้อสำคัญ และจำเลยให้การชั้นสอบสวนเพราะถูกบังคับ เป็นการฎีกาเกี่ยวกับดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกา
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปฝีกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง มิได้เป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 โดยจำคุกเกิน5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 124 ที่จำเลยฎีกาว่า ผู้เสียหายจำหน้าจำเลยไม่ได้ คำเบิกความของผู้เสียหายและเอกสารพยานโจทก์มีพิรุธ คำเบิกความของผู้เสียหายคดีนี้แตกต่างกับคำเบิกความอีกคดีหนึ่งในข้อสำคัญ และจำเลยให้การชั้นสอบสวนเพราะถูกบังคับ เป็นการฎีกาเกี่ยวกับดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้าม
of 4