พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยขณะกระทำผิดกระทบต่อการลงโทษฐานกระทำอนาจาร ศาลฎีกายกอายุเป็นเหตุให้ไม่ลงโทษ
จำเลยเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2537 จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจาร 2 กระทงในปี 2549 ดังนั้นจำเลยจึงมีอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 74 แต่ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการตาม ป.อ. มาตรา 74 (1) ถึง (5) ได้ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุของจำเลยผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยในความผิดฐานดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 75 แล้วลงโทษจำเลยโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลล่างทั้งสองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก) ประกอบมาตรา 247 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในคดีเยาวชน: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
การที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาหากไม่ชำระค่าปรับให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดภูเก็ต มีกำหนด 1 วัน ไม่ถือเป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จำเลยยื่นฎีกาขณะ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มีผลใช้บังคับ ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 124 ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
แม้จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นก็เป็นการไม่ชอบ เนื่องจากผู้พิพากษาที่จะอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกรณีนี้ได้คือ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ส่วนฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมหรือกำหนดระยะเวลาการฝึกและอบรมให้ต่ำลง อันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าว ตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 (2) ทั้งเป็นกรณีที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวหรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 และในกรณีนี้ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 6 มาใช้บังคับได้
แม้จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นก็เป็นการไม่ชอบ เนื่องจากผู้พิพากษาที่จะอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกรณีนี้ได้คือ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ส่วนฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมหรือกำหนดระยะเวลาการฝึกและอบรมให้ต่ำลง อันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าว ตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 (2) ทั้งเป็นกรณีที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวหรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 และในกรณีนี้ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 6 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลเยาวชนและครอบครัวเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งอบรมเยาวชน ไม่ถือเป็นการลงโทษตาม ป.อ. และจำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 9 ปี เป็นส่งจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 5 ปี นับแต่วันพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 และมาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนในคดีอาญา ถือเป็นการฎีกาต้องห้าม
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ยังคงเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเช่นเดิม เพียงแต่แก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมอันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มารา 104 (2) แม้ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จะโต้แย้งว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้ศาลมอบตัวจำเลยที่ 1 ให้บิดามารดาเพื่อดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 และไม่มีบทบัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ และแม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง แต่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนั้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/53)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/53)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5750/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยขณะกระทำผิดสำคัญต่อการลงโทษ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงและกฎหมาย
จำเลยเกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2533 เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2547 ดังนั้น ขณะกระทำความผิดจำเลยคงมีอายุเพียง 13 ปีเศษ เท่านั้น หาใช่ 14 ปีเศษ ดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 74 การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนและลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 75 แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 (2) จึงเป็นการไม่ชอบ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 357 ลงโทษจำคุกแต่ได้เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา มีกำหนดขั้นต่ำ 6 เดือน ขั้นสูง 1 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา กรณีเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 (2) แทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 และ ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จากคำเบิกความของพยานโจทก์ผู้จับกุมซึ่งสอบถามแล้วได้ความว่าจำเลยจะนำรถจักรยานยนต์ไปขับเล่นประกอบกับพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าจำเลยช่วยซ่อนเร้น จำหน่าย พาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ด้วยประการใด ซึ่งรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกา
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 357 ลงโทษจำคุกแต่ได้เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา มีกำหนดขั้นต่ำ 6 เดือน ขั้นสูง 1 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา กรณีเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 (2) แทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 และ ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จากคำเบิกความของพยานโจทก์ผู้จับกุมซึ่งสอบถามแล้วได้ความว่าจำเลยจะนำรถจักรยานยนต์ไปขับเล่นประกอบกับพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าจำเลยช่วยซ่อนเร้น จำหน่าย พาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ด้วยประการใด ซึ่งรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 121 จำเลยจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดโดยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดา ซึ่งเมื่อนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือ บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 295 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 76 กึ่งหนึ่ง จำคุก 9 เดือน อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมที่ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน เขต 2 (จังหวัดราชบุรี) มีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันพิพากษา อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย ไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 อันจะเข้ากรณียกเว้นที่จะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น มิใช่อุทธรณ์เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์โดยมีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 122 ซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 121 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในกรณีดังกล่าวได้ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นในอันที่จะอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์มานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 6 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชน กรณีศาลกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
ในคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักหรืออบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้วย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 และคู่ความจะอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวตามมาตรา 122 เท่านั้น สำหรับการฎีกา มาตรา 124 บัญญัติว่าคดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 121 ซึ่งมีความหมายว่าคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่น กรณีอุทธรณ์ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ด้วย และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยในคดีอาญาเยาวชน: เหตุบรรเทาโทษ, การฝึกอบรม, และการไม่รอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่น มีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่มีเจตนาฆ่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้โดยยกฟ้องฐานพยายามฆ่าผู้อื่น แต่ให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายแก่กาย จึงมิใช่กรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อมีการได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8775/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนและฆ่าเพื่อปกปิดความผิด ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกเป็นงดการฝึกอบรมบางส่วน
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ และหลังจากที่ข่มขืนกระทำชำเราแล้วจำเลยกลัวความผิดจึงนำผู้ตายไปซ่อนในท่อน้ำ การที่จำเลยนำผู้ตายไปซุกซ่อนไว้ในท่อน้ำซึ่งอยู่ห่างไปจากที่เกิดเหตุจนผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะสำลักน้ำโคลน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายเพื่อปกปิดความผิดของตน อันเป็นความผิดสองกรรม
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ไม่อาจนำเอาโทษจำคุก 4 ปี ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนโทษจำคุกดังกล่าวเป็นให้ส่งไปฝึกและอบรมแล้ว มารวมกับโทษจำคุกในความผิดฐานฆ่าผู้ตายเพื่อปกปิดความผิดของตน โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษในความผิดฐานดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้
ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา จำเลยได้ถูกควบคุมตัวและฝึกอบรมตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว เมื่อคิดหักระยะเวลาการควบคุมตัวและฝึกอบรมของจำเลยดังกล่าวแล้ว คงเหลือระยะเวลาที่จะต้องฝึกและอบรมอีกระยะหนึ่งถึงจะครบกำหนดระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว การที่จะให้จำเลยเข้ารับการฝึกและอบรมต่อในระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น จึงไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขกำหนดระยะเวลาฝึกและอบรมดังกล่าวเสียให้เหมาะสม โดยให้งดการฝึกและอบรมจำเลยในส่วนระยะเวลาที่เหลืออยู่
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ไม่อาจนำเอาโทษจำคุก 4 ปี ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนโทษจำคุกดังกล่าวเป็นให้ส่งไปฝึกและอบรมแล้ว มารวมกับโทษจำคุกในความผิดฐานฆ่าผู้ตายเพื่อปกปิดความผิดของตน โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษในความผิดฐานดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้
ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา จำเลยได้ถูกควบคุมตัวและฝึกอบรมตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว เมื่อคิดหักระยะเวลาการควบคุมตัวและฝึกอบรมของจำเลยดังกล่าวแล้ว คงเหลือระยะเวลาที่จะต้องฝึกและอบรมอีกระยะหนึ่งถึงจะครบกำหนดระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว การที่จะให้จำเลยเข้ารับการฝึกและอบรมต่อในระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น จึงไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขกำหนดระยะเวลาฝึกและอบรมดังกล่าวเสียให้เหมาะสม โดยให้งดการฝึกและอบรมจำเลยในส่วนระยะเวลาที่เหลืออยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12041/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรวมระยะเวลาฝึกอบรมเยาวชนในคดีต่างๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 (2) บัญญัติว่า ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญา โดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมตามเวลาที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ห้ามเรื่องการนับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องกัน กรณีจึงเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้นับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องกับระยะเวลาฝึกอบรมของคดีอื่นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งควรได้รับการฝึกอบรมสั่งสอนและสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีและให้เหมาะสมกับตัวเด็กหรือเยาวชนเป็นคน ๆ ไปตามมาตรา 82 ของกฎหมายดังกล่าวเมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรจะให้จำเลยทั้งสามฝึกอบรมต่อเนื่องกับการฝึกอบรมในคดีก่อนของศาลชั้นต้นแล้ว ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาหรือมีคำสั่งได้ โดยการฝึกอบรมต้องไม่ให้ระยะเวลาเกินกว่าจำเลยทั้งสามจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์